หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

..คิดนอกกรอบ...จาก..วงการแฟชั่น
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6414 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

Vivienne Westwood ICON แห่งวงการ Fashion

.....

 

  •  

 

 

 

 

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อหรือคุ้นหูกับเธอคนนี้มาแล้ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบแฟชั่นหรือดนตรีแนว PUNKROCK ยิ่งถ้าหากว่าวงดนตรีวงโปรดของคุณคือ SeX PiSTOL หรือสาวกกลุ่มดนตรี J-Rock อย่าง Direngrey (และวงอื่นๆอีกมากมาย) แล้วล่ะก็

 

น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก "วิเวียน เวสต์วูด"

 

แต่สำหรับคนไทยเราอาจคุ้นเคยชื่อเธอมากที่สุดจากคอมมิคชื่อดังจากแดนปลาดิบอย่าง NANA ผลงานของ อ.ไอ ยาซาว่า  ผู้ซึ่งคลั่งไคล้ในแฟชั่นสไตย์ของวิเวียนสุดๆ ถึงขั้นจับเอาเครื่องแต่งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมไปถึงการเอา Character ของ ซิด นักร้องนำวง SEX PiSTOL ที่สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ของวิเวียนมาเป็นต้นแบบ  เรน พระเอกของเรื่องอีกต่างหาก

 

ความน่าสนใจของผู้หญิงเก่งคนนี้ไม่ได้มีดีแค่การออกแบบเสื้อเท่านั้น  วิเวียน เวสต์วูด ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับดีไซน์เนอร์ทั้งหลาย เธอเป็นทั้งศิลปิน เป็นทั้งนักออกแบบที่อยู่คู่ในวงการแฟชั่นมานานกว่า 30 ปี และยังเป็น ICON ของการทำลายความยึดมั่นในสิ่งเก่า

 

 

 

Vivienne Westwood
ICON แห่งวงการ Fashion PUNKROCK

 

 

Vivienne Westwood 1970

 

วิเวียน เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1941 ที่กลอสซ็อป ประเทศอังกฤษ เมื่อเธออายุได้ 17 ปี จึงย้ายเข้ามาอยู่ในลอนดอน จากเด็กสาวที่เติบโตมาในชนชั้นกรรมกร กลับกลายเป็นดีไซเนอร์ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นโลกอย่างในทุกวันนี้ ครั้งหนึ่งเมื่อเธอเข้าศึกษาวิชาแฟชั่นในวิทยาลัยสอนศิลปะแห่งแฮร์โรว์เพียงภาคการศึกษาแรก วิเวียนลาออกด้วยเหตุผลว่า


"ไม่รู้ว่าเด็กสาวชนชั้นกรรมกรอย่างฉันจะมีปัญญาทำมาหากินอะไรในโลกศิลปะ"


ต่อมาวิเวียนพบรักและแต่งงานกับมัลคอล์ม แมกลาเรน ผู้คลั่งไคล้แฟชั่นและดนตรีร็อก ผู้จัดการวงดนตรีของ SEX PiSTOL ซึ่งเป็นวงดนตรีแนว PUNK ที่ดังที่สุดในยุค 70  ด้วยความที่วิเวียนเป็นคนกล้าที่จะแสดงจุดยืนจากรากฐานชนชั้นของเธอที่ไม่ใช่พวกชนชั้นสูง สิ่งนี้จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจของร้านขายเสื้อผ้าแนว PUNK 


เพื่อต้องการจะแสดงออกถึงการต่อต้านสังคมระบบชนชั้นผู้ดี ในยุคแรก ทั้งกระดูกไก่ โซ่ ยางรถยนต์ หมุด อะไรต่อมิอะไรก็ตามถูกนำมามิกซ์ จนสร้างเป็นผลงานการออกแบบเสื้อของเธอ อีกทั้งการแสดงออกไปในเชิงเสียดสีในเรื่องเพศอย่างรุนแรงและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ลายหน้าอกหญิงสาวบนเสื้อยืดหรือกระดุมรูปสัญญาลักษณ์ของเพศชาย รวมไปถึงการเฉือนเสื้อผ้าให้ขาดวิ่นเห็นเนื้อหนังบริเวณหน้าอก และการนำชุดชั้นในมาใส่ด้านนอก วิเวียนไม่ได้ขายแค่เสื้อผ้าสไตล์ PUNK แต่สิ่งที่เธอพยายามเสนอขายแก่สังคมคือ 

 


[ การกล้าที่จะยืนนอกกรอบ แล้วบอกว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ ]

 

[ 1980 ]
นักแหกกฏแห่งการตัดเย็บชั้นสูงแบบอังกฤษ

 

 

 

การตัดเย็บสไตล์ผู้ดีอังกฤษจะเน้นสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองข้าง แต่สำหรับวิเวียน สูทของเธออาจมีปกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง แขนข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหรืออาจมีแขนข้างเดียว ชายเสื้อสูทไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน หรือแขนเสื้อที่มักโค้งมนตรงไหล่ อาจกลายเป็นมีมุมเหลี่ยม แหลมออกมาจนเวลาใส่ต้องพับมุม คอเสื้ออาจกลายเป็นชายกระโปรง ขณะที่ชายเสื้ออาจถูกใส่แทนขอเสื้อ ฯลฯ


[ ทุกอย่างที่ไม่ใช่ขนบแฟชั่นแบบเดิมอาจเกิดขึ้นได้ด้วยจินตนาการของดีไซน์เนอร์คนนี้ ] 


บ่อยครั้งที่วิเวียนยังฉีกกรอบประเพณีแฟชั่นอังกฤษ ด้วยการนำเอาผ้า (fabric) ราคาแพงมาทำชุดลำลองไตล์สตรีทแวร์และชุดคลุมอาบน้ำ เช่น ผ้าบราเธียร์สำหรับเครื่องแบบขี่ม้า ผ้าแฮร์ริสทวีดผ้าขนสัตว์ราคาแพง ผ้าขนแกะทอมือ ฯลฯ กลับกันเธอใช้วัสดุที่ดูไร้ราคามาตัดเย็บชุดราตรีหรู เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าเช็ดรถ ฟาง ริบบิ้น ฯลฯ


การฉีกตำราแฟชั่นดั้งเดิมเช่นนี้จะเกิดไม่ได้ถ้าเธอไม่ได้ศึกษาและเข้าใจเทคนิคตัดเย็บ แพทเทิร์น และเส้นใยผ้า เป็นอย่างดี หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอังกฤษอย่างจริงจัง วิเวียนเริ่มนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน [ กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น ]

 

 

 

 

คอร์เส็ต ชุดชั้นในสาวสังคมชั้นสูงในยุควิกตอเรียที่ใช้รัดให้เอวคอดและมีหน้าอก แต่ถูกยกเลิกไปเพราะถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การกดขี่ทางเพศ วิเวียนแก้โดยเย็บด้วยผ้ายืดสมัยใหม่เพื่อให้ใส่สบาย และดัดแปลงให้ใส่ได้ทั้งข้างในและข้างนอก พร้อมตั้งชื่อคอลเลกชั่น อย่างประชดประชันแนวคิดเฟมินิสต์ว่า "เทพีเสรีภาพ"

 


คริโนลีน กระโปรงสุ่มไก่ในชุดราตรี อีกสัญลักษณ์ความสง่าของสาววิกตอเรียน ที่ไม่นิยมพราะขนาดใหญ่เทอะทะและโครงแข็งเปลี่ยนรูปยาก วิเวียนแก้ไขด้วยการตัดให้สั้นทำเป็นชุดลำลอง และใช้กระดูกปลาวาฬเทียมเป็นโครงซึ่งแม้บิดพับก็กลับเข้ารูปได้ เธอยังต่อยอดด้วยการใส่ซับในซ้อนเข้าไปเพิ่มความพลิ้วไหวให้กับสะโพกยามโยกย้าย จนดูคล้าย หางเป็ดน้อย เอกลักษณ์ชุดกระโปรงสั้นของวิเวียนจนทุกวันนี้

 


"การทำงานของฉันจะเริ่มต้นจากการสังเคราะห์สิ่งต่างๆ ในอดีต"

"ดึงรายละเอียดที่น่าสนใจบางอย่างที่มักถูกมองข้ามมาศึกษาอย่างจริงจัง"

"ในที่สุดก็จะได้ผลงานที่แปลกแหวกแนว"

"เพราะฉันได้สอดแทรกความคิดของฉันเข้าไปจนกลบรายละเอียดเดิม"

 


วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย เธอใช้เทคนิคเพิ่มลดตัดเฉือนเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่นขึ้นมา

 

"ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งใส่เสื้อผ้าของฉัน"

"ฉันจะภูมิใจมากกว่าเมื่อทุกคนตกตะลึง และอยากรู้ว่าผู้หญิงคนนั้นเธอเป็นใคร"

"โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่าเธอใส่เสื้อของฉัน"

 

 

 

วิเวียนเริ่มต้นจากรองเท้าส้นสูงที่จะช่วยให้ขาดูยาว และเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในการพรางสัดส่วนอื่นให้ดูดีตามไปด้วย รองเท้าที่เธอออกแบบส่วนใหญ่ส้นสูงกว่า 10 นิ้ว สูงจนเธอเองได้พบสัจธรรมจากรองเท้า เมื่อครั้งนางแบบเจนเวทีอย่าง [ นาโอมิ แคมเบลล์ ] ตกส้นตึกของเธอกลางแคตวอล์ก

 

 

"แฟชั่นเหมือนกับการไต่อยู่บนราวสูงเสี่ยงต่อการอับอายถ้าร่วงลงมา"

"แต่ถ้ายังเดินอยู่ได้นั่นคือชัยชนะ"

 


จากเรียวขา สัดส่วนต่อมาก็คือบั้นท้าย วิเวียนเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่คิดทำกระโปรงเสริมบั้นท้ายให้ผายกว้างจนดูเหมือนมดต่อขา เพื่อทำให้ช่วงเอวดูคอด ลำตัวท่อนบนดูเล็ก ผลที่ได้ก็คือ ลำคอดูยาว ซึ่งช่วยเพิ่มพลังดึงดูดให้กับใบหน้า นี่เป็นกระบวนการเพิ่มเสน่ห์เย้ายวนทางเพศให้นางแบบตามวิธีของวิเวียน

 

 

[ 1984 - 1989 ]

วิเวียนถูกเชิญ ให้นำผลงานของเธอออกแสดง ในโตเกียวร่วมกับแบรนด์เนมดังหลายยี่ห้อ จากนั้นปี 1989 จอห์น แฟร์ชายด์ บรรณาธิการของนิตยสารผู้หญิงที่โด่งดัง ได้มีการจัดอันดับ 6 ดีไซน์เนอร์ฝีมือเยี่ยมของโลก และเป็นที่แน่นอนว่าวิเวียนเองก็เป็นหนึ่งใน 6 อันดับของสุดยอดดีไซน์เนอร์เช่นกัน และที่สำคัญเธอยังเป็นดีไซน์เนอร์หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นอีกด้วย


[1990]

วิเวียนได้รับรางวัล British Designer


[1992]

ได้รับ รางวัล OBEสำหรับความกระตือรือร้นในแฟชั่นและนั่นเองทำให้วงการแฟชั่นอยู่กับที่จนดูเหมือนว่าทุกๆอย่างกำลังหมุนไปรอบๆตัว วิเวียน เวสต์วูด


[1998]

เธอได้รับรางวัลจากราชินีอังกฤษสำหรับยอดการส่งออกที่มากที่สุดในรอบปี


[2003]

วิเวียนก็เป็นที่รู้จักในนามของ Disigner of the year อีกทั้งปีนี้ยังเป็นปีทองของเธออีกด้วย เพราะไม่ว่างานชิ้นไหนที่เป็น ของวิเวียน ทุกชิ้นต่างได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม และเป็นดีไซต์ที่น่าจับตามองที่สุด


[2004]

วิเวียนถูกขอให้จัด แสดงผลงานอีกครั้งในโตเกียว ฤดูใบไม้ผลิปี 2004 พิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert ได้ทำการจัดนิทรรศการแสดงงานครั้ง ยิ่งใหญ่ของ Vivienne Westwood แบรนด์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการ แฟชั่นมายาวนานกว่า 30 ปีขึ้น ซึ่งงานแสดง ครั้งนี้เป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่า ที่ทางพิพิธภัณฑ์เคยจัดให้กับดีไซด์เนอร์ชาวอังกฤษซึ่งในงานนั้นได้รวยรวม เอาเสื้อผ้ากว่า 150 ดีไซด์คัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์และตัววิเวียนเองโดยตรง เพื่อออกแสดงสู่สายตาของสาธานณชน

 

 

 


วิเวียนเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่เข้าใจเรื่องแพตเทิร์นในมุมมอง 3 มิติอย่างแท้จริง เช่น การใช้ผ้าสี่เหลี่ยม 2 ผืนวางเหลื่อมเย็บติดกันให้เกิดเหลี่ยมแหลมขึ้น หรือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมวางเฉียงเย็บติดกันเพื่อตัดเป็นชุดเข้ารูป หรือกระเป๋าเสื้อที่โค้งรอบตัวเสื้อจนเกิดมูฟเมนต์ทุกครั้งที่ผู้สวมใส่เคลื่อนไหว เป็นต้น

ด้วยความที่วิเวียนมาจากชนชั้นกลาง เธอจึงรู้สึกว่าไม่อยากสูญเสียผ้าโดยเปล่าประโยชน์ เธอจึงนำเอาผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาตัดเย็บ ทดลองเปลี่ยนฟอร์ม แพตเทิร์น และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เสียผ้าน้อยที่สุด ถ้าสังเกตดีๆ เสื้อผ้าของเธอมักจะใช้ผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเพราะจะทำให้เสียผ้าน้อยที่สุด

เสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นมักถูกวิจารณ์ว่า [ ใส่จริงไม่ได้ ] ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้าง และแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า

 


"เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด"

"แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น"

 


วิเวียนมักกล่าวว่า เธอไม่ได้พยายามสร้างสิ่งที่แตกต่าง แต่สิ่งที่เธอพยายามทำก็คือ [ ทำสิ่งเดียวกันแต่ในวิถีทางที่แตกต่างไป ] โดยสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงทุกชุดของเธอก็คือความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่

 

กว่า 30 ปีในวงการแฟชั่น วิเวียนมีจุดยืนในมุมมองของสังคม จากนักล้มล้าง นักทำลาย และดีไซเนอร์ยอดอัจฉริยะในวันนี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอิมเมจใด เสื้อผ้าของเธอถูกเข้าใจในแง่ของการต่อต้านระบบเสมอมา ซึ่งนี่ทำให้เธอแน่ใจว่า พรมแดงในวงการแฟชั่นของเธอจะอยู่ได้ในฐานะแบบนี้

 

 


"เหตุผลเดียวที่ฉันอยู่ในวงการแฟชั่นก็เพื่อทำลายความยึดมั่นในระบบเดิม"

 

 

 

Vivienne Westwood
Fashion Designer of Fashion Designer

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ..คิดนอกกรอบ...จาก..วงการแฟชั่น
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..