หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน
โพสต์เมื่อวันที่ : 27 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6401 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-22 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

เห็นสถิติเรื่องวิจัยในชั้นเรียนมีผู้สนใจเขาชมจำนวนมาก จึงพยายามนำวิจัยในชั้นเรียนมานำเสนออีกหลายๆกลุ่มสาระ เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัย ในวันี้จึงขอเสนอวิจัยอีกหนึ่งกลุ่มสาระ

  วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง       การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

              ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

ผู้วิจัย     นายพลเอก     สว่างแจ้ง                     

สภาพปัญหา

                จากการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ประจำปีการศึกษา  2546 ในการเรียนการสอนที่ผ่านมา    มีนักเรียนที่สนใจเลือกเรียนวิชา  วาดเส้นแสงเงา     จำนวน   3    ห้องเรียน มีนักเรียน  150  คน จากการสังเกตและตรวจผลงานของนักเรียนในภาคเรียนที่  1   ผู้วิจัยพบประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหา คือ มีนักเรียน  5  คน ในจำนวน 150   คน  ไม่ส่งชิ้นงานจึงส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในภาคเรียนที่  1     ผู้วิจัยได้สังเกตและตรวจสอบคะแนนรายจุด  พบว่า  นักเรียนขาดความสนใจ ไม่เอาใจใส่ขณะปฏิบัติงาน     และไม่ส่งชิ้นงานที่ครูสั่งตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของวิชา  วาดเส้นแสงเงา  ดังนี้

ตารางที่  1  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  10  ชิ้นงาน  ของภาคเรียนที่  1  พ.ค. ถึง   ก.ย.  2546

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย ข

/

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2

20

เด็กชาย ค

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย ง

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย จ

/

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2

20

                ในภาคเรียนที่  2  มีการเรียนการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา  ต่อจากภาคเรียนที่  1  จากการสังเกตของผู้วิจัย พบว่า นักเรียน  5  คนเดิม  ยังมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่ส่งชิ้นงานเหมือนภาคเรียนที่  1  ดังนี้

ตารางที่  2  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  3  ชิ้นงานใน 10 ชิ้น ของภาคเรียนที่  2  เดือนพฤศจิกายน   2546

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ข

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ค

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ง

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย จ

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

0

0

                จากข้อมูลในตารางที่  2  ผู้วิจัยมีความคาดหวังว่านักเรียนทั้ง  5  คน  แนวโน้มน่าจะมีปัญหา  เพราะนักเรียนไม่ให้ความสนใจการเรียนและไม่ส่งชิ้นงาน     อาจทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา วาดเส้นแสงเงา ปลายปีการศึกษาได้

ปัญหาการวิจัย     ทำอย่างไรจะช่วยให้นักเรียน  5  คน  สนใจการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

เป้าหมายการวิจัย  เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ด้วยเทคนิคการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

วิธีการวิจัย           

1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 5 คน

2. วิธีการ

       2.1 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อชี้แจงและตกลงร่วมกันถึงหลักการปฏิบัติงาน และทำข้อตกลงในการส่งชิ้นงาน ภายในเดือนธันวาคม 2546

       2.2 ต้นเดือนมกราคม 2547 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อตักเตือนด้วยวาจา ถึงการไม่ส่งชิ้นงานตามข้อตกลงภายในเดือนธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา

       2.3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้แรงเสริมทางลบ ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมด้วยการทำความสะอาดห้องเรียน ผู้วิจัยเน้นย้ำถึงข้อตกลงอีกครั้ง

       2.4 สัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการรดน้ำต้นไม้หน้าอาคารเรียน และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด

       2.5 สัปดาห์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้ ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการทำความสะอาดหน้าอาคารเรียน  และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน  โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด  และลงคะแนนแต่ละชิ้นงานในสมุด  ปพ.5  ให้นักเรียนทั้ง  5  คน  ได้เห็นและตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งชิ้นงาน ซึ่งนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

     3.1 การสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อนที่สนิทของนักเรียนทั้ง 5 คน ผู้ปกครองของนักเรียน และครู-อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา นักเรียนทั้ง 5 คน ในบางรายวิชาส่งชิ้นงานครบ บางรายวิชาส่งชิ้นงานไม่ครบ

     3.2 บันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงานในขณะเรียน

     3.3 บันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน

4. วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

     ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพิจารณาข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง  5  คน  เพื่อนนักเรียน  ผู้ปกครอง  และครู-อาจารย์ที่สอนนักเรียนทั้ง  5  คน  นำข้อมูลที่ได้มาประมวลภาพรวมแล้ววิเคราะห์ สรุป รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียนในขณะเรียน และดูบันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน     มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่  1  พบว่า

                                ภาคเรียนที่  1  ผู้วิจัยไม่ได้ใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด นักเรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    โดยดูจากตารางที่  1    ดังนี้

เด็กชาย  ก     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  ข     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             20

เด็กชาย  ค     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  ง      มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  จ     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ              20

                                ภาคเรียนที่  2  ผู้วิจัยใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด แล้วนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่  จดบันทึกข้อมูลไว้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภารเรียนที่  1  ของนักเรียนทั้ง  5  คน   

5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ปรากฏผลผลดังนี้

การวิจัยเรื่อง  การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  วิชา  วาดเส้นแสงเงา  ปรากฏผล  การติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด  ของนักเรียน  5  คน  มีผลดังนี้

ตารางที่  3  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  10  ชิ้นงาน ของภาคเรียนที่  2  เดือน ธ.ค. 46 ถึง ก.พ.  2547

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ข

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ค

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ง

/

/

/

/

-

/

/

/

/

/

9

90

เด็กชาย จ

/

/

/

/

-

/

/

/

/

-

8

80

เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่  3  การพัฒนาความสนใจของนักเรียนโดยการใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดแล้ว  พบว่า  นักเรียนทั้ง  5  คน  ได้มีการพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   ดังนี้

เด็กชาย  ก    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ข    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ค    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ง     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ               90

เด็กชาย  จ    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ               80

ข้อเสนอแนะ

1. เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อครูผู้สอนได้ลงมือปฏิบัติจริง ต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน มีใจรัก อดทน ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

2. นักเรียนบางกลุ่มใช้แรงเสริมทางบวกแล้วไม่ได้ผล บางกลุ่มใช้แรงเสริมทางลบแล้วไม่ได้ผล และบางกลุ่มต้องใช้แรงเสริมทั้งทางบวกและทางลบควบคู่กันไปจึงจะได้ผล บางกลุ่มอาจใช้แรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบไม่ได้ผล ขึ้นอยู่กับครูผู้ทำวิจัยจะต้องวิเคราะห์ตัวนักเรียนและสภาพแวดล้อมกลุ่มที่มีปัญหาว่าจะใช้วิธีการใดที่กล่าวมา เพื่อแก้ปัญหา

ภาคผนวก  ผังการดำเนินงาน

เรื่อง การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจ

และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  

ขั้นตอนที่ 1

สร้างข้อตกลงร่วมกัน

- สร้างข้อตกลงร่วมกัน   เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา

 

 

 ผล = นักเรียนเสนอข้อตกลง            และได้ข้อตกลงร่วมกัน

ขั้นตอนที่ 2

ตักเตือน

- ตักเตือนด้วยวาจา   เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา

 

 

ผล = นักเรียนรับรู้รับฝัง

ขั้นตอนที่ 3

เสริมแรงทางบวกและทางลบ

- เสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยเฉพาะนักเรียนส่งงาน

 

 

ผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ

ขั้นตอนที่ 4

เสริมแรงทางบวก เสริมแรงทางลบ และจัดหาที่เฉพาะให้ปฏิบัติกิจกรรม

- เสริมแรงทางลบด้วยการให้ทำกิจกรรมเฉพาะนักเรียนไม่ส่งงานผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ

 

 

- จัดหาที่เฉพาะให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ขั้นตอนที่ 5

เปรียบเทียบความสนใจ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ภาคเรียนที่ 1 กับภาคเรียนที่ 2

ผล = นักเรียนปฏิบัติงานได้ชิ้นงานครบตามจุดประสงค์ การเรียนรู้

 

                                                   ไม่ได้ผล      

                                 ย้อนกลับตรวจสอบตามขั้นตอน 1-5 ใหม่

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..