หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
พัฒน์สุดา โต้ตอบ
จากจังหวัด นนทบุรี

ระบบสารสนเทศที่ดีของสถานศึกษา
โพสต์เมื่อวันที่ : 6 เม.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6423 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.91%-11 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

มีระบบสารสนเทศดี ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร

.....

ระบบสารสนเทศที่ดีของสถานศึกษา

*นางสาวพัฒน์สุดา  โต้ตอบ

********************************************************************************************************************

ด้วยผู้เขียนกำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ สถานีบริการโรงเรียนบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีความสนใจศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน

            ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงในด้านต่าง ๆ และเป็นที่ยอมรับกันว่าข้อมูลสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็วกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ เพราะสามารถใช้สารสนเทศเหล่านั้นในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศที่ดี จึงมีความสำคัญมากที่จะทำให้ผู้บริหารวางแผนงานและตัดสินใจได้ถูกต้อง  แม่นยำ  ทันกาลมากขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนการศึกษาและการกำหนดนโยบายต้องมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ  มีความละเอียด  ครบถ้วน  ถูกต้อง  ตรงตามความต้องการและทันสมัย  ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  นอกจากจะอาศัยความสามารถของผู้บริหาร  ในส่วนบุคคลแล้วยังต้องอาศัยสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานซึ่งยังผลให้การบริหารองค์การมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (ผ่องศรี  วาณิชย์ศุภวงศ์.        2537: 255)

 

ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

              เกรียงศักดิ์  พราวศรี  และคนอื่น ๆ  (2544 : 6 - 7) ยังได้กล่าวถึงการจัดข้อมูลหรือการมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาว่าขึ้นอยู่กับลักษณะความต้องการและการเลือกสรรใช้ข้อมูลที่จำเป็น  และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและควรจะครอบคลุมองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดการศึกษา  ดังนี้

1.       โครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่  ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษาและชุมชน  อาคารเรียน  อาคารประกอบ  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ในสถานศึกษา  เช่น  ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการวัสดุ  อุปกรณ์การเรียนการสอน  ห้องสมุด  ตลอดถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา  เป็นต้น

2.      ผู้เรียนหรือนักเรียน  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถานศึกษาการเก็บรวบรวมข้อมูลนอกจากตัวผู้เรียนแล้วยังต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้านภูมิหลังทางครอบครัวและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่

3.      ครู – อาจารย์  การเก็บข้อมูลครูอาจารย์ในสถานศึกษา  ได้แก่  จำนวนครู  คุณวุฒิการศึกษา  ตำแหน่งหน้าที่   วิชาที่สอน  ผลงานทางวิชาการ  และผลการปฏิบัติงานของครู  และรวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ สามารถเป็นวิทยากร  ผู้ทรงคุณวุฒิหรือครูภูมิปัญญาไทย  เป็นต้น

4.      หลักสูตร  ได้แก่  ตัวหลักสูตร  แผนการสอน  คู่มือ  การพัฒนาหลักสูตรการสำรวจความต้องการของชุมชน  และการใช้ตำราเรียนของครูและนักเรียน  เป็นต้น

5.      กระบวนการเรียนการสอน  ได้แก่  ลักษณะของวิธีการสอน  ตารางสอน  การมีส่วนร่วมของนักเรียน  การใช้ตำราเรียน  สื่อการสอน  การประเมินผลการเรียนการสอน  การรายงานผลการเรียน  การสอนซ่อมเสริม  เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ

                  จะต้องเก็บข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ผ่านการจัดกระทำเรียบร้อยแล้ว  โดยการเก็บไว้ในสื่อต่าง ๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือ  หรือใช้คอมพิวเตอร์  ถ้าเป็นระบบการจัดกระทำด้วยมือ  การจัดเก็บจะเป็นระบบแฟ้ม  ซึ่งเก็บข้อมูลและสารสนเทศไว้ในสื่อที่เป็นเอกสารหรือเป็นบัตร  ถ้าเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บให้เป็นระบบ  ซึ่งสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศไว้  ดังนี้

                  สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537 : 16 – 24) การจัดหน่วยหรือคลังข้อมูลไว้ในหน่วยงาน  ขั้นนี้เป็นการจัดให้มีแหล่งรวมของข้อมูลสารสนเทศไว้ในหน่วยงานซึ่งอาจเรียกว่า  ศูนย์สารสนเทศทางการศึกษาระดับสถานศึกษา  ซึ่งมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.  ต้องจัดให้มีสถานที่  เช่น  มีห้อง ๆ หนึ่ง  หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสถานศึกษาเป็นศูนย์สารสนเทศ  หรืออาจใช้ส่วนหนึ่งของห้องสมุด  ห้องอื่น ๆ ฯลฯ  หรือหากมีคอมพิวเตอร์อาจใช้ห้องคอมพิวเตอร์

2.  จัดให้มีครูภัณฑ์  วัสดุ  จำเป็น  เช่น  ตู้สำหรับจัดเก็บแฟ้มข้อมูลสารสนเทศ  เก็บแผ่นบันทึกข้อมูล  (แผ่นดิสก์เกต)  กรณีใช้คอมพิวเตอร์  ไว้ในห้องในข้อ 1.

3.  จัดระบบค้นหา (Fileing)  หากเป็นแฟ้ม  หรือหากเป็นคอมพิวเตอร์ก็ควรจัดทำเป็นโปรแกรมให้สอดคล้องกับลักษณะงานของสถานศึกษา  เพื่อประสิทธิภาพของการใช้และการบริหารข้อมูลของหน่วยงาน  และที่สำคัญคือต้องสร้างให้สอดคล้องกับโปรแกรมในระดับจังหวัด  และอำเภอ  เพื่อวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้วในขั้นการจัดกระทำข้อมูล

                 ระบบสารสนเทศถือเป็นหัวใจของกระบวนการบริหารงานนับจากการวางแผน        การตัดสินใจ การจัดองค์กร  การควบคุม  งบประมาณ  ช่วยประหยัดเวลาในการตัดสินใจให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เป็นไปได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ  และเป็นเครื่องมือชี้แนะทิศทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ระบบสารสนเทศที่ดีของสถานศึกษา ควรจะครอบคลุมองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดการศึกษา และต้องมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการนำไปใช้อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามนโยบายการจัดการศึกษา

 

บรรณานุกรม

ผ่องศรี  วาณิชย์ศุภวงศ์. (2537). สารสนเทศเพื่อการบริหารทัพยากรการศึกษา ในประมวลสาระชุดวิชาการการบริหารทรัพยากรการศึกษา เล่มที่ 2 หน่วยที่ 12 นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

 เกรียงศักดิ์  พราวศรี  และคนอื่น ๆ.  (2544). การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. สำนักงาน(2538). การจัดตั้งจัดสรรงบประมาณตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ระบบสารสนเทศที่ดีของสถานศึกษา
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

พัฒน์สุดา โต้ตอบ
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
พัฒน์สุดา โต้ตอบ..