หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

ชั่งใจสักนิด ก่อนคิดกินอาหารเสริม
โพสต์เมื่อวันที่ : 18 เม.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7046 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(40.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ชั่งใจสักนิด ก่อนคิดกินอาหารเสริม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (food supplement) หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายคนปกติ รับประทานแล้วจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ดีขึ้น
ชั่งใจสักนิด ก่อนคิดกินอาหารเสริม
ภญ.อัมพร จันทรอาภรณ์กุล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (food supplement) หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายคนปกติ รับประทานแล้วจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ดีขึ้น จึงควรรับประทานเพิ่มเติมจากอาหาร 5 หมู่ ซึ่งในความหมายแท้จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ(อาหารหลัก 5 หมู่) ซึ่งมักอยู่ในรูปลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่สำหรับผู้ป่วย) เช่น โสมสกัดแคปซูล รำข้าวสาลีชนิดเม็ด น้ำมันปลาแคปซูล ใยอาหารอัดเม็ด ใยอาหารผงสำหรับชงหรือโรยอาหาร แปะก๊วยสกัดแคปซูล เป็นต้น

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับความนิยมอย่างมาก กอปรกับรูปแบบชีวิตสังคมสมัยใหม่ ไม่เอื้ออำนวยให้มีเวลาว่างมากพอสำหรับการสร้างสุขภาพที่ดีคือการกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ถูกมองข้ามไป แต่คนส่วนใหญ่อยากมีสุขภาพแข็งแรง กลัวการเจ็บป่วย กลัวความตาย ดังนั้นจึงนึกถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นสิ่งแรก ซึ่งผู้จำหน่ายก็มักมีวิธีการทำตลาดและส่งเสริมการขายที่แยบยลเจาะเข้าถึงใจผู้บริโภค ปัจจุบันโฆษณาได้ก้าวข้ามขีดความสามารถในการดูแลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบไปอีกขั้นคือ สามารถกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยากต่อการควบคุม เช่น เผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เวบไซต์ต่างๆ อีเมล์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ ใบปลิว การแจกของชำร่วย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลการโฆษณาเหล่านั้นมีทั้งจริงที่เชื่อถือได้และข้อมูลที่ยังไม่มีข้อยืนยันทางการแพทย์ ถ้าคุณสนใจค้นหาข้อมูล ลองเข้าไปดูที่โฮมเพจของคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา คือ
http://quackwatch.org ได้จัดทำขึ้นเพื่อดูแลประชาชนอเมริกันเกี่ยวกับการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่หากใครไม่ถนัดภาษาอังกฤษก็ลองเข้าไปหาข้อมูลที่กองอาหารคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th หรือที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคของประเทศไทยเรา http://www.consumerthai.org

ดังนั้นหากคุณที่กำลังใช้หรือสนใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ ลองสืบหาข้อมูลให้ดีก่อน และแนวทางต่อไปนี้น่าจะช่วยประกอบการตัดสินใจของคุณได้บ้างค่ะ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำเป็นหรือไม่ ??
ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถผลิตสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบชีวิตได้ทุกอย่าง เราสามารถทดแทนการขาดสารอาหารจำเป็นบางตัวได้ด้วยการรับประทานอาหารเข้าไป ซึ่งได้มาจากพืชและสัตว์ หากคุณสามารถรับประทานอาหารในแต่ละวันได้ครบถ้วนทั้ง 5หมู่ เรียกว่า กินดีแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคงไม่มีความจำเป็น แต่หากคุณคิดว่าไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบก็ไม่มีความผิดอันใดที่จะซื้อหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทาน เช่น กรณีที่คุณเป็นคนไม่รับประทานผัก ผลไม้ การรับประทานวิตามินเสริมก็อาจมีความจำเป็น เช่นเดียวกับผู้ป่วยบางรายที่ต้องการสารอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษและได้รับคำแนะนำให้ใช้โดยแพทย์ผู้ดูแล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารราคาแพง ??
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดมีราคาแพง ซึ่งผู้ผลิตมักอ้างว่าสารอาหารที่นำมาขายเป็นสารอาหารที่จำเป็นและสำคัญ ทั้งต้องผลิตด้วยความยากลำบาก เหมือนกับกลั่นหรือสังเคราะห์เอามาแต่ของดีๆ ซึ่งอาจไม่จริงเสมอไป คุณควรพิจารณาราคาควบคู่ไปกับความคุ้มค่าที่จะได้รับว่าตรงกับวัตถุประสงค์ที่คุณจะใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆหรือไม่

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณประโยชน์ชัดเจน ??
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดมีข้อพิสูจน์และผลงานวิจัยจำนวนมากที่เชื่อถือได้เป็นที่ยอมรับถึงคุณประโยชน์ของสารอาหาร แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่มีข้อพิสูจน์ที่สามารถบ่งชี้ไปอย่างชัดเจนว่า รักษาหรือป้องกันโรคได้ หรือบางผลิตภัณฑ์ยกตัวอย่างงานวิจัย ผลการทดลอง ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน บางผลิตภัณฑ์หยิบงานวิจัยเพียง 2-3 ชิ้นมาอ้างอิง เราจะเชื่อข้อมูลที่ผู้ผลิตเหล่านั้นได้อย่างไร มีเกณฑ์การพิจารณางานวิจัยง่ายๆ ดังนี้

o วิธีการศึกษาวิจัย การศึกษาวิจัยมีหลายแบบ อาจทำในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง คนปกติ หรือผู้ป่วย ซึ่งหากเป็นการศึกษาในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง ผลที่ได้จากการทดลองอาจ แตกต่างไปเมื่อนำมาใช้กับคน
o การนำผลการศึกษาวิจัยไปขยาย ต้องตรงกับผลการวิจัย การทดลองบางชิ้นไม่สามารถนำไปใช้ในประชากรกลุ่มใหญ่ได้ เช่น การศึกษาหนึ่งพบว่าสาร ก สามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยได้ แต่ในการขายกลับบอกว่าสามารถเพิ่มปริมาณและพลังกล้ามเนื้อให้กับคนทั่วไปได้ ซึ่งไม่ตรงกับผลการวิจัย
o วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มตัวอย่าง ต้องตรงกับรูปแบบการใช้จริง เนื่องจากบางผลิตภัณฑ์ในการศึกษาอาจใช้การฉีดหรือฝังเข้าไปในสัตว์ทดลอง แต่เมื่อนำมาผลิตขายกลับทำในรูปแบบรับประทานหรือทาผิว ซึ่งไม่อาจสรุปได้แน่นอนว่าจะได้ผลในลักษณะเดียวกัน

การศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบว่า สารอาหารนั้นมีคุณประโยชน์ มีสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรคได้หรือไม่ ต้องอาศัยระยะเวลาในการพิสูจน์ และผลสรุปจากงานวิจัยนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ ขึ้นกับว่าจะมีหลักฐานใหม่ๆ หรือไม่ ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งอาจพบว่ามีประสิทธิภาพจริงในวันนี้ แต่ในอนาคตก็อาจได้ข้อมูลในทางกลับกันจากผลการทดลองใหม่ๆ ก็เป็นได้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีคุณประโยชน์ หรือมีอันตราย ??
ต้องยอมรับในสัจธรรมว่าทุกสิ่งที่คนเราบริโภคล้วนมีทั้งคุณประโยชน์และโทษหรือผลข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน กระทั่งยาทุกชนิด และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เช่นเดียวกัน หลายคนเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทำมาจาก ธรรมชาติ ไม่น่าจะมีพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติอาหารควบคุมในส่วนของฉลากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้มีการโฆษณาหรืออวดอ้างสรรพคุณเกี่ยวกับการรักษาหรือป้องกันโรคและถ้ามีผลข้างเคียงต้องมีคำเตือนระบุไว้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ต้องอ่านฉลากคำเตือนให้ดี ซึ่งบางชนิดก็ไม่ได้ระบุไว้ จะมีก็แต่สรรพคุณที่ดีโน้มน้าวให้เชื่อถือ ซึ่งหากคุณใช้แล้วเกิดอันตราย ก็ยากที่จะเอาผิดกับผู้ผลิตได้ เพราะกฎหมายหรือช่องทางการร้องเรียนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ??
การกล่าวอ้างสรรพคุณ ถือเป็นหัวใจของการขายซึ่งบางชนิดก็กล่าวอ้างเกินจริง ตามนิยามของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระบุชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากรับประทานอาหารหลักตามปกติ ซึ่งมักอยู่ในรูปลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ดของเหลว หรือลักษณะอื่นๆ และมีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่ผู้ป่วย) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่จัดเป็นยา ดังนั้นจึงควรเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้นไม่สามารถบำบัดหรือรักษาโรคได้ เพราะหากรักษาโรคได้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยา ทั้งนี้ผู้ป่วยบางโรคหรือหญิงมีครรภ์หากได้รับผลิตภัณฑ์เสริมบางชนิดมากไปก็อาจมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายได้

อย่าปิดโอกาสที่จะได้รับการรักษาโรคอย่างเหมาะสม ??
กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งคือ ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หรือกลุ่มที่สิ้นหวังกับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง หรืออัมพาต โรคภัยชนิดเรื้อรังที่เป็นนั้นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ตลอดจนต้องการการติดตามดูแลอาการอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้ชำนาญ ในกรณีที่คุณมีโรคประจำตัวหรือเจ็บป่วยอยู่ควรนำผลิตภัณฑ์ไปปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกร ว่าจะมีปฏิกิริยากับโรคหรือยาที่รับประทานอยู่ประจำหรือไม่ หากไม่มีก็สามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรหยุดรับประทานยาที่รักษาโรคของคุณควรรับประทานควบคู่กัน และหากจะหยุดรับประทานก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยทุกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะหากหยุดยารับเพียงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนไม่น้อยที่เป็นประโยชน์นะคะ เพียงต้องการให้คุณใช้วิจารญาณให้ดีก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ ทั้งคุณประโยชน์ที่จะได้รับและราคาที่สมเหตุผล

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today
http://yim-health.blogspot.com
http://submit-submit.blogspot.com
http://submit.iblog.co.th

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ชั่งใจสักนิด ก่อนคิดกินอาหารเสริม
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..