หมายถึง พลังงานที่แผ่กระจายจากต้นกำเนิด ออกไปในอากาศหรือตัวกลาง ใดๆ ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น รังสีเอกซ์ รังสีความร้อน รังสีแกมมา ฯลฯ รวมถึงอนุภาค ที่มีความเร็วสูงด้วย เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีนิวตรอน โดยสามารถจำแนกรังสีดังกล่าว ตามคุณสมบัติทางกายภาพได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. รังสีที่ไม่ก่อไอออน (non-ionizing radiation) ซึ่งได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสง เสียง คลื่นวิทยุ อัลตราไวโอเลตและไมโครเวฟ
2. รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน (ionizing radiation) ซึ่งได้แก่ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีนิวตรอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีปรมาณู (atomic radiation)
หมายถึง รังสีที่แผ่ออกมากจากธาตุกัมมันตรังสี จากนิวเคลียสที่ไม่เสถียรเพื่อให้มีความเสถียร ซึ่งมี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสีและกลายเป็นอะตอมของธาตุอื่นได้
ที่มา ชุดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ 5 การค้นพบกัมมันตภาพรังสี ผลงานครูทรงศักดิ์ ยงยืน
โพสต์เมื่อ 28 ม.ค. 2567 อ่าน 3,064 ครั้ง
จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)