จอร์จ บูล เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษ โดยเขามีผลงานเด่นคือ ได้ค้นคิด พีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) จนได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของตรรกศาสตร์ และวงจรดิจิตอลนั่นเอง
จอร์จ บูล (George Boole) เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน ปี 1815 ในเมืองลินคอร์น ประเทศอังกฤษ พ่อชื่อ จอห์น บูล ส่วนจอร์จเขาได้ศึกษาในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจนได้ทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์อยู่โรงเรียนเป็นในช่วงหนึ่ง
ต่อมาในปี 1849 จอร์จก็ได้เป็นศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ที่ Queen’s College Cork ซึ่งปัจจุบันชื่อ University College Cork ในประเทศไอร์แลนด์ ในระหว่างอยู่ที่นี่เขาได้ศึกษาและตีพิมพ์วรสารทางวิชาการเกี่ยวกับ สมการเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัส ไว้มากมาย
และในปี 1854 เขาได้สร้างระบบพีชคณิตแบบบูล โดยตั้งข้อสังเกตในความคล้ายคลึงกันระหว่างระบบบวก คูณ และระบบตรรกศาสตร์ งานของเขาชื่อว่า An Investigation of the Laws of Thought, on Which are Founded the Mathematical Theories of Logic and Probabilities (The Law of thought)
พีชคณิตแบบบูล คือ โครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต
ในวาระสุดท้ายของชีวิต จอร์จ บูล ได้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อในปอด วันที่ 8 ธันวาคม ปี 1864 ที่ Ballintemple, Cork ประเทศไอร์แลนด์ มีอายุได้แค่ 49 ปีเท่านั้น
แต่เขาได้ฝากผลงานอันมีค่าไว้โดยหลังจากที่เขาเสียชีวิตไป 73 ปีแล้ว ผลงานพีชคณิตแบบบูล นั้นกลับได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) เขาได้นำพีชคณิตแบบบูลมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจรดิจิตอล จนใช้กันอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก ทรูปลูกปัญญา
โพสต์เมื่อ 28 ม.ค. 2567 อ่าน 3,095 ครั้ง
จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)