หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

?การวิจัยแบบง่าย
โพสต์เมื่อวันที่ : 27 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6625 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(56.52%-23 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

การแก้ไขปัญหาการอ่าน เขียน ภาษาไทย ด้วยวิจัยในชั้นเรียน

ยุพิน   อินทะยะ

 

ความนำ

                การวิจัยเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นได้ดี  วิธีหนึ่ง ทุกงานทุกสาขาอาชีพ สามารถนำมาใช้ในการหาองค์ความรู้หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยช่วยให้การพัฒนางานเป็นระบบและเป็นไปอย่างน่าเชื่อถือสะท้อนถึงความชัดเจน รอบคอบ และตรวจสอบได้

                งานการจัดการเรียนการสอนของครู ถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการความเชื่อถือได้ใน    ผลงานการสอนที่เกิดขึ้น หากครูผู้สอนได้นำการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน หรือ        แก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน จะสามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการประกัน คุณภาพการศึกษาได้อย่างดียิ่ง ทั้งนี้จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งบิดามารดา ผู้ปกครองของนักเรียนจะ มีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

                การวิจัยแบบง่ายจึงเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีขอบเขตของเรื่องที่จะดำเนินการวิจัยที่ไม่ซับซ้อน ไม่ใหญ่มาก แล้วมีการสรุปผลการวิจัยที่สมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสำคัญ โดยมีจำนวนหน้าไม่มากนัก อาจเป็นหนึ่งหน้า หรือมากกว่าหนึ่งหน้า     ก็ได้ และปัจจุบันจึงเรียกงานวิจัยในชั้นเรียนลักษณะนี้ว่า วิจัยแผ่นเดียวหรือ วิจัยหน้าเดียว

                การแก้ไขปัญหาการอ่าน     เขียน  ภาษาไทย  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ  ปัญหาการอ่านไม่ ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง ในขณะนี้เป็นปัญหาเร่งด่วน ที่ครูผู้สอนทุกคน   ไม่เฉพาะแต่ครูภาษาไทยเท่านั้น ต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขเพื่อให้เยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติ   มีการพัฒนาหรือได้รับการแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุที่ว่า หากเยาวชนของเราอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  การเรียนรู้สรรพวิชาต่างๆ ก็ย่อมจะมืดมน เพราะทักษะการอ่าน เขียน เป็นทักษะพื้นฐานจำเป็น   ในการรับสาร ส่งสาร นอกเหนือจากทักษะฟัง ดู พูด ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  ดังนั้นการนำกระบวนการวิจัยที่เป็นการวิจัยแบบง่าย หรือวิจัยแผ่นเดียวมาใช้ในการแก้ปัญหา    การอ่าน เขียนภาษาไทย จึงเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นสำหรับครูและต้องเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก    ซับซ้อน และส่งผลต่อคุณภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้เรียนจะใช้ในการแสวงหาความรู้ในโลกกว้างได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การกำหนดขั้นตอนในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน เขียนภาษาไทย

                การกำหนดขั้นตอนการวิจัยแบบง่ายที่เสนอนี้ เป็นขั้นตอนหลักซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ทั่วไป  ผู้สอนจะกำหนดให้ละเอียดกว่านี้ก็ได้ ในที่นี้ขอเสนอไว้  5  ขั้นตอน  ดังนี้

1.       การกำหนดปัญหา หรือเป้าหมายการวิจัย

2.       การกำหนดวิธีการวิจัย หรือวิธีหาคำตอบ หรือวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

3.       การรวบรวมข้อมูลตามวิธีการที่กำหนด

4.       การวิเคราะห์ประมวลผล ตีความ โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาพิจารณา

5.       การสรุปและเขียนรายงานการวิจัยแบบง่าย (วิจัยแผ่นเดียว)

 

กรณีศึกษาการแก้ปัญหาการอ่าน เขียน ภาษาไทย

                กรณีศึกษาที่เสนอเป็นตัวอย่างนี้  ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน

 


ตัวอย่างกรณีครูใจดี  รักสอน

 

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาความสามารถการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        นักเรียนชั้นประถม

                                ศึกษาปีที่ 6  โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

ชื่อผู้วิจัย                นางสาวใจดี   รักสอน

 

สภาพปัญหา

                                นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  จำนวน 20 คน ส่วนใหญ่อ่านและเขียนคำที่  ควบกล้ำ        ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะ เมื่อตรวจสมุดงานในวิชาต่างๆ จากการตรวจงานการเขียนเรียงความ และสอบถามจากครูผู้สอนท่านอื่น ต่างก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผู้สอนได้ใช้แบบประเมินการอ่าน เขียน ภาษาไทย ตรวจสอบพบว่าคำที่นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นคำควบกล้ำ        ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก และขาดความมั่นใจ เวลาให้นักเรียนสรุปหรือรายงานหน้าชั้นเรียน จะรู้สึกว่าเป็นตัวตลกให้เพื่อนหัวเราะเวลาพูดผิดหรือออกเสียงผิด เวลาเขียนก็เกิดความลังเลไม่มั่นใจ มีลักษณะการขีดฆ่าและลบบ่อย    ดังนั้นหากนักเรียนได้รับการแก้ไขโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำภาษาไทย ที่เป็น คำควบกล้ำ        จะช่วยพัฒนาความสามารถการอ่าน เขียน คำควบคล้ำ        ของนักเรียนได้ดีขึ้น

เป้าหมายการวิจัย

                เพื่อฝึกและพัฒนาความสามารถการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1  จำนวน  20  คน

 

วิธีการวิจัย

1.     สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำภาษาไทยที่เป็นคำควบกล้ำ            โดยใช้คำที่นักเรียน อ่าน เขียน ไม่ถูกต้อง ปรากฏในแบบฝึกให้ครบถ้วน จำนวน 5 ชุด รวม 20 แบบฝึกดังนี้

1.1    แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        โดยใช้คำประพันธ์         5 แบบฝึก

1.2    แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        โดยใช้ข้อความ / นิทาน 3 แบบฝึก

1.3    แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        โดยใช้ปริศนาคำทาย           3 แบบฝึก

1.4    แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        โดยใช้เกมปริศนาอักษรไขว้   5  แบบฝึก

1.5    แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        โดยใช้บทเพลง 4       แบบฝึก

 

2.       สร้างแบบประเมินการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        ก่อน และหลังการใช้แบบ   ฝึกเสริมทักษะ  จำวน  40  คำ

3.       ประเมินการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        ก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

4.       เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน เขียนคำ     ควบกล้ำ        ควบคู่กับแบบฝึก

5.     ดำเนินการพัฒนาการอ่าน เขียนคำควบกล้ำ        โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่  1 – 5  โดยใช้คาบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นเวลา 20 ชั่วโมง (สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง)

6.       ขณะฝึกการอ่าน เขียนคำควบกล้ำ        บันทึกผลการอ่าน เขียน นักเรียนเป็นรายบุคคล

7.       สรุปผลการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        ในแต่ละแบบฝึกเสริมทักษะ

8.       ประเมินการอ่าน เขียนคำควบกล้ำ        หลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

9.     สรุปผลและเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการพัฒนาความสามารถ การอ่าน เขียน คำควบกล้ำ        ก่อน หลัง การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม (ทั้งชั้น)

 

ผลการวิจัย

1.     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  ทุกคน มีความสามารถในการอ่าน เขียน คำ      ควบกล้ำ        สูงขึ้น โดยมีนักเรียนจำนวน 5 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับปรับปรุง เป็นระดับพอใช้ นักเรียนจำนวน 12 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับพอใช้เป็นระดับดี         นักเรียนจำนวน  3 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับปรับปรุง เป็น ระดับดี

2.     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยภาพรวมมีความสามารถในการอ่าน เขียน       คำควบกล้ำ        อยู่ในระดับพอใช้ มีพฤติกรรมการแสดงออกดีขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น ใช้ภาษากลางในการสื่อสารมากขึ้นกว่าเดิม

 

หมายเหตุ             ในกรณีที่ผู้สอนต้องการพัฒนานวัตกรรม แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำภาษาไทยที่เป็นคำควบกล้ำ        หรืออื่นๆ ในลักษณะที่ใช้ในวงกว้าง และพัฒนาเป็นผลงานวิชาการ ควรเพิ่มขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน E1 / E2 = 80/80 ก่อนนำไปใช้จริง

 


ตัวอย่างกรณีครูบุษยา

 

ชื่อเรื่อง                  การออกเสียงได้ของ ด..จักรี

ชื่อผู้วิจัย                นางสาวบุษยา   ใจดี

 

สภาพปัญหา

                เมื่อครูบุษยาเข้ามาสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 2 ครูบุษยาให้นักเรียนทุกคนดูภาพสวนสนุกและอ่านคำบรรยายภาพ แล้วให้นักเรียนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่เห็นส่งครู ซึ่งครูได้สังเกตพบว่า ด..จักรี มีอาการกระวนกระวาย ไม่สามารถเขียนได้ จึงได้สอบถามก็พบว่า ด..จักรีอ่านหนังสือไม่ออก และเขียนไม่ได้นั่นเอง

 

ปัญหาการวิจัย

                ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ ด..จักรี อ่านหนังสือออกและเขียนได้

เป้าหมายการวิจัย

                เพื่อฝึกและพัฒนาให้ ด..จักรี อ่านออกเขียนได้

 

วิธีการวิจัย

1.       สร้างแบบฝึกการสะกดคำ และบัตรคำตัวอักษร สระ เพื่อใช้ประสมเป็นคำ / พยางค์

2.       สร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ และเขียนเป็นประโยค (จากง่ายไปหายาก)

3.       กำหนดข้อความ / นิทานที่ใช้ในการฝึกอ่าน 10 เรื่อง

4.       นัดหมายให้ ด..จักรี มาเรียนกับครูทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมง หลังเลิกเรียนหรือในเวลาว่าง

5.     เริ่มฝึกจากการสะกดคำง่ายๆ วันละ 5 – 10 คำ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และฝึกสะกดคำพร้อมกับเขียนในสัปดาห์ที่ 2 – 3 ในสัปดาห์ที่  4 – 5  จึงได้ฝึกแต่งประโยคพร้อมกับการอ่านและเขียน ในสัปดาห์ที่ 6 – 15 จึงได้ให้ฝึกอ่านจากนิทานต่างๆ และเขียนเรื่องจากภาพในนิทาน รวมเวลาฝึกอ่านและเขียน 4 เดือน

6.     บันทึกผลการสะกดคำอ่าน การเขียนเป็นคำ และการแต่งเป็นประโยคทุกวัน เพื่อดูพัฒนาการความก้าวหน้าของ ด..จักรี โดยบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนนการอ่าน เขียนคำ และเขียนเป็นประโยค และการเรียนเรื่องจากภาพ

7.       บันทึกพฤติกรรมขณะฝึกอ่าน เขียนลงในแบบสังเกตพฤติกรรม

8.       สรุปผลการอ่าน การเขียนของ ด..จักรี

 

ผลการวิจัย

1.       การฝึกอ่านของ ด..จักรี พบว่า

สัปดาห์ที่ 1                      อ่านได้โดยเฉลี่ยวันละ 3 คำ จาก 10 คำ

สัปดาห์ที่ 2 – 3               ประสมคำอ่านได้ โดยเฉลี่ยวันละ 5 – 10 คำ จาก 10 คำ

สัปดาห์ที่ 4 – 5               ฝึกอ่านเป็นประโยคได้ โดยเฉลี่ยวันละ 5 – 10 ประโยค

สัปดาห์ที่ 6 – 16             ฝึกอ่านนิทานสัปดาห์ละ 1 เรื่อง โดยเฉลี่ยพบว่าอ่านได้ประมาณมากกว่า 50 %

2.       การฝึกเขียน

สัปดาห์ที่ 1                    เขียนได้เฉพาะตัวพยัญชนะและคำที่ไม่มีตัวสะกดโดยเฉลี่ยวันละ 3 คำ

สัปดาห์ที่ 2 – 3             เขียนคำที่มีตัวสะกดง่ายๆ ได้ โดยเฉลี่ยวันละ  5 คำ

สัปดาห์ที่ 4 – 5             เขียนคำที่มีตัวสะกดง่ายๆ ได้ โดยเฉลี่ยวันละ 10 คำ

สัปดาห์ที่ 6 – 10           เขียนเป็นคำและแต่งเป็นประโยคได้ โดยเฉลี่ยวันละ 3 – 5 ประโยค

สัปดาห์ที่ 11 – 16        เขียนเป็นคำ แต่งประโยค และเขียนเล่าเรื่องสั้นๆ ได้

3.     ..จักรี มีพฤติกรรมการอ่าน เขียนดีขึ้น กล้าซักถามครู อาการกระวนกระวายลดน้อยลงตามช่วงเวลาที่ได้ฝึกอ่าน เขียน และมีความสุขมากเมื่อได้อ่านนิทาน

4.       ผลการฝึก ด..จักรี สามารถอ่านหนังสือได้ และเขียนได้ทั้งเป็นคำและประโยครวมทั้งการเขียนเล่าเรื่องจากภาพได้

 

กิจกรรมปฏิบัติ

 

ลองคิด

ลองทำ

แลกเปลี่ยน

เรียนรู้

ร่วมคิด ทำ - นำไปใช้

 

1.       วิเคราะห์ประเด็นปัญหา

                ครูอรนุช  สุดยอด สอนนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 29 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา       เผ่ากะเหรี่ยง จากการประเมินผลการอ่าน เขียนภาษาไทย จำนวน 40 คำ ของเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า มีนักเรียนจำนวน 3 คน อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้เลย นักเรียน 10 คน อยู่ในระดับปรับปรุง (อ่าน เขียน ได้ 1 – 23 คำ) นักเรียน 11 คน อยู่ในระดับพอใช้ (อ่าน เขียน ได้ 24 – 31 คำ)        นักเรียน 5 คน อยู่ในระดับดี (อ่าน เขียน ได้ 32 คำ ขึ้นไป)

                หากท่านจะช่วยครูอรนุช  สุดยอด ดำเนินการแก้ไขปัญหานักเรียน ชั้น ป.6 ท่านควรเสนอแนะให้เขาดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไรบ้าง

 

2.       พัฒนาทักษะ

                สร้างแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน เขียนภาษาไทย ในเรื่อง     ต่อไปนี้เพียง 1 ปัญหาโดยเลือกใช้นวัตกรรม - เทคนิควิธีการตามความเหมาะสม

2.1    การอ่าน เขียน คำควบกล้ำ     

2.2    การอ่าน เขียน อักษรควบ อักษรนำ

2.3    การอ่าน เขียนคำที่ใช้มาตราตัวสะกด ไม่ตรงตามมาตรา

2.4    การอ่าน เขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

2.5    การอ่าน เขียนคำที่ใช้ ร   

2.6    การอ่าน เขียนคำที่ใช้ตัวการันต์

2.7    การอ่าน เขียนคำที่ประวิสรรชนีย์

2.8    การอ่าน เขียนคำที่ใช้พยัญชนะต้น           

 

3.       มานะพากเพียรฝึกเขียนรายงาน

·     ฝึกเขียนรายงานวิจัยแบบง่ายเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน เขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียน  ที่ท่านสอน 1 เรื่อง ตามแบบฟอร์มโดยกำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย สภาพปัญหา    เป้าหมายการวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ทั้งนี้ให้ใช้นวัตกรรมตามที่ท่านได้จัดทำใน ข้อ  2

 

4.       วิจารณ์วิจัยให้คุณภาพผลงาน

·       นำเสนอผลการฝึกเขียนรายงานต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเติมเต็มซึ่งกันและกัน

·       ให้ระดับคุณภาพผลงานการฝึกเขียนรายงานโดยใช้เกณฑ์การประเมิน และกำหนดระดับคุณภาพผลงาน ดังนี้

-          เกณฑ์การประเมิน

1.       การเขียนเป็นลำดับขั้นตอน

2.       การกำหนดชื่อเรื่อง สภาพปัญหา เป้าหมายการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย มีความสอดคล้องกัน

3.       มีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปใช้จริง

-          ระดับคุณภาพผลงานมีดังนี้

                                ระดับดี                   หมายถึง                 ผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน 3 ข้อ

                                ระดับพอใช้          หมายถึง                 ผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน 2 ข้อ

                                ระดับปรับปรุง     หมายถึง                 ผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน 1 ข้อ

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

ประสงค์  รายณสุข. การศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการพูดภาษาไทยแก่ชาวเขา.   รายงานวิจัยภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, ประสานมิตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพียรเจริญ, 2532.

_________________. เสียงและการออกเสียงการพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพในการพูด.

ยุพิน  อินทะยะ. การศึกษาสภาพปัญหาการอ่านออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาของครูผู้สอน กรณีศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8. เชียงใหม่ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8, 2539.

สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. การทำวิจัยแบบง่าย : บันไดสู่ครูนักวิจัย (วิจัยแผ่นเดียว). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ?การวิจัยแบบง่าย
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..