หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

..เรื่องของรถ..
โพสต์เมื่อวันที่ : 2 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(71.43%-7 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ความปลอดภัยเริ่มตั้งแต่ยังไม่สตาร์ท



ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ ไม่ได้ขึ้นกับเทคนิคการขับขี่เพียงอย่างเดียว
การเตรียมตัวก่อนขับรถอย่างถูกวิธี ก็มีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยตลอดการขับขี่

สำรวจก่อนเปิดประตู
ถ้ามีเวลา ควรเดินสำรวจรอบรถยนต์สักนิด ดูว่ามียางเส้นไหนแบนบ้างหรือไม่ มีสัตว์หรือคนซุ่มอยู่หรือเปล่า
และเดินอ้อมมาดูอีกข้างก่อนจะเปิดประตูเข้าไปในรถยนต์ เป็นการเพิ่มความปลอดภัย
โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีระบบเซ็นทรัลล็อกแบบเปิดล็อกพร้อมกัน เพราะอาจมีมิจฉาชีพหมอบแอบอยู่
รอจังหวะเปิดประตูเข้าไปหลังจากเจ้าของรถเข้าไปนั่งในห้องโดยสารแล้วแต่ยังไม่ล็อก ก็คงโดนจี้ได้ง่าย ๆ
และไม่ควรเปิดเซ็นทรัลล็อกในขณะที่ยังอยู่ห่างรถยนต์มาก เพราะอาจโดนฉกฉวยทรัพย์สินภายในรถยนต์ได้

เมื่อขึ้นไปนั่งแล้ว ถ้าอยู่ในเมืองหรือมีผู้คนคับคั่ง ควรล็อกประตูทันทีเพื่อป้องกันการเปิดประตูจากภายนอก
ส่วนการเดินทางไกลหรือขับบนเส้นทางยาว ไม่ควรล็อกประตู
เผื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว คนภายนอกจะได้เปิดประตูเข้ามาช่วยเหลือได้


ตรวจสอบไฟเตือน
บิดกุญแจค้างไว้ในตำแหน่งก่อนสตาร์ท เพื่อให้ไฟเตือนต่าง ๆ บนหน้าปัดสว่างขึ้นและดูตามสีของไฟ
ถ้าเป็นสีแดง แสดงว่าเป็นการเตือนในระบบที่สำคัญมาก ถ้าสีส้มก็สำคัญรองลงไป ยังพอขับแบบประคองไปได้
บางไฟเตือนบนหน้าปัดจะสว่างขึ้นเพื่อแสดงว่าหลอดไม่ขาด และต้องดับลงหลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว
บางดวงต้องดับลงหลังบิดกุญแจค้างไว้ 3-5 วินาทีถึงจะแสดงว่าปกติ

ไฟเตือนพื้นฐานของรถยนต์ทุกรุ่น ต้องมีอย่างน้อย 2 ดวง คือ
ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่องกับไฟเตือนการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่
ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง เป็นรูปกาน้ำมันเครื่องหรือหยดน้ำมัน ต้องสว่างขึ้นเมื่อไม่มีแรงดันน้ำมันเครื่อง
เช่น ขณะดับเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำมันเครื่องพัง หรือน้ำมันเครื่องขาดมาก ๆ
และไฟเตือนต้องดับลงเมื่อมีแรงดันน้ำมันเครื่องตามปกติ
ดังนั้น ไฟเตือนนี้ ควรดับลงในเวลา 1-2 วินาทีหลังสตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าดับช้าก็พอเดาได้ว่า
น้ำมันเครื่องไม่ปกติหรือปั๊มเริ่มเสื่อม หากไฟเตือนนี้สว่างขึ้นขณะขับ ควรรีบจอดและดับเครื่องยนต์ทันที
เพราะแสดงว่าตอนนั้นไม่มีน้ำมันเครื่องในการหมุนเวียน อาจเกิดจากปั๊มพังหรือน้ำมันเครื่องรั่ว
ถ้าปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานอยู่จะสึกหรอเร็วมาก

ถ้าน้ำมันเครื่องขาด ก็เติมแล้วขับต่อ ถ้าไม่ขาดก็แสดงว่าปั๊มพัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก
อย่างนั้นต้องลากไป ถ้าฝืนขับต่อเครื่องยนต์อาจเสียหายหนัก

ส่วนไฟเตือนการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ กลับเป็นรูปแบตเตอรี่ ไม่ใช่รูปไดชาร์จ ซึ่งทำให้หลายคนคิดว่า
เป็นไฟเตือนสำหรับแบตเตอรี่ ซึ่งผิด เพราะถ้าไฟสว่างขึ้นจะแสดงว่า ณ ขณะนั้น ไม่มีการชาร์จไฟ ซึ่งก็เดาได้ว่า
ไดชาร์จเสียหรือสายพานขาด ยังพอขับไปจอดในที่ปลอดภัยได้ในระยะทางไกลกว่ากรณีไฟเตือนน้ำมันเครื่องสว่าง

ถ้าดูแล้วสายพานไม่ขาด แต่ไดชาร์จไม่ทำงานและไฟเตือนยังสว่าง
ก็แสดงว่ายังขับต่อไปได้จนกว่าไฟในแบตเตอรี่หมด โดยเฉลี่ยแล้วเกิน 10 กิโลเมตร
โดยควรปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อให้กินไฟน้อยและขับได้ไกลที่สุด

หากสายพานไดชาร์จขาด และสายพานเส้นนั้นไม่ได้คล้องกับปั๊มน้ำมันหรือพัดลม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ก็พอจะขับต่อได้
ส่วนไฟเตือนถุงลมนิรภัยและเอบีเอส ถ้าสว่างขึ้นหลังบิดกุญแจและดับลงภายในเวลา 3-5 วินาที แสดงว่าปกติ
ถ้าสว่างขึ้นขณะขับ แสดงว่ามีความผิดปกติ ยังพอขับได้ โดยถุงลมนิรภัยหรือเอบีเอสอาจไม่ทำงาน
ต้องเพิ่มความระมัดระวัง และนำรถเข้าซ่อมโดยเร็วที่สุด



ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์
ถ้าในเกียร์ธรรมดา ต้องอยู่ในเกียร์ว่าง พร้อมกับเหยียบคลัตช์ให้มิด เพราะนอกจากจะป้องกันการกระตุกแล้ว
ยังช่วยผ่อนแรงไดสตาร์ท เนื่องจากการเหยียบคลัตช์ในการตัดการหมุนของเครื่องยนต์กับชุดเกียร์
แม้จะอยู่ในเกียร์ว่างก็ควรเหยียบคลัตช์ โดยพิสูจน์ได้จากรถยนต์บางรุ่น
ถ้าไม่เหยียบคลัตช์ถึงบิดกุญแจแล้วก็เงียบ และควรดึงเบรกมือไว้ด้วย

ส่วนรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้เฉพาะเกียร์ P และN เท่านั้น
ถ้าอยู่ที่เกียร์อื่นแล้วสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ แสดงว่าผิดปกติ ต้องซ่อมโดยเร็ว
แม้เกียร์ P จะมีการล็อกป้องกันรถไหลแล้ว ก็ควรดึงเบรกมือไว้ด้วย

ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ควรปิดแอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อให้ไดสตาร์ทได้รับไฟฟ้าอย่างเต็มที่

เครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์บางรุ่น อาจต้องย้ำคันเร่งจนสุด 1-2 ครั้งแล้วปล่อยก่อนสตาร์ท
เพื่อให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงลงไปในท่อร่วมไอดีให้หนาขึ้นเตรียมไว้เพื่อให้สตาร์ทได้ง่ายขึ้น
ส่วนเครื่องยนต์หัวฉีดไม่มีความจำเป็นต้องแตะคันเร่งเลย เพราะจะมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ


อุ่นเครื่องยนต์ให้พร้อมใช้งาน
เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว อย่าเพิ่งออกตัวทันที ควรเดินเบาสักพักเพื่อให้เครื่องยนต์ปรับตัว
เครื่องยนต์หัวฉีดรุ่นใหม่ ๆ มักมีการเร่งรอบเดินเบาให้สูงกว่าปกติในขณะเครื่องยนต์เย็น
โดยอยู่ที่ประมาณ 1,200-1,500 รอบต่อนาที สัก 3-5 นาทีก็มีจะตัดมาที่รอบเดินเบาปกติ
ส่วนเครื่องยนต์รุ่นเก่า ๆ ที่ไม่มีการเร่งรอบเพื่ออุ่นเครื่องยนต์ ถ้าไม่ติดตั้งระบบการเร่งรอบเพิ่ม
ก็ให้แตะคันเร่งไว้นิ่ง ๆ ที่ไม่เกิน 1,500 รอบต่อนาที

การปล่อยให้เครื่องยนต์ปรับตัว มีความจำเป็นในเชิงโลหะวิทยาและการหล่อลื่น จากสมัยก่อนที่มีการแนะนำว่า
ต้องอุ่นเครื่องอยู่กับที่จนเครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงานก่อนแล้วค่อยออกตัว แต่ในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ใช่แล้ว
เพราะมีการทดสอบแล้วว่า เครื่องยนต์ที่เดินเบาอยู่กับที่ ถึงจะมีการเร่งรอบอยู่บ้าง
แต่การที่ไม่มีภาระในการฉุดลากน้ำหนัก ทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ปรับตัวได้ช้ามาก กลายเป็นว่ายิ่งรอยิ่งร้อนช้า

แต่การออกตัวทันทีที่สตาร์ทเครื่องยนต์ติดก็ผิดอีก เพราะเครื่องยนต์ยังไม่เริ่มปรับตัวเลย สึกหรอเร็วขึ้นแน่ ๆ

วิธีอุ่นเครื่องยนต์ที่ถูกต้อง คือ หลังสตาร์ทเครื่องแล้วให้รอสักครึ่งหนึ่ง ถึง 1 นาที
เพื่อให้น้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ไหลเวียนอย่างทั่วถึง โดยในช่วงแรกยังไม่ควรเปิดแอร์
เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นภาระกับเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องยนต์ยังไม่พร้อมก็ไม่ควรเอาอะไรไปหน่วง

ถ้าทนร้อนไม่ไหว ก็รอให้เครื่องยนต์เดินเบาสัก 30 วินาที แล้วค่อยเปิดแอร์ก็ยังดี
หรือเปิดเฉพาะพัดลมโดยปิดปุ่ม เอ/ซี ไม่ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน
นอกจากการอุ่นเครื่องอยู่กับที่นาน ๆ จะผิดหลักการแล้ว ถ้าอยู่ในอาคารจอดรถยังถือว่าผิดกฎหมายด้วย


ออกเดินทางอย่างมั่นใจ
เมื่อทุกอย่างพร้อม ก็ให้ขับออกตัวไปอย่างช้าๆ หรือช้ามากๆ แล้วค่อยๆเพิ่มการกดคันเร่งหรือไล่รอบสูงขึ้นทีละนิด
อย่างเพิ่งใจร้อน แค่ประมาณ 5 นาที เครื่องยนต์ก็ร้อนพร้อมใช้งานปกติแล้ว
เพราะการขับเคลื่อนเป็นการอุ่นเครื่องแบบมีภาระหรือโหลด เครื่องยนต์จึงร้อนเร็ว

การสตาร์ทเครื่องยนต์โดยไม่รอเลย แล้วขับออกไปพร้อมกับใช้รอบตามปกติ
ไม่ขับรอบต่ำหรือคลาน ๆ แม้เครื่องยนต์ไม่พังทันที แต่ในระยะยาวจะมีอายุการใช้งานสั้นลง

ที่มา มูลนิธิสว่างแสงธรรมกู้ภัย

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ..เรื่องของรถ..
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..