หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
จิระวัฒน์ แสงหว้า
จากจังหวัด สงขลา

5 วิธีง่าย ๆ ในการลดความอ้วน
โพสต์เมื่อวันที่ : 9 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6419 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(74.44%-18 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

5 วิธีง่ายๆ ในการลดความอ้วน

.....



Advertisement

5 วิธีง่าย ๆ ในการลดความอ้วน



5 วิธีง่าย ๆ ในการลดความอ้วน

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่พยามยามลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจทำให้คุณรับประทานอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น ที่สำคัญควรรับประทานประเภทผักใบเขียว เพราะจะมีใยอาหารอยู่มาก

  2. พยายามดื่มน้ำก่อนอาหาร เพื่อถ่วงกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเลือกรับประทานใยอาหารก่อนอาหารประมาณครั้งชั่วโมงแทน

  3. เพื่อผลทางจิตวิทยา ควรใช้ภาชนะเล็กลง โดยมีปริมาณอาหารเท่าเดิมเพื่อให้ดูว่ามีอาหารมากขึ้น และควรใช้ช้อนขนาดเล็กเพื่อจะได้รับประทานช้าลง ที่สำคัญควรฝึกเคี้ยวช้า ๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น

  4. หาเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้น มักมีความเชื่อผิด ๆ กันว่า การออกกำลังกายมากขึ้นจะทำให้หิวเร็งและรับประทานอาหารมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย จึงมักขจัดความเยื่อนี้ด้วยการรับประทาน การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีช่วยลดความเบื่อหน่าย และเพิ่มการใช้พลังงานเพื่อเผาผลาญไขมันสะสมให้ลดน้อยลง

  5. สร้างสิ่งจูงใจ หรือทัศนคติดี ๆ ต่อพฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น การเขียนข้อความเกี่ยวกับการลดความอ้วน หรือชุดสวย ๆ ในสมัยก่อนที่เคยใส่ได้ เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมาย และสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้มีความพยายามมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด พยายามพักผ่อนให้มาก ๆ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้ามีรูปร่างที่สวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ต้องอาศัยอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากสุขภาพไม่ดี

ภาวะไขมันในเลือดสูง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก

1. การควบคุมอาหาร

2. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายที่ดีที่สุด

กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง

  • ถ้าท่านมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./100กรัม ควรรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน

  • สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

  • อาหารในแต่ละชนิด จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันปริมาณโคเลสเตอรอล (มิลลิกรัม)

    กุนเชียง

    150

    ตับไก่

    685-750

    กุ้งเล็ก 

    125-150

    เนื้อวัวเนื้อล้วน

    60

    กุ้งใหญ่

    250-300

    ไตวัว

    400

    ไข่ขาว

    0

    กระเพาะวัว

    150

    ไข่ทั้งฟอง

    550

    ตับวัว

    400

    ไข่แดง (เป็ด)

    1120

    ลูกวัว

    140

    ไข่แดง (ไก่)

    2000

    ผ้าขี้ริ้ว

    610

    ไข่นกกระทา

    3640

    หัวใจวัว

    145

    ไข่ปลา

    7300

    ปลาแซลมอน

    86

    ครีม

    300

    ปลาจาระเม็ด

    126

    นกพิราบ

    110

    ปลาดุก

    60

    นมสด

    24

    ปลาทูน่า

    186

    เนยแข็ง

    90-113

    ปลาลิ้นหมา

    87

    เนยเหลว

    250

    ปลาไหลทะเล

    186

    มาการีน

    0

    ปลาหมึกเล็ก

    384

    น้ำมันตับปลา

    500

    ปลาหมึกใหญ่

    1170

    เนื้อกระต่าย

    60

    ปลิงทะเล

    0

    เนื้อแพะ

    60

    เป็ด

    70-90

    เนื้อแกะล้วน

    60

    ปู

    101-164

    ตับแกะ

    610

    แมงกะพรุน

    24

    กระเพาะแกะ

    41

    หอยกาบ

    180

    เนื้อหมูเนื้อแดง

    89

    หอยแครง

    50

    เนื้อปนมัน

    126

    หอยนางรม

    230-470

    น้ำมันหมู

    95

    หอยอื่นๆ

    150

    ตับหมู

    400

    เบคอน

    215

    ไตหมู

    350

    สมองสัตว์ต่างๆ

    3160

    กระเพาะหมู

    150

    ไส้กรอก

    100

    หัวใจหมู

    400

    แฮม

    100

    ซี่โครงหมู

    110

    ไอศกรีม

    40

    เนื้อไก่เนื้อล้วน

    60

    ต่ออาหาร 100 กรัม

    การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

    • อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์

    • ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์

    • กะทิ

    • อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและการทอดเจียว

    • ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ และเครื่องดื่มประเภทเบียร์จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์

    อาหารที่ควรรับประทาน

    • เนื้อปลา

    • น้ำมันของปลาทะเล

    • ผักใบต่างๆ และผลไม้ที่ให้กาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ผักกาด ส้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมันสู่ร่างกาย

    • ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด

    คำแนะนำสำหรับวิธีปรุงอาหาร

    ควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

    ภาวะไขมันในเลือดสูง

    การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด





    โรคอ้วน : เสี่ยงต่อโรคใดบ้าง?

    ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่มีดัชนีความหนาของร่างกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป มีโอกาสตายก่อนวัยอันสมควร สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 30% เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคต่อไปนี้ได้ง่ายนั่นเอง

    1. โรคความดันโลหิตสูง

    2. โรคหัวใจขาดเลือด

    3. โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

    4. โรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด

    5. โรคเบาหวาน

    6. โรคนิ่วในถุงน้ำดี

    7. กระดูกและข้อเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ

    8. ระบบทางเดินหายใจทำงานไม่สะดวก

    9. โรคที่เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจ

    แต่ละโรคที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแล้วแต่มีความร้ายแรงและยากต่อการรักษาพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่านยังไม่อ้วนและสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้ตลอดเวลา ท่านจะมีโอกาสเกิดโรคดังกล่าวน้อยมาก ส่วนท่านที่อ้วนแล้ว ท่านจะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อค่อยๆ ลดน้ำหนักลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติฑ์ให้ได้ เราขอเป็นกำลังใจให้ท่านประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักนะคะ




    วิธีลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว

    วิธีลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วมีอยู่ 3-4 วิธี ส่วนใหญ่ไม่นิยมทำกัน แต่ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีคนทำกันบ้างแต่ไม่มากนัก สาเหตุที่ไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะวิธีการบางอย่างอาจจะต้องมีการทำผ่าตัดร่วมด้วย ผู้มารับการรักษา อาจต้องเจ็บตัวนอกเหนือจากเสียสตางค์แล้ว วิธีการเหล่านั้นคือ

    1. การฉีดฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้มีผลต่อการเผาผลาญพลังงานจากไขมัน นอกจากจะมีราคาแพงแล้วยังมีผลข้างเคียงรุนแรงค่อนข้างมาก ถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในบางอย่าง

    2. การผ่าตัดมัดกระดูกขากรรไกรให้เข้าหากัน ปากของคนนั้นๆ ก็จะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ กลืนอาหารเหลวได้เท่านั้น คงไม่มีใครคิดอยากจะลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ในเมืองไทย

    3. การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะ หรือการตัดต่อลำไส้เล็กใหม่ให้สั้นลง เพื่อลดเวลาในการดูดซึมสารอาหารในระหว่างผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก นอกจากนี้มีคนทดลองใส่ลูกโป่งเข้าไปในกระเพาะ เพื่อให้มีที่ว่างน้อยลง

    4. การผ่าตัดหรือการดูดไขมันหน้าท้องออก ทั้งสองวิธีมีการทำในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะบางคนโดยเฉพาะสุภาพสตรี มีไขมันหน้าท้อง ซึ่งทำให้หน้าท้องหย่อนไม่สวยงาม จึงไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดเอาไขมันและทำให้หน้าท้องตึงขึ้น ส่วนการดูดไขมันออกทางหน้าท้อง ใช้วิธีเจาะช่องหน้าท้องแล้วเอาเครื่องมือสอดเข้าไปในชั้นไขมัน ใต้ผิวหนังเพื่อดูดเอาไขมันออก

    วิธีที่กล่าวมาทั้งหมด คงจะไม่มีวิธีไหนดีไปกว่าการค่อยๆ ลดน้ำหนัก โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย แต่ถ้าท่านต้องการทำจริงๆ ท่านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนที่ท่านจะตัดสินใจ

                                                                         โรคอ้วน

     น้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจเป็นโรคอ้วน ถ้ามีไขมันในร่างกายมากกว่าความจำเป็น เราควรเอาใจใส่บ้าง เพราะโรคอ้วนก่อปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง

    ดูอย่างไรว่าอ้วน

    จากลักษณะภายนอกพอบอกได้ ถ้าอ้วนมากจริง ๆ แต่สายตาแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงมีการคิดค้นการวัดหลายวิธี ที่ใช้สะดวกได้ง่าย และไม่ค่อยผิดเพี้ยนกันมาก เมื่อคนวัดต่างกัน ก็คือการวัดส่วนสูง และน้ำหนักไปด้วนกัน ซึ่งอาจนำมาคำนวณโดยใช้สูตรง่าย ๆ เพื่อดูความรุนแรงของความอ้วน คือ ค่า

    เกณฑ์ BMI ที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 20-25 ก.ก. ต่อเมตร2 ซึ่งจากการเก็บข้อมูลประชากรจำนวนมากพบว่ามีอัตราเสี่ยงต่อการตายจากโรคน้อยสุด บางแห่งอาจจะถือว่าเข้าเกณฑ์อ้วนที่ BMI มากกว่า 27-30 ก.ก. / เมตร2 ซึ่งจะประมาณน้ำหนักเท่ากับ 120% ของน้ำหนักมาตรฐาน และเริ่มพบอัตราเสี่ยงต่อการตายมากขึ้น

    อย่างไรก็ดี BMI สูง อาจพบในคนไม่อ้วน แต่มีกล้ามเนื้อมาก เช่น ในพวกใช้แรงงานมาก ๆ นักกีฬา นักกล้าม ซึ่งกลุ่มนี้ไม่พบว่ามีโรคที่เสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น จึงมีการวัดสัดส่วนประกอบด้วน เพราะพบว่าพวกที่น้ำหนักมากจากไขมันที่พุงต่างหากที่มีความเสี่ยง ค่าที่นิยมใช้กันคือ WHR (WAIST – HIP RATIO) หรือสัดส่วนระหว่างเส้นรอบเอวกับเส้นรอบสะโพก ซึ่งในผู้ชายไม่ควรเกิน 1.0 และในผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 ถึงตรงนี้คุณก็อาจสำรวจตัวคุณเองได้ว่า อ้วนเกินไป จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหรือไม่

    อันตรายจากโรคอ้วน ภาวะอ้วนทำให้เกิดโรค และความผิดปกติต่าง ๆ ได้มาก หรือเร็วกว่าคนไม่อ้วน ได้แก่

    1. ความดันโลหิตสูง : พบว่าถ้าลดน้ำหนักโดยยังมีปริมาณเกลือในอาหารเท่าเดิมก็ลดความดันโลหิตลงได้

    2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน : ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดนี้ที่รุนแรงสุดกว่าปัจจัยใด ๆ

    3. ไขมันในเลือดผิดปกติ


    เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
     

    ไม่มีความเห็น
    เกี่ยวกับเรื่อง 5 วิธีง่าย ๆ ในการลดความอ้วน
     
     


     
    เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

    จิระวัฒน์ แสงหว้า
    เจ้าของบล็อกนี้
    Advertisement
    Advertisement
    เรื่องราวล่าสุด ของ
    จิระวัฒน์ แสงหว้า..