หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

คุณเคยรู้จัก..ผะหมี..หรือไม่?
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6511 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(55.00%-8 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ผะหมี คือ อะไร ผะหมี เป็นคำภาษาจีน พระเจนจีนอักษร อธิบายว่า

ผะแปลว่า ตี หมี แปลว่า อำพราง ดังนั้น ผะหมี ก็คือการแก้ปัญหา หรือการ
ตีอำพรางให้ชัดแจ้ง จากหนังสือ ปริศนาผะหมี ของ คุณสว่าง ขวัญบุญ
และ สงวน สมกาย ผะ หรือ พะ เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่าตีหรือทำให้แตก
ส่วนคำว่าหมี ภาษาแต้จิ๋วใช้คำว่า มี้ แปลว่า ความมืด ดังนั้นคำว่า ผะหมี
จึงแปลว่า ตีความมืดให้หาย หรือแตกกระจายไป หรือ การทำให้ปริศนา
ความสงสัยนั้นหมดสิ้นไปนั่นเอง ผะหมี นิยมเล่น ในหมู่นักปราชญ์ ราช
บัณฑิตและกวีของจีนมานานแล้วถือเป็นการประลองปัญญาและฝึกสมอง
การเล่น ชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เต็งหมี คำว่า เต็ง แปลว่า สว่างหรือ
โคม เต็งหมี จึง หมายถึง แสงสว่างหรือโคม ที่ส่องให้เห็นคำที่อำพราง
ไว้ นั่นเอง ต่อมา มีผู้นำเอา ฉันทลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาษาไทย... เช่น
โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ฯลฯ มาแต่ง หรือประพันธ์ ทำเป็นตัวปัญหาให้
ขบคิดกัน

ประวัติการเล่นผะหมีผะหมีจะเกิดขึ้น เมื่อใด พ.ศ.ใดไม่มีใครทราบ
แน่นอน .สันนิษฐานว่าคงเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว หรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จาก
หนังสือ วชิรญาณ ที่ หอสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ เคยนำปัญหาดังกล่าว
มาลงพิมพ์ไว้เมื่อ พ.ศ. 2429 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ..แต่ยังไม่พบว่าลง
พิมพ์ในฉบับใดเป็นเล่มแรก

ขุนตำรวจเอกพระมหาเทพกษัตรสมุท (เนื่อง สาคริก) ได้เขียน เล่าไว้ใน
สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เมื่องานฤดูหนาว
ปี พ.ศ. 2462 ได้จัดงานออกร้านมากมาย และมีร้าน ...ผะหมีของหลวง
สองข้างมีกระดานชนวน เขียน ผะหมี .
เรียงรายไว้เกือบเต็มทั้งสองข้าง
เมื่อจะทายปัญหาข้อใดก็ปลดกระดานชนวนมานั่งคิด เมื่อคิดไม่ออกก็จะ
นำมาแขวนไว้ที่เดิม
การเล่นผะหมี คงจะได้รับความนิยมเล่น กันมากในสมัยรัชกาลที่ 6 และ
แพร่หลายออกไป ยังจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ ฯลฯ (ที่จังหวัดชลบุรี
ไม่เรียกว่า ผะหมี แต่เรียกว่า โจ๊ก) จาก หนังสือ ผะหมี ของ
สนองชาติ
เศรษฐศิโรตม์ ได้เล่าถึง ประวัติของการเล่นผะหมี ไว้ว่า
นายจิตติ
เตชะวณิชย์ อายุประมาณ 70 ปีบ้านอยู่ตลาดบางบ่อ อำเภอบางบ่อ
จังหวัดสมุทรปราการ เล่าว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2478 ได้เห็นการเล่น
ผะหมีที่สำเพ็ง กรุงเทพฯ คนจีนผู้มีความรู้ ได้นำเอาคำประพันธ์ของจีน
มาทำเป็นตัวปัญหาให้ทายกัน คนไทยเห็นวิธีการเล่น ก็นำมาดัดแปลง
โดยนำเอาฉันทลักษณ์ที่มีอยู่ในภาษาไทย มาแต่งให้เป็นตัวปัญหา แล้ว
กำหนด วิธีการทายเสียใหม่ ให้ผิดไปจาก เดิม จนเป็นลักษณะเฉพาะ
เมื่อพูดถึงผะหมีในปัจจุบัน ก็จะนึกถึง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ของไทย
เท่านั้น คุณบุญรอด ปาริปุณณัง เขียนเล่าไว้ในหนังสือ ไทย-ไทย ฉบับที่
494 - 496 ปีที่ 9 ประจำวันที่ 5 - 10 - 15 กรกฎาคม 2504 ว่า ผู้
ที่นำ ปริศนาผะหมี ไปเล่นที่จังหวัดชลบุรี คือ
. พระครูวุฒิกรโกศล (ฮง)
วัดกำแพง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และ นายสรอย จันถิระ อดีตเทศ
มนตรี
เทศบาลเมืองชลบุรี ในงานฌาปนกิจศพของพ่อหมอสุข ที่วัด
กำแพง แต่จะเป็นพ.ศ.ใด ไม่ได้แจ้งไว้
ในจังหวัดชลบุรี ที่อำเภอพานทอง อำเภอบ้านบึง อำเภอพนัสนิคม ต่างก็
เรียกกันว่าโจ๊กด้วยกันทั้งนั้นเรื่องนี้สันนิษฐานว่า ท่านพระครูวุฒิกรโกศล
คงพิจารณาเห็นว่า น่าจะนำเอาภาษาไทยมาใช้มากกว่า......... เพราะ โจ๊ก
มีความหมายว่าตลกขบขัน หรือบอกลักษณะ ของเหลวของน้ำ อนึ่ง พระ
พิมลธรรม วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี (พระธรรมโกศาจารย์ ราชบัณฑิต ได้
รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530).. ยืนยันว่า
ท่านเคยพบปริศนาผะหมี หรือ โจ๊กมาแล้ว เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 14
ขวบ ที่งานจังหวัดสมุทรปราการ ในเดือนพฤศจิกายน ( พ.ศ. 2458)
ดังนั้นจะต้องมีโจ๊ก หรือปริศนาผะหมีที่จังหวัดชลบุรีแล้ว และคงจะก่อน
บันทึกของขุนตำรวจเอกพระมหาเทพกษัตรสมุทอีกด้วย .จึงยืนยันได้ว่า
ผะหมี คงจะนำมาเล่นตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 อย่างแน่นอน
ต่อมาได้มีการนำผะหมีแบบไทย ๆ ไปเล่นในสถานที่ต่าง ๆ เช่นที่ จังหวัด
ชลบุรี (ที่อำเภอพนัสนิคมนิยมเล่นกันมากจนกระทั่งมีการตั้งชมรมโจ๊กขึ้น)
ราชบุรี และ สมุทรปราการ แต่ที่นิยมเล่นกันมากที่สุด ได้แก่ ที่ เขตอำเภอ
บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ การเล่นผะหมีหรือโจ๊กจะเล่นกันตามสถานที่
ต่าง ๆ ที่จัดงานแล้วมีคนมามาก ๆ เช่น งานบวช งานศพ งานฝังลูกนิมิตร
งานประจำปี งานที่นิยมเล่นกันมาก ได้แก่ งานนมัสการหลวงพ่อปาน งาน
ลอยกระทง เป็นต้น
โดยมากแล้วการเล่น ผะหมี จะเริ่มเล่นกันตั้งแต่หัวค่ำ ประมาณสองทุ่มไป
จนถึงเที่ยงคืนหรือเกินกว่านั้น คือจะเล่นกันจนรางวัลหมดหรือ ผะหมี หมด
ราวเลยทีเดียว โรงผะหมี คือสถานที่ ที่ใช้สำหรับเล่นผะหมี ส่วนมากจะใช้
เต๊นท์ผ้าใบ ด้านล่างเปิดโล่ง บางทีก็เล่นกันกลางแจ้งเลย แต่ที่ขาดไม่ได้เลย
คือ เสา และราวไว้สำหรับแขวน ผะหมี โดยจะขึงตามแนวยาวไว้ ประมาณ
4 - 5 แถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 ฟุต ครึ่ง ..พอที่จะไม่ให้
กระดาษที่เขียนผะหมีทับกันจากนั้นจะแขวนแผ่นผะหมีไว้อย่างเป็น
ระเบียบ นอกจากนี้ยังมีเก้าอี้วางเรียงเอาไว้สำหรับให้ผู้ทายปัญหานั่ง
ขบคิดด้วย
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ประกอบในการเล่นผะหมี ได้แก่ ไมโครโฟน กลอง กริ่ง
เครื่องขยายเสียง ลำโพง นกหวีด และ ของรางวัลต่าง ๆ. เช่น สบู่ ยาสีฟัน
กระดาษทิชชู นมกล่อง ปลากระป๋อง น้ำปลาเป็นต้น ผู้คิดทำตัวปัญหาเรียก
กันว่า นายโรง หรือ นายโจ๊ก ในการเล่นคราวหนึ่ง ๆ นายโรง จะต้องคิดทำ
ปัญหาไว้จำนวนมาก เพื่อให้พอกับการเล่นทั้งคืน เสร็จแล้วเขียนปัญหา ลง
กระดาษสีต่าง ๆ ติด หรือ แขวนไว้ตัวอักษรที่เขียนนั้นจะต้องมีขนาดโตพอ
ที่จะมองเห็นได้อ่านได้ ในระยะ 5-6 เมตร เราเรียกแผ่นกระดาษนี้ว่า แผ่น
ผะหมี หรือแผ่นโจ๊ก เมื่อมีผู้ทายปัญหาแผ่นใดได้ก็ ปลดแผ่นนั้นออกแล้วนำ
ปัญหาใหม่มาติดแทนใครจะทายแผ่นใดแล้วแต่สมัครใจ
เมื่อนายโรงเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้วก็จะกรดกริ่ง หรือเป่านกหวีด
ยาว ๆ 3 ครั้งเป็นสัญญาณว่าการทายผะหมีได้เริ่มขึ้นแล้ว. เมื่อมีคนใดคน
หนึ่งต้องการทายปัญหาก็ยกมือขึ้น เมื่อนายโรงมองเห็นจะยื่นไมโครโฟน
มาให้ผู้ทายถือไว้

จากนั้นผู้ทายจะเริ่มกระบวนการ ทุบโจ๊ก หรือ ทุบผะหมี ซึ่งหมายถึงการ
ทายผะหมี นั่นเอง
ขั้นตอนหรือวิธีการทายผะหมี มีดังนี้
1. ผู้ทายขานชื่อ หัวผะหมี หรือ หัวโจ๊กที่จะทาย เช่น ผะหมีที่ 1
2. นายโรงหรือ ผู้ช่วยจะเปิดดูโพย ผะหมีข้อนั้น ๆ เมื่อพร้อมแล้วจะเป่า
นกหวีดยาว 1 ครั้งหรือตีกลองทัด 1 ครั้ง เป็นสัญญาณว่าให้ทายได้
3. ถ้าเป็นผะหมีคำประพันธ์ที่ต้องการคำตอบทีละบรรทัด ผู้ทายจะต้อง
อ่านคำประพันธ์นั้นจนจบ 1 บรรทัดแล้วตอบคำถามครั้งหนึ่งทำเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ จนจบคำประพันธ์นั้น ถ้าเป็นคำประพันธ์ที่ต้องการคำตอบ เพียง
คำตอบเดียว ก็อ่านคำประพันธ์จนจบทุกบทเสียก่อนแล้วจึงค่อยตอบ
คำถาม ถ้าเป็นผะหมีภาพก็ตอบได้เลย
4. นายโรงจะพิจารณาว่าผู้ทาย ทายถูกหรือไม่
4.1 ถ้าทายถูกนายโรงจะกดกริ่งยาว 1 ครั้ง แล้วมอบรางวัลให้ จะเป็น
รางวัลอะไร ก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของปัญหาผะหมีข้อนั้น ๆ
4.2 ถ้าใกล้เคียงจะรัวกลองเบา ๆ หรือใช้ไม้เคาะขอบกลองเบา ๆ
4.3 ถ้าทายผิดจะตีกลองดัง ๆ เท่ากับจำนวนข้อที่ผิดนั้น หรือตีกลอง
ตะลุ่งตุ้ง คนทายปัญหาที่อยู่หน้าโรงทั้งหมดจะช่วยกันร้อง เฮิ้ว ทำดังนี้
ประมาณ 3 ครั้ง ดังนั้น จึงฟังเป็นเสียง ตะลุ่งตุ้งเฮิ้ว ตะลุ่ง ตุ้งเฮิ้ว ตะลุ่ง
ตุ้งเฮิ้ว
เสน่ห์ของการเล่นผะหมีไม่ได้อยู่ที่รางวัล แต่อยู่ที่การได้ใช้ภูมิความรู้ของ
ตนในการขบคิดปริศนาทำให้เกิดการท้าทาย เกิดความคิดที่จะเอาชนะและ
มีความภาคภูมิใจเมื่อสามารถตอบปัญหานั้นได้ ดังนั้น ผู้ทายปัญหาผะหมี
จึงนิยมเล่นผะหมีได้ตลอดคืนโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเลย ...บางครั้งเมื่อไม่มี
ผู้ใดทุบผะหมีที่เหลืออยู่บนราวได้เล้วนายโรงจะนำแบงค์สิบหรือแบงค์
ยี่สิบไปติดไว้บนแผ่นผะหมี หากใครทายผะหมีข้อนั้นถูกก็จะได้รับเงิน
รางวัลนั้นไปทันที ทำให้การทายผะหมีมีรสชาติมากยิ่งขึ้น บางครั้ง
นายโรงเห็นว่าผู้เล่นนั่งเล่นผะหมีมานานแล้วอาจจะหิวก็จะนำข้าวต้ม
หรือถั่วเขียวต้มน้ำตาลมาเสิร์ฟ เป็นการเพิ่มพลัง สามารถยืนหยัดใช้
สมองขบคิดปัญหาต่อไปได้...
 

....โอกาสต่อไปจะนำตัวอย่างปัญหาผะหมี..มาให้ทายกันนะคะ

                         ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.sci.ubru.ac.th

 

 

ที่มีความรู้ คิดผูกปริศนาเป็นคำประพันธ์อย่าสงจีนนำมาทายลองปัญญากัน ชาวจีนที่อพยพมาทำมาหากินในประเทศไทย เช่นย่านสำเพ็ง ก็ได้นำการเล่นผะหมีนี้มาออกโรงเล่นกัน คนไทยที่ได้ไปร่วมดูการเล่น เห็นวิธีการจึงนำมาดัดแปลง โดยตัวปริศนาแต่งด้วยบทร้อยกรองของไทยชนิดต่างๆ ส่วนวิธีการเล่นยังคงเอาแบบอย่างการเล่นผะหมีของคนจีน คือเขียนปริศนาลงแผ่น และออกโรงเล่นอย่างจีน การเล่นผะหมีที่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับคนไทยนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จนเมื่อพูดถึงผะหมี แล้วจะนึกถึงตัวปริศนาที่แต่งเป็นกาพย์ กลอน โครง ร่าย แบบไทยๆ ไม่ได้นึกถึงลักษณะคำประพันธ์ของจีนเลย การเล่นผะหมี นิยมแพร่หลายไปไนหมู่ของคนไทยตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น จังหวัดชลบุรี ซึ่งเรียกว่า ทายโจ๊ก จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรปราการเป็นต้น โดยเฉพาะ ชาวอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ นิยมเล่นกันมาก งานประจำปีนมัสการพระสมุทรเจดีย์ ก็มีการเล่นผะหมีด้วย ส่วนโจ๊กของจังหวัดชลบุรีทราบว่า มหาวิทยาลันบูรพา ได้ศึกษาและสืบสานให้คงอยู่ และส่งเสริมให้แพร่หลายต่อไปด้วย


   จากที่กล่าวมาแล้วว่าการเล่นผะหมีนี้เป็นของชาวจีนที่นิยมเล่นกันมาก่อน โดยผู้ที่มีความรู้ คิดผูกปริศนาเป็นคำประพันธ์อย่าสงจีนนำมาทายลองปัญญากัน ชาวจีนที่อพยพมาทำมาหากินในประเทศไทย เช่นย่านสำเพ็ง ก็ได้นำการเล่นผะหมีนี้มาออกโรงเล่นกัน คนไทยที่ได้ไปร่วมดูการเล่น เห็นวิธีการจึงนำมาดัดแปลง โดยตัวปริศนาแต่งด้วยบทร้อยกรองของไทยชนิดต่างๆ ส่วนวิธีการเล่นยังคงเอาแบบอย่างการเล่นผะหมีของคนจีน คือเขียนปริศนาลงแผ่น และออกโรงเล่นอย่างจีน การเล่นผะหมีที่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับคนไทยนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จนเมื่อพูดถึงผะหมี แล้วจะนึกถึงตัวปริศนาที่แต่งเป็นกาพย์ กลอน โครง ร่าย แบบไทยๆ ไม่ได้นึกถึงลักษณะคำประพันธ์ของจีนเลย การเล่นผะหมี นิยมแพร่หลายไปไนหมู่ของคนไทยตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น จังหวัดชลบุรี ซึ่งเรียกว่า ทายโจ๊ก จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรปราการเป็นต้น โดยเฉพาะ ชาวอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ นิยมเล่นกันมาก งานประจำปีนมัสการพระสมุทรเจดีย์ ก็มีการเล่นผะหมีด้วย ส่วนโจ๊กของจังหวัดชลบุรีทราบว่า มหาวิทยาลันบูรพา ได้ศึกษาและสืบสานให้คงอยู่ และส่งเสริมให้แพร่หลายต่อไปด้วย

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง คุณเคยรู้จัก..ผะหมี..หรือไม่?
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..