หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

ธรรมะ...คืออะไร.....ความเห็นต่อไป...
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6440 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(81.67%-12 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ธรรมะ คือ อะไร?
ปัญหาคือ : มีอาจารย์หลายท่านนำคำว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” มาสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น” หมายความว่า “ธรรมะฝ่ายดีก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายชั่วก็เป็นธรรมะ และธรรมะฝ่ายที่ไม่มีดีไม่มีชั่วก็ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น”

การวิเคราะห์ปัญหา : เมื่อถามว่า “ธรรมะ คือ อะไร?” คนที่ตอบคำถามนี้ส่วนใหญ่มัก “หลงทาง” และ “สับสน” เสียเองใน 4 ประเด็น คือ
(1) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” เพราะ ดำรงอยู่ได้เอง แต่ผู้ตอบกลับพยายามชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ที่มีอยู่ในโลกนี้ซึ่ง อาศัยสิ่งอื่นดำรงอยู่ (กฎของปฏิจจสมุปบาท) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น
(2) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” จึงดำรงอยู่ได้ตลอดไป แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ที่ผันแปรเปลี่ยนรูปซึ่งดำรงอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น (กฎของวัฏสงสาร) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น
(3) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “ไม่มีใครในโลกรู้จัก” จึงไม่สามารถหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญา แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ซึ่งมนุษย์สามารถหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญา (กฎของไตรลักษณ์) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น
(4) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” คือ สภาวะของความเป็นเหตุ ที่เรียกว่า “เราเป็นซึ่งเราเป็น” แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า สภาวะของเหตุและผล ที่เรียกว่า “ความเป็นเช่นนั้นเอง” (กฏของอิทัปปัจจยตา) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น
ความผิดพลาดเกิดจากผู้ตอบนำเอา “คำตอบ” ในมิติหนึ่ง (อเทวนิยม) มาตอบในอีกมิติหนึ่ง (เทวนิยม) โดยไม่ได้พิจารณา “มิติ” หรือ “บริบท” เพราะฉะนั้น “คำตอบ” นั้นจึงสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน และถึงขั้นทำลายล้าง “รากฐาน” ของศาสนานั้น ๆ เลยทีเดียว เพราะความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” เป็น “เทวนิยม” แต่ความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” นั้นเป็น “อเทวนิยม” จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ นั่นเอง
ต่อไปนี้ จะวิเคราะห์ความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” (เทวนิยม) จากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งทั้ง 2 ภาษานั้นต่างก็ล้วนมาจาก “ภาษาพระเวท” ทั้งสิ้น
1. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาบาลี คือ “ธมฺม” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ธ + มฺม
1.1 “ธ” (dha) มีความหมายว่า ทรงไว้, ดำรงอยู่ เป็นคำที่บรรยายลักษณะของความสง่างาม น่านับถือ น่าเกรงขาม และความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า แต่ถ้าใช้กับมนุษย์จะใช้แทนชื่อบุคคลชั้นสูง เช่น พระเจ้าแผ่นดิน , เจ้านาย มีความหมายว่า ท่าน, เธอ
1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “Mummy” กับ “Mother” และถูกใช้ในความหมายอื่น เช่น ชอบ, ดี, ถูกต้อง ฯลฯ
เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธมฺม” หมายถึง ความเป็นเหตุของผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ โดย “ธมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ประชาธรรม” (หน้าที่ของประชาชน) แต่มุ่งเน้นที่ “ราชธรรม” (หน้าที่ของพระราชา) หมายความว่า “ธมฺม” นั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ “มนุษยธรรม” (คุณงามความดีของมนุษย์) แต่มุ่งเน้นไปที่ “อมตธรรม” (คุณงามความดีของผู้ทรงดำรงอยู่)

2. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ “ธรฺม” ประกอบด้วย 2 คำ คือ ธร + รฺม
2.1 “ธร” (dhara) แปลว่า ผู้ทรงไว้, ผู้ทรงดำรงอยู่, ผู้สร้าง ฯลฯ
2.2 “รฺม” (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “รมฺม” กับ “รมฺย” แปลว่า น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, น่ารัก, น่าสบาย, น่าชม,น่าพึงใจ, น่ายินดี, งาม ฯลฯ
เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธรฺม” หมายถึง พฤติธรรมของผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ โดย “ธรฺม” ไม่ได้เน้นที่ “ทุ” (สอง, ชั่ว, ยาก, มลทิน, มืด, ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่เน้นที่ “สุ” (แท้, ดี, งาม, ง่าย, สะอาด, สว่าง, สงบ) หมายความว่า “ธรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ทุกข์” (ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่เน้นที่ “สุข” (คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง) ในโลกนี้จึงมีแต่ “ทุกข์” เท่านั้นที่เกิดขึ้นและมีแต่ “ทุกข์” เท่านั้นที่ดับไป ดังนั้นจึงมีแต่ “สุข” เท่านั้นที่ดำรงอยู่เป็นอมตสุข
สรุป “ธรรมะ” (ดั้งเดิม) คือ พฤติธรรม หรือ สภาวธรรม ของ “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่ง “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” จึง “ไม่มีใครรู้จัก” และไม่อาจหาคำพูดใดๆ มาพรรณนาคุณลักษณะที่สัมบูรณ์นั้นได้ แต่หากจำเป็นต้องพรรณนาก็ไม่ควรใช้คำว่า “อนิจจัง-ทุขัง-อนัตตา” แต่ควรใช้คำว่า “อมตะ-สุขัง-อัตตา” เพราะ “ธรรมะ” ไม่ใช่ภาวะของโลก ที่เป็น “อนิจจัง” (การดำรงอยู่ชั่วคราวของกรรมดี-กรรมชั่ว) “ทุขัง” (การทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของกรรมดี-กรรมชั่ว) และ “อนัตตา” (การไม่ใช่ตัวตนของกรรมดี-กรรมชั่ว)

 


Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ธรรมะ...คืออะไร.....ความเห็นต่อไป...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..