หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

น้ำพริกถ้วยเก่า....เศรษฐกิจพอเพียง..(.หนี้สินครู...เกาไม่ถูกที่คัน.)...
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6898 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

แก้ปัญหาหนี้สินครู เกาไม่ถูกที่คัน

 

วรเทพ ไวทยาวิโรจน์  กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

หนี้สินของครูนั้น ถ้าจะให้ค่อยบรรเทาลงไป จะต้องใช้แนวทางของสหกรณ์ และหากภาครัฐจะอุดหนุนเรื่องเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ก็ควรจะผ่านองค์กรของสหกรณ์ไม่ใช่ธนาคาร

ความห่วงใยของกระทรวงศึกษาธิการในปัญหาหนี้สินครู ซึ่งมีแนวคิดจะปรับโครงสร้างหนี้ของครูด้วยการใช้ธนาคารออมสินเป็นแกนหลัก อีกทั้งยังต้องการช่วยเหลือครูให้สามารถกู้เงินได้ถึงรายละ 2 ล้านบาท และกู้เพื่อสร้างอาชีพเสริมได้อีกรายละ 5 แสนบาท โดยมีเป้าหมายว่าจะช่วยลดปัญหาหนี้สินครูได้ถึง 3 แสนคน ภายใน 4 ปี และช่วยครูที่มีหนี้สินสูงมากอีก 1 แสนคน ให้พ้นบ่วงกรรม

ถ้าพิจารณาจากดำริของกระทรวงศึกษาธิการในแง่นี้ก็ดูดีที่จะหวังให้ครูพ้นพันธะการเงิน จะได้มีกำลังใจสอนหนังสือให้แก่เยาวชนของชาติอย่างเต็มสติกำลัง หากแต่ลำพังเมื่อฟังแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการแล้วก็เห็นว่า ทางราชการกำลังดำเนินการไปในทิศทางที่ไม่น่าจะเหมาะสม และคงจะแก้ไขปัญหาหนี้สินครูไม่ได้ เพราะยังพลาดเป้าไปในปัจจัยที่สำคัญ 7 ประการคือ

ประการแรก การคิดจะบรรเทาปัญหาหนี้สินครูโดยการสร้างหนี้เพิ่มหรือเปลี่ยนเจ้าหนี้ ไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาหนี้อย่างแน่นอน เพราะหนี้ต้องล้างด้วยการลดและเลิกการสร้างหนี้ใหม่ ไม่ว่าจะกับใครทั้งสิ้น

ประการที่สอง กระทรวงศึกษาธิการได้เคยแก้ไขปัญหาหนี้สินครูโดยวิธีผ่านธนาคารออมสินมาแล้วอย่างน้อย 2-3 ครั้ง แต่ก็ไร้ผลและหนี้สินครูต่อหัวต่อคนกลับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก แล้วกระทรวงฯ ก็ยังไม่มีแนวคิดใหม่ยังคงใช้แนวทางเดิมที่ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์พลิกกลับมาใช้อีก

ประการที่สาม การให้กู้เงินโดยใช้ทรัพย์สินค้ำประกันในวงเงินถึง 2 ล้านบาท ครูจะไปเอาทรัพย์สินที่ใดมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และจะมีครูกี่คนที่มีทรัพย์สินมากกว่า 2 ล้านบาท มาวางค้ำประกันหนี้

ประการที่สี่ อัตราดอกเบี้ยกำหนดเบื้องต้นที่ 6.25% ต่อปี ก็มิใช่อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะในกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งก็มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่านี้ รวมทั้งมีเงินเฉลี่ยคืนประจำปีให้อีกด้วย (แม้ทางการจะแก้ไขว่าจะลดดอกเบี้ยให้ 1% ก็ต้องในกรณีที่ชำระหนี้ครบแล้วซึ่งเป็นเรื่องเกิดทีหลัง)

ประการที่ห้า ทางราชการทราบหรือไม่ว่า จะมีครูกี่คนที่กู้เงิน 2 ล้านบาท แล้วผ่อนชำระได้โดยไม่เดือดร้อนต่อการครองชีพ เพราะครูมักมีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือนเท่านั้น

ประการที่หก การจะจำกัดมิให้ครูก่อหนี้ใหม่เป็นเรื่องพ้นวิสัย เพราะไม่มีกลไกใดจะควบคุมได้ การรุกคืบของบัตรเครดิต การเจาะแนวของกลุ่ม Non-Bank การขยายกรงเล็บของฉลามเงินกู้นอกระบบ การหลอกล่อของสินค้าผ่อนส่ง ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้จินตนาการของทางการที่จะควบคุมการก่อหนี้มีแต่ทางเป็นหมัน

ประการที่เจ็ด ครูจะต้องเตรียมการสอน จะต้องเพิ่มวุฒิภาวะ จะต้องทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง แล้วจะเอาเวลาไปฝึกอาชีพแม้ฝึกอาชีพทำสินค้าได้อย่างไร ปัญหาการตลาดใครจะช่วยหากขายของไม่ได้ ขาดทุนเกิดหนี้ซ้ำซ้อน ใครจะแก้ไขปัญหา

ความจริงก่อนจะคิดแก้ไขปัญหาหนี้สินครูชอบที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วนและหนักแน่นเสียก่อน กระทรวงฯควรหารือกับชุมนุมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตลอดจนนักวิชาการสหกรณ์ให้ช่วยกันระดมสมองมาแนะนำแนวคิดที่เป็นรูปธรรม และมีหนทางสำเร็จค่อนข้างสูงน่าจะชอบด้วยหลักการมากกว่าที่คิดเอง ทำเองโดยย่ำแนวทางเก่าๆ อย่างไม่กล้าออกนอกกรอบเดิม

หนี้สินของครู ถ้าจะให้ค่อยบรรเทาลงไปจะต้องใช้แนวทางของสหกรณ์ และหากภาครัฐจะอุดหนุนเรื่องเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ก็ควรจะผ่านองค์กรของสหกรณ์ไม่ใช่ธนาคาร แต่ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรแก้ไขโดยการเพิ่มเงินให้กู้อย่างที่กล่าวมาแต่ต้นเพราะปัญหาหนี้สินครูเกิดจากเหตุเพียง 3 ประการ คือ

1.ค่านิยมของครูเองที่ใช้เงินมากกว่ารายได้ แข่งขันกันมี มากกว่าแข่งขันกันหา เพราะครูยังไม่ยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.ครูเข้าถึงแหล่งเงินง่ายเกินไป เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมักปล่อยเงินกู้ไร้หลักทรัพย์ค้ำประกัน (Clean loan) ในอัตราที่สูงมาก (บางแห่ง 1 ล้าน 6 แสนบาท) และผ่อนชำระถึง 10 ปี

3.ครูไม่เคยมีความรู้ในด้าน Personal Finance Management จึงถือหลักแต่เพียงกู้เงินทุกครั้งที่เงินไม่พอใช้จ่าย แต่ไม่เคยวิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้จ่ายเลยก่อนที่จะก่อหนี้

หนทางที่กระทรวงศึกษาธิการคิดจะแก้ไขหนี้สินครูเป็นแนวทางที่แก้ไขไม่ตรงจุด "เกาไม่ถูกที่คัน" จึงชอบที่กระทรวงจะคิดหาทางใหม่ให้รัดกุมขึ้น โดยให้ครูมีความรู้ในการจัดระเบียบการใช้เงิน นำระบบสหกรณ์มาเป็นตัวนำด้วยหลักปรัชญาของสหกรณ์อย่างแท้จริง จัดระเบียบผู้บริหารในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูให้มีคุณภาพและความรู้ความสามารถ ยุติการสร้างหนี้ ขณะเดียวกันก็วางแผนลดหนี้ (โดยหลักสหกรณ์) ตามลำดับให้สหกรณ์ครูทุกสหกรณ์จัดให้มี Clinic การแก้ไขหนี้ให้สมาชิก

หากเรารู้จักระบบสหกรณ์ดีกว่านี้ ใช้หลักปรัชญาสหกรณ์ให้ถูกต้อง อีกทั้งใช้องค์กรทางสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการคิดอ่านแก้ไขปัญหาแล้ว เชื่อแน่ได้ว่า ในไม่ช้าปัญหาหนี้สินครู ก็จะไม่เป็นภูเขาทับอกดุจเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    

 

 

อ้างอิง : วรเทพ ไวทยาวิโรจน์.2548.แก้ปัญหาหนี้สินครู เกาไม่ถูกที่คัน.[Online].Available.URL : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005july29p6.htm

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง น้ำพริกถ้วยเก่า....เศรษฐกิจพอเพียง..(.หนี้สินครู...เกาไม่ถูกที่คัน.)...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..