หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นิตยา ฉัตรเมืองปัก
จากจังหวัด กรุงเทพฯ

การจัดนิทรรศการหนังสือ
โพสต์เมื่อวันที่ : 15 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6491 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(58.33%-12 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการหนังสือ

.....

 

การจัดนิทรรศการหนังสือ

ความหมายของการจัดนิทรรศการหนังสือ

            ความหมายของนิทรรศการหนังสือ มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

รสา วงศ์ยังอยู่ (2546.: 271) นิทรรศการหนังสือ คือ การจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีข้อมูล และใช้สื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ หนังสือ หุ่น เป็นต้น เป็นการสรุปความรู้อย่างย่อ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การหาความรู้จากหนังสือให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในภายหลัง เป็นการจัดนิทรรศการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร้าใจให้ผู้ชม และผู้ฟังได้รู้จักหนังสือ สนใจและใคร่อ่านหนังสือต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น การจัดนิทรรศการหนังสือเป็นการจัดแสดงหนังสือเป็นสำคัญอาจมีรูปภาพ สิ่งของ ประกอบ เพื่อดึงดูดความสนใจในหนังสือ

สุพรรณี วราทร (2550.: 66) นิทรรศการหนังสือ คือ การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหนังสือเรื่องหนึ่งหรือหนังสือกลุ่มหนึ่งซึ่งมีลักษณะร่วมกัน เช่น ในด้านประเภท แนวคิด ตัวละคร ฉาก หรือลักษณะพิเศษ เช่น วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับรางวัล โดยการจัดแสดงซึ่งมีการใช้สื่อหลายชนิด เช่น ข้อเขียน รูปภาพ สิ่งของ และหนังสือ เป็นต้น ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหนังสือในนิทรรศการจะกระตุ้นความสนใจและนำไปสู่การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จัดนิทรรศการมากยิ่งขึ้นโดยการอ่านหนังสือ

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (2542.: 275) นิทรรศการหนังสือ คือ การแสดงหนังสือและวัสดุ            ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่จัดแสดง ตลอดจนกระตุ้นให้สนใจอยากอ่านหนังสือที่นำมาจัดนิทรรศการ

            สมจิต พรหมเทพ (2542.: 137) ห้องสมุดนิยมจัดนิทรรศการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการเกิดความสนใจในหนังสือ และการอ่านเป็นการดึงผู้ใช้บริการให้เข้าหาหนังสือ และเข้าใช้บริการต่าง ๆ และเข้าร่วมกิจกรรมของห้องสมุด ซึ่งผู้จัดนิทรรศการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะของการจัดนิทรรศการ และพยายามโยงเรื่องของนิทรรศการด้วยสี ภาพ ตัวอักษร วัสดุอุปกรณ์ เข้าสู่หนังสือและเรื่องราวของหนังสือ ตลอดจนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวทั่ว ๆ ไป และสอดคล้องกับกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียน

            การจัดนิทรรศการหนังสือ เป็นการจัดนิทรรศการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร้าใจให้ผู้ชม และผู้ฟังได้รู้จักหนังสือ สนใจและใคร่อ่านหนังสือต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น (ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. 2542. 117)

การจัดนิทรรศการหนังสือก็เช่นเดียวกับการจัดนิทรรศการโดยทั่วๆ ไป มีการใช้สื่อหลายประเภทเช่น รูปภาพ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่น หนังสือ ฯลฯ มาแสดงและมีกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ เช่น การสนทนา การอภิปราย การโต้วาที การสาธิต การแสดงละคร การเล่าเรื่องหนังสือ เกมและการแข่งขันต่าง ๆ การทายปัญหา ฯลฯ ตัวอย่าง นิทรรศการหนังสือ เช่น “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ” เป็นนิทรรศการหนังสือระดับชาติ ไม่จำกัดขอบเขตของผู้เข้าชม สำหรับหน่วยงานที่ควรจัดนิทรรศการหนังสือ ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดประชาชน และหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งลักษณะและขอบเขตของนิทรรศการหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีความแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของการจัดและความพร้อมขององค์ประกอบในการจัดนิทรรศการ อันได้แก่งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ (ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. 2542. 117)

            สรุป การจัดนิทรรศการหนังสือดังกล่าว พอจะประมวลได้ว่า การจัดนิทรรศการหนังสือหมายถึง การจัดแสดงให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหนังสือกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะร่วมกัน เช่น ในด้านประเภท แนวคิดของเรื่องหรือบุคคล ตัวละคร ฉาก สถานที่ ผลงานของบุคคล หรือหนังสือที่ได้รับรางวัล    ต่าง ๆ โดยการจัดแสดงซึ่งมีการใช้สื่อหลากหลายชนิด เช่น ข้อเขียน รูปภาพ หนังสือ หุ่นจำลอง ของจริง ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหนังสือ เป็นต้น เป็นการจัดนิทรรศการเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเกิดความสนใจในหนังสือ  ได้รู้จักหนังสือ กระตุ้นความสนใจในการเข้าสู่หนังสือและเรื่องราวของหนังสือ และใคร่อยากอ่านหนังสือต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การแสวงหาความรู้มากยิ่งขึ้นโดยการอ่านหนังสือ อันจะเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องให้เกิดกับผู้ชมต่อไป นอกจากนี้การอ่านหนังสือเป็นการดึงผู้ใช้บริการให้เข้าใช้บริการต่าง ๆ และร่วมกิจกรรมของห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

จุดมุ่งหมายของการจัดนิทรรศการหนังสือ

            จุดมุ่งหมายของการจัดนิทรรศการหนังสือ มีดังนี้

1.      เพื่อเป็นการเร้าใจให้ผู้เข้าใช้ห้องสมุดสนใจหนังสือที่แนะนำ รู้จักหนังสือต่าง ๆ มากขึ้น และเกิดแรงจูงใจที่จะทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น

2.      เพื่อเพิ่มพูนความรู้แขนงต่าง ๆ ในด้าน ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ฯลฯ ที่ปรากฏในหนังสือและสื่อที่นำมาจัดแสดง

3.      เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านหนังสือแก่ผู้ชม

4.      เพื่อแนะนำหนังสือใหม่ของห้องสมุดให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบ

สถานที่จัด

สถานที่จัด อาจใช้สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่เหมาะสมภายในบริเวณห้องสมุด ที่ที่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของการจัด  และตกแต่งให้สะดุดตาน่าสนใจ

การจัดอย่างง่าย สามารถทำได้โดย

1. แสดงหนังสือเพียงเล่มเดียว ใช้ที่ตั้งแสดงหนังสือ หรือโปสเตอร์บอกรายการบรรณานุกรมของหนังสือ พร้อมทั้งบรรณนิทัศน์สังเขป อาจจะจัดหนังสือ โดยจัดวางบริเวณต่าง ๆ  ดังนี้

- บนโต๊ะ

- บนตู้บัตรรายการ

 -บนตู้หรือชั้นหนังสือ

- ในตู้นิทรรศการ

อาจมีวัสดุประกอบบ้างก็ได้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

2. จัดแผ่นป้ายนิทรรศการ ตั้งอยู่เสมอระดับตาในที่มองเห็นได้เด่น

โดยมีหลักในการจัดดังนี้ คือ

1.      การสื่อความหมายที่เข้าใจง่าย

2.      ความสะดุดตา โดยภาพ สี และการตกแต่ง

3.      เนื้อหาน่าสนใจและถูกต้อง

4.      วัสดุอุปกรณ์ประกอบเนื้อหาที่ใช้ในการตกแต่งน่าสนใจ

5.      ความแปลกใหม่ สวยงาม โดยใช้ศิลปะการจัด

เรื่องที่จัด (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 272)

เรื่องที่จัด อาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง เช่น

                   - หนังสือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ปรากฏการณ์ของฝนดาวตก สุริยุปราคา สินามึ เป็นต้น

                   - หนังสือในวาระพิเศษ เช่น สัปดาห์แห่งการป้องกันฟันผุ สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ สัปดาห์วันสิ่งแวดล้อมโลก สัปดาห์วันสูบบุหรี่โลก เป็นต้น

                   - หนังสือที่ได้รับรางวัล เช่น รางวัลซีไรท์ รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ รางวัลแว่นแก้ว เป็นต้น

                   - หนังสือชุดตามหัวเรื่อง เช่น หนังสือหายาก หนังสือเล่มจิ๋ว หนังสือสามมิติ หนังสือมี เสียง หนังสือมีกลิ่น หนังสือเด็กนานาชาติ หรือหนังสือชุดวัฒนธรรมประเพณีของไทย การละเล่นพื้นบ้าน วรรณคดีไทย ศิลปกรรม มรดกไทย ประวัติบุคคลสำคัญ ศาสนา การท่องเที่ยวเดินทาง เป็นต้น

                   - หนังสือประเภทต่าง ๆ เช่น หนังสือนวนิยาย หรือหนังสือสารคดี หนังสือ            การท่องเที่ยว เป็นต้น

                   นอกจากนี้สามารถจัดนิทรรศการหนังสืออื่น ๆ ที่ให้ความรู้น่าสนใจในการผลิตหรือเกี่ยวข้องกับหนังสือได้อีก เช่น

                   หนังสือนวนิยาย

                   ที่คั่นหนังสือนานาชาติ

                   นักเขียนหนังสือประเภทต่าง ๆ

                   นักวาดภาพประกอบหนังสือ

                   การผลิตหนังสือ

                   การระวังรักษาหนังสือ

                   ร้านหนังสือในประเทศ

                   สำนักพิมพ์หนังสือในประเทศไทย และสำนักพิมพ์หนังสือนานาชาติ

                   ทั้งนี้การจัดนิทรรศการหนังสือต้องให้เหมาะสมกับช่วงเวลา โอกาส สถานที่ และพื้นฐานของผู้ชม

การเตรียมการและวัสดุอุปกรณ์ในการจัด (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 272-273)

            การจัดเตรียมวัสดุ ซึ่งอาจเลือกใช้ให้ตรงตามความมุ่งหมาย ตามความเหมาะสมกับเรื่องที่จะจัด ได้แก่

1.      ใบหุ้มปกหนังสือ

2.      หนังสือ

3.      รูปภาพ สี ขาว-ดำ ภาพโฆษณา ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพจากหนังสือพิมพ์ (ภาพพิมพ์)

4.      กราฟ แผนที่ แผนภูมิ

5.      วัตถุต่าง ๆ เช่น หุ่น ตุ๊กตา ของเล่น ของจำลอง สิ่งประดิษฐ์

6.      วัสดุของจริงที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องในหนังสือ หรือหัวข้อที่จัดนิทรรศการ

7.      สิ่งที่ช่วยในการตกแต่ง ได้แก่ เชือก ริบบิ้น เศษผ้า เศษแพร ลวด ฯลฯ

8.        เครื่องเขียนต่าง ๆ ได้แก่ กระดาษวาดเขียน กระดาษโปสเตอร์ กระดาษสีต่าง ๆ ไม้บรรทัด วงเวียน ยางลบ จำพวกสี ได้แก่ สีน้ำ สีโปสเตอร์ ดินสอสี หมึก พู่กัน

9.      เครื่องมือในการตัด ได้แก่ มีด กรรไกร

10.    เครื่องมือและวัสดุในการผนึก ได้แก่ กาวประเภทต่าง ๆ เช่น กาวยางน้ำ แป้งเปียก สกอตเทป คลิป เข็มหมุด เป๊ก ฯลฯ

11.    วัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการนี้ ควรจะจัดหาไว้และเพิ่มเติมอยู่เสมอ บางอย่างอาจยืมจากที่อื่นบ้าง และเลือกใช้ตามความเหมาะสม

การใช้สี (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 273-274)

1.      สีที่กลมกลืนกัน

แดง-น้ำเงิน                          แดง-ดำ-ส้ม

แดง-ทอง                             แดง-ดำ-เหลือง

ส้ม-ม่วงแดง                         ส้ม-น้ำตาล-เหลือง

เขียว-ครีม                            ส้ม-ขาว-น้ำเงิน

ม่วง-ชมพู                            เขียว-ขาว-น้ำเงิน

2.      สีที่ตัดกัน

เหลือง-ม่วง                          ม่วงแดง-ตองอ่อน

แดง-เขียวใบไม้                     แสด-เขียวคราม

ส้ม-น้ำเงิน                           เหลืองแก่-ม่วงคราม

3.      จิตวิทยาในการใช้สี

-          สีแดง ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ

-          สีอ่อนแก่ของชมพู ทำให้เกิดความพึงพอใจในความงดงาม

-          สีเขียว หรือสีคราม ทำให้เกิดความรู้สึกเยือกเย็น ชุ่มชื่นและสงบ

-          สีเทาปานกลาง ทำให้รู้สึกเงียบสงัด

-          สีขาวและสีดำอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิดความเศร้าสลดหดหู่ใจ

-          สีขาว ทำให้เกิดความรู้สึกบริสุทธิ์

ในการจัดนิทรรศการ ควรใช้สีที่เด่น สดใส ชวนดู และอาจใช้สีขาวแทรกบ้างก็ได้ ส่วนมากป้ายนิทรรศการมักจะเป็นไม้อัดบุสักหลาดสีแก่ เช่น กรมท่า อาจใช้เสื่อกก เสื่อลำแพน เมื่อไม้ไผ่สาน ดังนั้น ควรเลือกสีแผ่นรองภาพให้ดูเด่น

                   สีที่ใช้จัดนิทรรศการไม่ควรเกิน 3-4 สี ซึ่งอาจจะใช้สีตัดกัน หรือกลมกลืนกันชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งนี้แล้วแต่เรื่องที่จะจัดแสดง แต่ละสีให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน (วัฒนะ จูทะวิภาต. 2526.: 177) เช่น

สีแดง ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ

สีอ่อนแก่ของสีกุหลาบ ให้ความรู้สึกสดชื่นรื่นเริง

สีเขียวและสีคราม ทำให้รู้สึกสุขุม เยือกเย็น ให้ความชุ่มฉ่ำเย็นสบาย

สีเทาปานกลาง ให้ความรู้สึกเงียบสงบ

สีขาวและสีดำอยู่ด้วยกัน ทำให้ขรึม เศร้าสลด

สีขาว ทำให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด

            พื้นหลังของป้ายนิทรรศการ ควรเป็นสีเข้ม หรือสีอ่อน ๆ ก็ใช้ได้ผลดี

หลักปฏิบัติในการจัดนิทรรศการ (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 279)

1.      ความเรียบง่าย ใช้ตัวอักษรเรียบ ๆ ให้อ่านง่าย

2.      ความเด่นในการใช้สี

3.      การเลือกภาพที่เหมาะสม รูปทรงต่าง ๆ

4.      เนื้อหาเป็นที่น่าสนใจ

5.      ความแปลกใหม่ ศิลปะในการจัด

ลักษณะของการจัด (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 279)

1.      จัดอย่างง่าย แสดงหนังสือเพียงเล่มเดียว ใช้ที่ตั้งแสดงหนังสือ หรือโปสเตอร์บอกรายการบรรณานุกรมของหนังสือ พร้อมทั้งบรรณนิทัศน์สังเขป อาจจะจัดหนังสือไว้บนโต๊ะ บนชั้นหนังสือ หลังตู้บัตรรายการหนังสือ หรือในที่ที่เห็นได้โดยง่าย

2.      จัดในตู้นิทรรศการ หรือที่แสดงหนังสือใหม่ อาจมีวัสดุประกอบบ้างก็ได้

3.      จัดบนแผ่นป้ายนิทรรศการ ตั้งอยู่เสมอระดับตาในที่อื่นที่เด่น

การจัดนิทรรศการบนแผ่นป้าย

                  การจัดนิทรรศการบนแผ่นป้าย ป้ายนิทรรศการอาจเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการซึ่ง จัดแสดงได้หลายรูปแบบ การจัดป้ายนิทรรศการมีแนวทางดังนี้

1.      กำหนดว่าจะจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเรื่องอะไร จัดเตรียมเนื้อหาและจัดแบ่งเนื้อหาที่จะนำเสนอลงบนแผ่นป้ายเพียงเรื่องเดียว หรือมีหลายป้ายตามความเหมาะสมกับเนื้อหา ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดหลายป้ายให้แยกจัด ไม่ให้มีรายละเอียดมากนัก

2.      กำหนดชื่อนิทรรศการและหัวข้อเรื่อง โดยใช้ภาษาที่สื่อความหมายตรง ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด กระชับ ประดิษฐ์ตัวอักษรให้น่ามองดูเด่นสะดุดตา

3.      จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัด เลือกให้ตรงตามเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย

4.      วางรูปแบบในการจัดอย่างคร่าว ๆ หลาย ๆ แบบ ว่าจะจัดวางอะไร ตรงไหน ใช้ตัวอักษรอย่างไร ใช้สีอย่างไร วัสดุที่ใช้ตกแต่งควรวางอย่างไรให้เหมาะสมสวยงาม

5.      จัดวางภาพและคำบรรยายประกอบตามความจำเป็นและเหมาะสม  เพื่อเข้าใจเรื่องราวชัดเจนถูกต้อง จัดให้สวยงาม มีศิลปะในการจัดอย่างสวยงาม

6.      ภาพหนังสือบนแผ่นป้ายนิทรรศการอาจใช้ใบหุ้มปกหนังสือ หรือจัดทำสำเนาปกหนังสือแบบสีด้วยคอมพิวเตอร์ หรือผนึกบนกระดาษแข็งหรือพลาสติกแข็งติดบนแผ่นป้ายให้สวยงาม

ข้อควรคำนึงในการจัดนิทรรศการ (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 280)

1.      ความเป็นหน่วยเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายจุดเดียว แนวคิดเดียว วัสดุที่จัดจะไม่กระจายไปในที่ต่าง ๆ แต่มีการวางจังหวะให้แลดูงาม

2.      ความสมดุลหรือศูนย์ถ่วง จัดให้มีน้ำหนักพอดีกันทั้งสองข้าง มองดูไม่เอนเอียงไปข้างใด วัตถุที่ใช้ถ้าขนากเล็กจัดไว้ตอนบน ขนาดใหญ่จัดไว้ตอนล่าง วัสดุที่จัดอาจมีขนาดและรูปร่างไม่เหมือนกันก็ได้ แต่จัดให้มีน้ำหนักพอดี ๆ กันทั้งสองข้าง

3.      ศูนย์แห่งความสนใจ จัดให้เด่นที่สุดอยู่เพียง 1 จุด เพื่อเน้นความมุ่งหมายของเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวหนังสือ ใบหุ้มปกหนังสือ หรือวัสดุอื่นใดจัดให้อยู่ในที่ใดก็ได้ ใช้วิธีนำสายตาไปสู่จุดด้วยเส้น เส้นเดียวหรือหลายเส้น ลูกศร จุดกลม ๆ หลาย ๆ จุด ริบบิ้น เชือก หรืออื่น ๆ ก็ได้

 

ลักษณะของการจัดนิทรรศการที่ดี (รสา วงศ์ยังอยู่. 2546.: 280)

1.      ดึงดูดความสนใจ

2.      ง่าย เรียบ ชัดเจน เนื้อหาดี

3.      จัดภาพดี ใช้สีเด่น

4.      ข้อความประทับใจ

5.      จัดวางในที่ซึ่งอยู่ในระดับสายตา มองดูได้ง่าย

วิธีดำเนินการจัดนิทรรศการ

                  การจัดนิทรรศการหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนดังนี้               (สุพรรณี วราทร. 2550.: 69-70)

1.      วางแผนการจัดนิทรรศการหนังสือในประเภทและแนวต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเป็นชุด เช่น ตลอดภาคการศึกษา ตลอดปี เป็นต้

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การจัดนิทรรศการหนังสือ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นิตยา ฉัตรเมืองปัก
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นิตยา ฉัตรเมืองปัก..