หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

คนใบ้ในห้องเรียน...คิดนอกกรอบ..ได้อีกแบบ
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6424 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(81.82%-11 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

กฎหกข้อของปู่หลี่

ศาสตราจารย์หลี่หยวนเซ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 1986 (ขอเรียกว่า ปู่หลี่) กล่าวว่า จุดอ่อนของโรงเรียนแถบประเทศทางเอเชียคือ การขาดความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนถูกสอนเพียงให้แก้ปัญหาของข้อสอบ และเพื่อสอบผ่านด้วยคะแนนสูงๆ เท่านั้น น้อยมากถูกสอนให้หัดคิดเพื่อจะเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต

จินตนาการนั้นเกิดมากับยีนหรือไม่ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เพราะความรู้ของเราเกี่ยวกับการทำงานของสมองยังอยู่ในระยะตั้งไข่

เมื่อไอน์สไตน์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1955 นั้น หมอท่านหนึ่งแห่งโรงพยาบาลพรินสตันได้ผ่าสมองของเขามาออกมาสำรวจดู มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย บางรายงานว่ารายหยักของสมองของเขาไม่เหมือนคนทั่วไป บางรายงานว่าจำนวนนิวรอนในสมองของเขามากกว่าคนทั่วไป สมองบางซีกกว้างกว่าของคนทั่วไป ฯลฯ แต่จนบัดนี้ก็ยังหาข้อแตกต่างระหว่างสมองของไอน์สไตน์กับสมองของคนทั่วไปอย่างฟันธงไม่ได้

ใช่! อัจฉริยะมีจริงในโลก แต่จะมีสักกี่คนในโลกที่มีสมองระดับ 'สวรรค์ประทาน'? และนั่นมิได้หมายความว่าคนทั่วไปจะมีความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้

ในมุมมองของปู่หลี่ ท่านเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ปลูกฝังขึ้นมาได้ ภายใต้การสั่งสอนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ปู่หลี่กล่าวว่า นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอาจต้องเริ่มจากการที่นักเรียนกล้าบอกครูตรงๆ ว่า "ผมคิดว่าบางทีครูอาจผิดก็ได้นะครับ"

ในประเทศทางเอเชียหลายประเทศ นักเรียนไม่ค่อยชอบถามครู อาจเป็นได้ที่เกิดความแขยง เนื่องจากบางคำถามได้รับคำตอบกลับมาว่า "เธอยังเด็กเกินไปที่จะรู้" คำตอบแบบนี้ทำลายความอยากรู้อยากเห็นอย่างแรง ผู้ใหญ่ต้องเลิกคิดก่อนว่า เด็กเป็นพวกที่ยังไม่รู้เรื่อง

ก่อนอื่นครูต้องไม่ตอบเด็กว่า 'เธอยังเด็กเกินไปที่จะรู้' คำตอบแบบนี้ทำลายความอยากรู้อยากเห็นอย่างแรง ผู้ใหญ่ต้องเลิกคิดก่อนว่า เด็กเป็นพวกที่ยังไม่รู้เรื่อง

พ.ศ. นี้เรายังสอนเด็กแบบนี้อยู่เลย

อีกเรื่องหนึ่งคือ นักเรียนเอเชียมักคิดว่าครูเป็นผู้รู้ทุกอย่าง นี่ก็เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่งทางการศึกษา เพราะบนพื้นฐานความเชื่อนี้ นักเรียนจะไม่มีทางกล้าแหวกกฎ คิดอะไรใหม่ๆ ออกมา

ปู่หลี่ว่า อาจารย์ที่ 'รู้ทุกอย่าง' มักเป็นพวกที่ไม่ค่อยได้ทำการวิจัยเอง ได้แต่อ้างงานของคนอื่นเท่านั้น แต่อาจารย์ที่บอก "ฉันไม่รู้" บางครั้งสามารถสร้างอะไรใหม่ๆ ออกมามากกว่า

เพราะความไม่รู้เป็นต้นกำเนิดของความรู้

ในกรณีของไอน์สไตน์ เขาเป็นตัวอย่างของผู้ที่ไม่ตามระบบ เกลียดการเรียนการสอนแบบ 'จับยัด' จึงกลายเป็นนักเรียนที่ครูไม่ชอบ และได้คะแนนต่ำ สอบผ่านแบบหวุดหวิดเพราะเพื่อนช่วยให้อ่านโน้ต และด้วยความช่วยเหลือของพ่อของเพื่อนคนนั้น เขาจึงได้งานทำในแผนกจดสิทธิบัตรในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งเขาว่างมากจนมีเวลาคิดปัญหาต่างๆ ทางฟิสิกส์

ไอน์สไตน์เคยบอกว่า นักฟิสิกส์ควรหางานประจำทางอื่นที่ไม่ใช่ฟิสิกส์ และทำฟิสิกส์ในเวลาว่าง เขาบอกว่าอาชีพที่เขาคิดไว้คือช่างประปา (ต่อมาภายหลังสหภาพช่างประปามอบตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้ไอน์สไตน์)

ประเด็นสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ความพิสดารของทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของเขา แต่อยู่ที่กระบวนการที่ทำให้เขาสามารถคิดอะไรแบบนั้นออกมา หากไอน์สไตน์เป็นคนเรียนเก่งตามระบบ ทฤษฎีสัมพัทธภาพและความคิดเรื่อง กาล-อวกาศ คงถูกคิดช้าไปอีกหลายสิบปี

ประเด็นคือ การกล้าคิดในมุมมองใหม่ที่แย้งกับมุมมองเดิมที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ดี

ตัวอย่างคลาสสิกก็คือ กรณีของนิวตันกับไอน์สไตน์

ในปี ค.ศ. 1666 เซอร์ ไอแซค นิวตัน คิดค้นงานสุดปราดเปรื่องเรื่องแรงโน้มถ่วง แรงที่ดึงดวงดาวเข้าด้วยกันนั้น ความจริง 1666 เป็นปีที่นักฟิสิกส์ยกเป็นปีทองทางวิทยาศาสตร์ คู่กับปี 1905 ซึ่งเป็นปีที่ไอน์สไตน์คิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ 1666 ยังเป็นปีที่นิวตันประดิษฐ์แคลคูลัส ผลงานของนิวตันชิ้นนั้นใช้การได้จนทุกวันนี้ และคงไม่มีคนฉลาดคนใดกล้าคิดแย้งต่อกฎของนิวตันที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว แต่ไอน์ไตน์กล้าคิด

ผลที่ตามมาคือทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ละเอียดอ่อน อธิบายบางจุดได้ดีกว่า กล่าวคือกฎของนิวตันใช้ได้ในสเกลเล็กของจักรวาล จนถึงวันนี้การส่งจรวดไปนอกโลกยังต้องใช้การคำนวณตามกฎของนิวตัน ทว่าหากเป็นสเกลใหญ่ระดับจักรวาล ทฤษฎีของไอน์สไตน์อธิบายได้ดีกว่า ทั้งสองอันเสริมซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างนี้บอกเราว่า หากจะก้าวไปข้างหน้า เราต้องกล้าคิดแย้ง

เป็นที่น่าสังเกตว่า การรับเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดีๆ ของอเมริกา ไม่ได้ดูที่คะแนนเกียรตินิยม หรือ A ทุกตัวเลย เพราะมันไม่ได้รับประกันเรื่องความคิดสร้างสรรค์ จดหมายแนะนำว่า เด็กคนนี้คิดเก่ง ถามเก่ง อาจมีน้ำหนักกว่าเกรดดีๆ เสียอีก

ปู่หลี่มีคำแนะนำหกข้อ สำหรับการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ :

1 คิด เอง และตั้งคำถามต่อคำตอบที่เขาว่าถูกต้องแล้วเสมอ ให้ความสำคัญกับการเรียนด้วยตัวเองมากกว่าการเรียนจากครู

2 ถาม คำถามที่ดี

3 มอง ปัญหาด้วยมุมมองทุกมุม ชั่งน้ำหนักของข้อดีข้อเสียของทุกเรื่อง

4 สืบสวน เรื่องหนึ่งๆ จนทะลุ

5 ขบคิด ปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูก-ผิด เพื่อที่จะหัดให้คิดลึกเป็น

6 เคารพ นักเรียนคนอื่นๆ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะอ่อนวัยกว่าคุณแค่ไหน
ระบบการเรียนการสอนของหลายประเทศในโลกยังต้องปรับปรุง ก่อนอื่นอาจต้องมองต่างมุมว่า อาจมีวิธีการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ที่ทำให้เด็กใช้ศักยภาพได้เต็มที่

หากปรับคำพูดของปู่อาร์เธอร์ เราอาจได้กฎสามข้อของการเรียนการสอนแบบใหม่ว่า

กฎข้อที่ 1 : หากครูอาวุโสบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เขามีโอกาสผิดสูงมาก

กฎข้อที่ 2 : ทางเดียวที่จะค้นพบศักยภาพของนักเรียนก็คือ การยอมให้เขาคิดออกนอกบทเรียน

กฎข้อที่ 3 : ผลลัพธ์ของการให้นักเรียนรู้จักใช้สมองคิดเองแต่เด็กนั้นมักแยกไม่ออกจากมายากล

และท้ายที่สุด... ครูต้องให้สร้างบรรยากาศให้ห้องเรียนปลอดเชื้อโรค 'ใบ้' เพราะหากนักเรียนติดโรคนี้แล้ว มันรักษายากจริงๆ!


วินทร์ เลียววาริณ
ขอบคุณที่มาของความเห็น
   

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง คนใบ้ในห้องเรียน...คิดนอกกรอบ..ได้อีกแบบ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..