หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

หรือโรคนี้มีอยู่จริง?
โพสต์เมื่อวันที่ : 9 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7045 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โรคติดเกม" หรือโรคนี้มีอยู่จริง? Posted by สิทธา , ผู้อ่าน : 27 , 13:23:40 น.   


"โรคติดเกม" หรือโรคนี้มีอยู่จริง?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2552 12:03 น.
ขอบคุณภาพประกอบจาก dailymail
       เพียงเอ่ยคำว่า "เด็กติดเกม" ก็อาจทำให้ผู้ปกครองบางท่านนึกภาพการตามแก้ปัญหาเด็กขาดความรับผิดชอบ เอาแต่เล่นเกมจนลืมเวลาขึ้นมาได้ทันที อย่างไรก็ดี ได้มีนักวิจัยของสหรัฐอเมริกาท่านหนึ่ง ลงไปศึกษากับเด็กกว่า 1,200 คนว่า แท้จริงแล้ว อาการ "เสพติดเกม" นั้น เป็นอาการที่ผู้ปกครองจินตนาการเอาเอง หรือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง และมีผลต่อร่างกายของเด็ก
       
       นักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกันผู้เปิดประเด็นศึกษาเรื่องการ "เสพติด" การเล่นเกมในเด็กคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดักลาส เจนไทล์ (Douglas Gentile) แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ซึ่งทัศนคติแรกเริ่มของเขากับคำว่า "เด็กติดเกม" นั้น เป็นไปในทางลบ เนื่องจากเขาไม่เชื่อว่า การเล่นเกมจะทำให้เด็กเสพติดได้เช่นเดียวกับการติดสุรา หรือการเล่นการพนันในผู้ใหญ่ได้
       
       อีกทั้งเขามองว่า งานวิจัยในอดีตที่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เด็กเล็กจะพัฒนาความชื่นชอบในการเล่นเกมไปสู่การเสพติดเกมนั้น เป็นการศึกษาในลักษณะที่สั้นจนเกินไป แต่งานวิจัยสรุปเรียกพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ๆ ไปแล้วว่า "การเสพติด"
       
       นักวิจัยท่านนี้จึงได้ทำการศึกษาจากเด็ก ๆ ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,200 คน และพบว่า ในจำนวนนี้มีอยู่ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 120 คนที่มีสัญญาณของการเสพติดวิดีโอเกม (ใช้เกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์ที่ใช้ประเมินผู้เสพติดการพนัน) โดยเด็กที่มีอายุระหว่าง 8 - 18 ปี จำนวน 8.5 เปอร์เซ็นต์แสดงอาการบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่มีปัญหาเสพติดการพนันเลยทีเดียว พฤติกรรมดังกล่าวยกตัวอย่างเช่น
       

       - ไม่สนใจทบทวนบทเรียน หรือทำการบ้าน ต้องการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
       - ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเลิกเล่นเกม
       - ใช้เกมเป็นที่พักใจยามเกิดความรู้สึกหดหู่ เศร้าสร้อย
       - ต้องการเล่นเกมอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการความตื่นเต้นจากเกม
       

       เจนไทล์พบว่า เด็กที่มีปัญหาดังกล่าวใช้เวลาในการเล่นวิดีโอเกมมากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาถึง 2 เท่า หรือเฉลี่ยราว 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จึงไม่แปลกที่เด็กกลุ่มนี้มักจะได้คะแนนสอบต่ำกว่าคนอื่น ๆ และอาจได้ใบตักเตือนความประพฤติจากโรงเรียนบ่อยครั้ง
       
       "ตอนแรกผมสรุปเอาเองว่า พ่อแม่ที่เรียกอาการแบบนี้ว่า "เสพติด" เป็นเพราะเขาไม่เข้าใจถึงรูปแบบการใช้เวลาว่างเพื่อเล่นของเด็ก ๆ แต่จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงทำให้ผมได้ค้นพบว่า มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเดียวกันนี้จากการเล่นวิดีโอเกม"
       
       อย่างไรก็ดี เจนไทล์กล่าวว่า การจะสรุปชี้ชัดลงไปนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยอีกมาก เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเสพติดเกมให้มากกว่านี้
       
       "ยังมีเรื่องอีกมากที่เราไม่ทราบ เช่น เราไม่ทราบว่า กรณีนี้ใครจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด หรือว่าอาการเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ"
       
       เรียบเรียงจากรอยเตอร์เฮลท์

แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000051003

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง หรือโรคนี้มีอยู่จริง?
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..