หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

ธรรมะ คือ สภาวะเหนือโลก....
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6401 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(75.00%-12 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ธรรมะ” คือ สภาวะเหนือโลก ที่เป็น “อมตะ” (การดำรงอยู่ตลอดไปของคุณงามความดี) “สุขัง” (การคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงของคุณงามความดี) และ “อัตตา” (การดำรงอยู่ได้เองของคุณงามความดี)
ส่วน “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” นั้นเล็งถึง “กรรม” (ผลที่เป็นไปตามเหตุ) และ “ปฏิจจสมุปบาท” (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่ม “อเทวนิยม” โดยพิจารณาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ต่อไปนี้ คือ ข้อพิสูจน์

1. คำว่า “กรรม” ตรงกับภาษาบาลี คือ “กมฺม” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ก + มฺม
1.1 “ก” (ka) มีความหมายว่า ริเริ่ม, แต่งขึ้น, ปรุงขึ้น, ทำขึ้น, สร้างขึ้น ฯลฯ
1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “Mummy” กับ “Mother” และถูกใช้ในความหมายอื่น เช่น ชอบ, ดี, ถูกต้อง ฯลฯ โดยพระโคตมะพุทธเจ้าได้นำคำว่า “มฺม” ไปสร้างคำใหม่ เรียกว่า “มรรคมีองค์ 8” เช่น
(1) ส+มฺม+ทิฏฐิ = สัมมาทิฏฐิ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความเห็นในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเห็นชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความเห็นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(2) ส+มฺม+สังกัปปะ = สัมมาสังกัปปะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความคิดในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความดำริชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความคิดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(3) ส+มฺม+วาจา = สัมมาวาจา
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการพูดในทางที่ถูกต้อง” หรือ “การพูดชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการพูดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(4) ส+มฺม+กัมมันตะ = สัมมากัมมันตะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการกระทำในทางที่ถูกต้อง” หรือ “กระทำชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการกระทำตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (5) ส+มฺม+อาชีวะ = สัมมาอาชีวะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการเลี้ยงชีพในทางที่ถูกต้อง” หรือ “เลี้ยงชีพชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการเลี้ยงชีพตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(6) ส+มฺม+วายามะ = สัมมาวายามะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความเพียรในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเพียรชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความเพียรตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

(7) ส+มฺม+สติ = สัมมาสติ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการระลึกในทางที่ถูกต้อง” หรือ “การระลึกชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการระลึกตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(8) ส+มฺม+สมาธิ = สัมมาสมาธิ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความตั้งใจมั่นในทางที่ถูกต้อง” หรือ “สมาธิชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความตั้งใจมั่นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “กมฺม” หมายถึง การเกิดผลของผู้สร้าง, ผลที่เป็นไปตามเหตุ, การกระทำตามผู้ให้กำเนิด, การเคลื่อนไหวตามผู้ให้กำเนิด, การยืนยันตามผู้ให้กำเนิด, การรับรองตามผู้ให้กำเนิด ฯลฯ และถูกนำไปใช้ในความหมายอื่น เช่น บาป, โชคร้าย, ความเดือดร้อน โดย “กมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ธรรมะ” (สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ, คุณงามความดี “ดั้งเดิม” ที่ติดตัวมาพร้อมกับมนุษย์เกิด) แต่เน้นที่ “ธรรมชาติ” (สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ-เป็นผล, กรรมดี-กรรมชั่วที่มนุษย์ทำขึ้น “ใหม่” ในโลกนี้) หมายความว่า “กมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “อสังขตะ” (สิ่งที่ไม่มีการปรุงแต่ง ดำรงอยู่ได้เอง เช่น ธรรมะ) แต่มุ่งเน้นที่ “สังขตะ” ( “กรรม” ที่ถูกปรุงแต่งด้วย “ธรรมะ” ฯลฯ) เช่น ถ้าหาก “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “ใน” ธรรมชาติ “สภาวธรรม” นั้นจะถูกเรียกว่า “โลกธรรม” แต่หาก “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “เหนือ” ธรรมชาติ “สภาวธรรม” นั้นก็จะถูกเรียกว่า “โลกุตรธรรม”

2. คำว่า “กรรม” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ “กรฺม” ประกอบด้วย 2 คำ คือ กร + รฺม
2.1 “กร” (dhara) มีความหมายว่า ผู้ริเริ่ม, ผู้แต่งขึ้น, ผู้ปรุงขึ้น, การกระทำ, การเคลื่อนไหว ฯลฯ
2.2 “รฺม” (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “รมฺม” กับ “รมฺย” แปลว่า น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, น่ารัก, น่าสบาย, น่าชม,น่าพึงใจ, น่ายินดี, งาม ฯลฯ
เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเป็น “กรฺม” หมายถึง พฤติกรรมเฉพาะบุคคล, ความบันเทิงใจที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสุขที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสบาย
ที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสำราญที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความงามที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ฯลฯ โดย “กรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “สุธรรม” (ความบริสุทธิ์ ความเป็นหนึ่งของคุณงามความดี) แต่มุ่งเน้นที่ “ทุรกรรม” (การเกิดของกรรม-การดับของกรรม, สายเกิดของทุกข์-สายดับของทุกข์) หมายความว่า “กรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “อัตตา” (การดำรงอยู่ของคุณงามความดีตลอดไป ไม่มีการเสื่อมสูญ) แต่เน้นที่ “อนัตตา” (การปฏิเสธตัวตนที่จิตสร้างขึ้น) เพราะฉะนั้น จึงมีแต่ “พฤติจิต” เท่านั้นที่ “เกิด” และก็มีแต่ “พฤติจิต” เท่านั้นที่ “นิพพาน” (การดับรอบของจิต, อิสรภาพทางจิต) ด้วยเหตุนี้ การเข้าถึง “นิพพาน” จึงไม่ใช่การดับ “จิต"

 



Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ธรรมะ คือ สภาวะเหนือโลก....
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..