หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

ความหมายของ"เพลงเพื่อชีวิต"
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(83.40%-47 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ตำนานเพลงเพื่อชีวิต

 

ตำนานเพลงเพื่อชีวิต เสรีภาพจากบทเพลง

                ในวันที่ท้องฟ้ามัวหมอง แผ่นดินลุกร้อนเป็นไฟ ประชาชนคนไทยแร้นแค้นทุกข์ยาก หนุ่มสาวเดือนตุลาครั้งอดีต รวมพลังแข็งขันด้วยความหวังอันแรงกล้า ดุจดั่งกำแพงหินอันยิ่งใหญ่ ร่วมต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย คืนอำนาจการปกครองสู่ประชาชน ณ บัดนี้ ผ่านมาแล้วหลายสิบปีที่ชอกช้ำ เก็บเรื่องราวในคืนวันอันขมขื่น ถ่ายทอดไว้เป็นความความทรงจำอันเจ็บปวดผ่านบทเพลงเพื่อชีวิต
               
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม
               
ผู้บุกเบิกแนวเพลงชีวิตเป็นคนแรกนี้ นั่นก็คือ อาจารย์ แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า คนปาดตาลในอดีต คนปาดตาลเป็นอาชีพหนึ่งที่ทุกข์ยาก มีหน้าที่ปีนต้นตาลขึ้นไปปาดเอาน้ำตาลลงมาแล้วมาทำน้ำตาล และอีกหลายๆบทเพลง ที่ไม่สามารถฟังได้ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกเสียงใดๆ หรือจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่าเราจะฟังเพลงของอาจารย์แสงนภาได้จากผู้อาวุโสอายุ 60 ปีขึ้นไป บางท่านที่ยังพอจดจำเพลงชีวิตของนักเพลงผู้นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับบทเพลงที่มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างนี้ ที่ปราศจากการเหลียวแลของคนยุคนั้น
               
ในช่วงทศวรรษ 2490 ความตื่นตัวของวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบและเนื้อ หาเพลงชีวิต พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มวลชนมีการรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม จิตร ภูมิศักดิ์ ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิตภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
               
ท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือเพลงเพื่อชีวิต กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

                เมื่อเอ่ยถึง เพลงเพื่อชีวิต เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์บ้านเมืองสมัย 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 เป็นช่วงที่บทเพลงเพื่อชีวิตทำหน้าที่ของมันจนถึงขีดสุด กระทั่งสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ทางการเมืองในยุคสมัยนั้น

สู้เข้าไปอย่าได้ถอย
มวลชนคอยเอาใจช่วยอยู่
รวมพลังทำลายเหล่าศัตรู
พวกเราสู้เพื่อความยุติธรรม
เราเดินเคียงบ่าเคียงไหล่
สู้ต่อไปด้วยใจมุ่งมั่น
เขาจะฟาดเขาจะฟัน
เราไม่พรั่นพวกเราสู้ตาย
สู้เข้าไปอย่าได้หนี
เพื่อเสรีภาพอันยิ่งใหญ่
รวมพลังผองเราเหล่าชาวไทย
สู้เข้าไปพวกเราเสรีชน

                บทเพลงข้างต้นเป็นบทเพลงที่มีชื่อว่าสู้ไม่ถอย เป็นบทเพลงแรกของแนวเพลงเพื่อชีวิต แต่งขึ้นจากเหตุการณ์เรียกร้องให้รับนักศึกษา 9 คนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับเข้าเรียนหนังสือต่อ เพราะว่ามีคำสั่งของอธิการบดีปลดนักศึกษา 9 คนออกจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากนักศึกษา 9 คนนี้ ไปเอาเรื่องราวของรัฐบาล โดยให้คำจำกัดความว่าเป็น รัฐบาลสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ตีแผ่ลงหนังสือของรามคำแหงในขณะนั้นแล้วตีพิมพ์ออกมา สืบเนื่องมาด้วยว่า อยู่ๆมาวันหนึ่งมีเฮลิคอปเตอร์ตกในทุ่งใหญ่นเรศวร แล้วพบว่าในซากของเครื่องที่ตกนั้น มีซากสัตว์เต็มไปหมดเลย รัฐบาลในขณะนั้นมีการล่าสัตว์ มีการทำร้ายทารุณสัตว์ป่ามากมายเหลือเกิน เป็นเรื่องหน้าเศร้าใจยิ่งนักของคนยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน
               
เป็นผลให้สื่อมวลชนและนักศึกษาร่วมมือกันตีแผ่เปิดโปงการกระทำผิดกฎหมายของฝ่ายราชการ และได้รับความสนใจจากประชาชน ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างหนัก นักศึกษาทั้ง 9 คนนี้ ในฐานะคนทำหนังสือก็ตีแผ่ เลยโดนอาจารย์ ดอกเตอร์ ศักดิ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น ปลดออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาและประชา ชนจำนวนมากเห็นว่าไม่ยุติธรรม จึงรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ที่มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืน ทั้งยังมีการแต่งเพลง สู้ไม่ถอยโดย .เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อีกด้วย หลังจากทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงรับตัวนักศึกษาทั้ง 9 คนแล้ว ขบวนประท้วงก็เลยแปรขบวนไปเป็นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อไป
               
สุรชัย จันทิมาธรหรือที่รู้จักกันในนามหงา คาราวาน ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ก็ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง และคอยแต่งบทกลอนต่างๆส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชา ชนฟัง เพื่อปลุกเร้าขวัญกำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และยังได้แต่งเพลงสานแสงทอง มีเนื้อร้องอยู่ว่า

ขอผองเราจงมาร่วมกัน ผูกสัมพันธ์ยิ่งใหญ่
สานแสงทองของความเป็นไทย ด้วยหัวใจบริสุทธิ์

                บทเพลง สู้ไม่ถอย และ สานแสงทองเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ในส่วนของบทเพลงสู้ไม่ถอยนั้นเป็นเพลงมาร์ชปลุกใจที่ใช้ในการรวมพลังประท้วง ส่วนเพลงสานแสงทองเกิดจากความคำนึงถึงเสรีภาพของประชาชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สองบทเพลงนี้ก็คือจุดกำเนิดของบทเพลงเพื่อชีวิตนั่นเอง

               
หลังจากนั้นไม่นาน มีนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันโดยเรียกตัวเองว่ากลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้มีการแจกใบปลิวและหนังสือเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน จนในที่สุด พวกเขาก็ถูกจับกุมตัวในข้อหาว่าเป็นกบฏและมีพฤติกรรมเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมมือผนึกกำลังกันเคลื่อนไหว โดยใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นศูนย์กลางการชุมนุม และได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกฝ่ายซึ่งเล็งเห็นว่ารัฐบาลทำเกินกว่าเหตุ ในที่สุด ศูนย์กลางนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ได้ยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดภายในเที่ยงวันที่ 13 ตุลาคม 2516 แต่ก็ได้รับคำตอบปฏิเสธจากรัฐบาล ต่อจากนั้นเอง คลื่นนักศึกษาประชาชนนับแสนๆ จึงเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มุ่งตรงไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและลานพระบรมรูปทรงม้า
               
ที่สุดแล้วในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจทหารกับ ประชาชน มีการยิงก๊าซน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมประท้วงจากเจ้าหน้าที่ สถานการณ์เริ่มลุกลามขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ชีวิตเลือดเนื้อของผู้คนจำนวนมากต้องถูกเข่นฆ่า สถานที่ราชการหลายแห่งถูกประชาชนเผาทำลาย เป็นความเสียหายร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ด้วยเหตุที่ว่าคนไทยเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันเอง
               
ในสมัยนั้น วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่คนรุ่นนั้นเป็นอย่างมาก ก็คือวงดนตรีคาราวานถือได้ว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีต วงดนตรีคาราวานเป็นจุดเริ่มต้นการขยายตัวของดนตรีเพื่อชีวิต ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงมากมาย โดยการเข้าร่วมกับขบวนการนักศึกษา ความโด่งดัง และความสามารถในเชิงดนตรีของพวกเขาส่งผลให้บทเพลงเพื่อชีวิตสามารถเปิดการแสดงร่วมกับวงดนตรีในเชิงธุรกิจได้ ผลงานชุดแรกของวงคาราวานมีชื่อว่าคนกับควาย ซึ่งปัจจุบันนี้หาฟังต้นฉบับจริงๆที่บันทึกเสียงไว้ในยุคนั้นได้ยากมาก มีเนื้อหาสาระสะท้อนความทุกข์ยากของชาวนา และชุดที่สองในชื่ออเมริกันอันตรายเป็นบทเพลงที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา
               
เพลงเพื่อชีวิตได้รับความนิยมสูงสุดในแวดวงนิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ในปี ..2517-2519 วงดนตรีเพื่อชีวิตหลายวงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ มีเพลงเพื่อชีวิตมากกว่า

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ความหมายของ"เพลงเพื่อชีวิต"
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..