ซอฟต์แวร์สร้างศักยภาพให้โลกใบนี้

ซอฟต์แวร์สร้างศักยภาพให้โลกใบนี้
โดย นาทัลยา มากาโรชคินา รองประธานอาวุโส Secure Power ฝ่ายปฏิบัติการระหว่างประเทศ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
 
ศักยภาพของซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ คือการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกัน พร้อมมอบความฉลาดในทุกแง่มุมสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยให้ประโยชน์ด้านดิจิทัลแก่ทุกภาคส่วน
 
แม้จะมีข้อถกเถียงว่าซอฟต์แวร์กำลังกลืนกินโลกก็ตาม แต่แค่เพียงช่วงเวลาไม่นานมานี้ ประเด็นดังกล่าวก็เปลี่ยนไปสู่ความจริงที่ว่า ซอฟต์แวร์ “กำลังสร้างศักยภาพ” ให้กับโลกใบนี้
 
ทุกวันนี้สถาปัตยกรรมขององค์กรปรับเปลี่ยนไปสู่โมเดลที่ใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ การควบคุมเหล่านี้นำไปสู่ความยืดหยุ่นและคล่องตัวที่เหนือชั้นขึ้นไปอีกระดับเพื่อให้ตอบสนองและรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และความขัดข้องที่เกิดจากอิทธิพลของสภาพอากาศ รวมถึงแนวโน้มของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะที่ต้องพร้อมรับมือกับเรื่องความปลอดภัย อีกทั้งให้ความยั่งยืน 
 
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
 
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าซัพพลายเชนมีความเสี่ยง และอยู่ภายใต้อิทธิพลที่คาดเดาได้ยาก นอกเหนือจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว เหตุการณ์ black swan เช่น การปิดกั้นคลองสุเอซ ยังได้ถูกรวมเข้ากับประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย น้ำท่วมยุโรป และความแห้งแล้งในออสเตรเลีย ไปจนถึงคลื่นความร้อน และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในหลายทวีป
 
องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงครั้งใหม่เรื่อยมาภายใต้ระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคว่ำบาตร ราคาพลังงานที่ผันผวน หรือความขัดข้องในการเข้าถึงพลังงาน (access disruption) การขาดแคลน และความล่าช้าในการจัดหา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และแม้กระทั่งอุตสาหกรรมอาหารก็ตาม
 
แบบจำลอง แผนงาน และการพลิกแพลง
 
ในการรับมือกับฉากทัศน์เหล่านี้ องค์กรต่างๆ ต้องมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัว พร้อมมีการตรวจสอบดูแลมากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้สามารถจำลอง วางแผน และพลิกแพลงได้
 
นั่นหมายถึงการมีระบบซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงการทำงานในทุกด้าน เพื่อให้สามารถมองเห็น วัดผลการดำเนินงาน และบริหารจัดการได้ดี
การออกรายงานการดำเนินงานทั่วไปขององค์กรนับว่าไม่เพียงพออีกต่อไป หากต้องการแข่งขันและอยู่รอดได้ องค์กรต้องสามารถจำลองและคาดการณ์ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเหล่านี้ จะส่งผลต่อผลผลิต ความสามารถในการทำกำไร และเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร
 
20-30-50
 
เพื่อให้บรรลุมิติใหม่ในการมองเห็น และควบคุมได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้มีสถาปัตยกรรมใหม่เกิดขึ้น
 
ปัจจุบัน มีการคาดการณ์กันว่าสถาปัตยกรรมขององค์กรในอนาคตมีองค์ประกอบที่ผสมผสานกันระหว่างศูนย์ข้อมูลหลัก 20% คลาวด์สาธารณะ 30% และการปรับใช้ Edge 50% ภายในสามปีข้างหน้า
 
สถาปัตยกรรมที่ว่าจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถให้เหนือชั้นไปอีกขั้น ทั้งเรื่องของเซ็นเซอร์ (IIoT) การมอนิเตอร์ การมองเห็น การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ โดยระบบงานบนคลาวด์จะทำหน้าที่ดูแลสถาปัตยกรรมใหม่เหล่านี้ที่มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เรื่องของสายการผลิต พื้นที่ในร้านค้าปลีก และระบบดูแลคนไข้ในสถานพยาบาล ไปจนถึงการนำเอดจ์มาใช้งาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลในระดับภูมิภาค รวมถึงศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง
 
รากฐานของแนวทางนี้จะไม่ใช่แค่การมองเห็นข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้วยความสามารถใหม่ของ DCIM3.0
 
มาตรการป้องกัน
 
สิ่งสำคัญของโลกใหม่ที่สร้างศักยภาพด้วยซอฟต์แวร์ คือการผสานรวมการทำงานเชิงลึกของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML)
ความยืดหยุ่นนั้นเกิดขึ้นจากความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการคาดการณ์ ซึ่งการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่อาศัยแอปพลิเคชั่นเชิงลึกของเทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยให้เกิดระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถตรวจจับ หรือป้องกันความล้มเหลวก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน
 
การปรับตัวโดยใช้มุมมองเชิงลึก
 
ตัวอย่างของการปรับตัวที่ว่า มีให้เห็นในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งผู้ผลิตในสวนปลูกผักและผลไม้ กำลังลดอุณหภูมิเรือนกระจกซึ่งเป็นผลโดยตรงจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น
 
ด้วยชุดเซ็นเซอร์เต็มรูปแบบ ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนไปถึงการวางขายหน้าร้าน ผู้ปลูกสามารถจำลองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ คาดการณ์ผลผลิตและการเปลี่ยนแปลงของพืชผล เพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องปรับต้นทุนจุดไหนให้เหมาะสมต่อการรับมือกับสถานการณ์ โดยสามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้เคียงกับจุดที่สร้างข้อมูล ก่อนที่แบบจำลองส่วนกลางจะคัดกรองตัวเลข ผู้ปลูกสามารถปรับความต้องการด้านแรงงาน การขนส่ง และการกระจายสินค้าให้เหมาะสมได้ โดยอิงจากข้อมูลที่ถูกต้อง และการวิเคราะห์ที่มีข้อมูลครบรอบด้าน หรือตัวอย่างอื่นๆ นอกเหนือจากการเกษตรได้แก่ การดูแลสุขภาพที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากแพทย์ผู้ดูแล โดยนำเอดจ์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
 
การใช้วิธีการเหล่านี้ในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์เบื้องต้น ทำได้ด้วยการผสานรวมความสามารถของเอดจ์กับแหล่งข้อมูลส่วนกลางอย่างราบรื่น ผ่านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลจาก DCIM ไปจนถึง Data Lake และการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI
 
ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากจุดเชื่อมต่อทั้งหมดระหว่างแอปพลิเคชันและผู้ใช้งาน ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
 
นี่คือเหตุผลที่เราได้พัฒนาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยง และเพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันและบริการของเรามีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และให้ความยั่งยืนสำหรับระบบไอทีในอนาคต แม้ว่าจะมีขยายการใช้งานไปสู่สภาพแวดล้อมไอทีแบบไฮบริดมากขึ้นก็ตาม
 
เมตริกที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์และได้มาตรฐาน
 
ประเด็นสำคัญเรื่องความยืดหยุ่นและความปลอดภัยในเรื่องเหล่านี้ ต้องไปด้วยกันกับข้อกำหนดอื่นที่สำคัญ คือ เรื่องความยั่งยืน
 
ประโยชน์หลักของซอฟต์แวร์ใหม่ที่ช่วยสร้างศักยภาพให้โลกนี้ คือความสามารถในประยุกต์ใช้เมตริกที่ได้มาตรฐานได้ครอบคลุมทั่วทั้งระบบ เพื่อวัดและจัดการการปล่อยมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายการปล่อยมลพิษที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์กำลังได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น และสามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ เข้าใจและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แม้จะอยู่ท่ามกลางแนวโน้มปัจจุบันก็ตาม
 
สร้างโลกแห่งศักยภาพ
 
แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบซอฟต์แวร์และการควบคุม ซึ่งต่อยอดจากการพัฒนาใน IIoT, AI และ ML รวมถึงคลาวด์และเอดจ์คอมพิวติ้ง ก็สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ มีการมองเห็นที่ดีขึ้น มีข้อมูลเชิงลึก และการกำกับดูแลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
เรื่องนี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นขึ้นไปอีกขั้น เพื่อรับมือกับกระแสอิทธิพลของโลกปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้ 

การเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น รวมถึงเป็นรากฐานเพื่อขับเคลื่อนความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน ทำให้มุมมองด้านซอฟต์แวร์เปลี่ยนไป จากสิ่งที่กำลังกลืนกินโลก กลายเป็น สิ่งที่สร้างศักยภาพให้กับโลกใบนี้ 

โพสต์เมื่อ 10 ส.ค. 2566 อ่าน 1,587 ครั้ง

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)

ดูในหน้าเว็บปกติ