หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

กระดานดำ ?สื่อแผ่นป้าย?
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6613 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(40.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

 
วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเรื่อง “สื่อแผ่นป้าย”   


เมื่อผู้เรียนเรียนจบ เรื่องสื่อแผ่นป้าย แล้วผู้เรียนสามารถ

    1. บอกความหมายของสื่อการสอนประเภทสื่อแผ่นป้ายได้
    2. จำแนกประเภทของสื่อการสอนประเภทสื่อแผ่นป้ายได้
    3. สร้างสื่อการสอนประเภทสื่อแผ่นป้ายได้
    4. ใช้สื่อการสอนประเภทแผ่นป้ายได้อย่างถูกวิธี

             สื่อประเภทแผ่นป้ายเป็นวัสดุตั้งแสดง (Display Materials) มีอยู่หลายประเภท เช่น กระดานชอล์ก ป้ายผ้าสำลกระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า แผ่นป้ายแม่เหล็ก ป้ายนิเทศ ภาพพลิก เป็นต้น

กระดานชอล์ค (Chalk Board)



 

            กระดานชอล์คหรือกระดานดำเป็นสื่อการสอนที่รู้จักกันดี และมีใช้มานานแล้ว ทำด้วยกระดานทาสีเขียวด้าน ใช้คู่กับชอล์คสีขาว หรือชอล์คสี กระดานชอล์คมีความจำเป็นสำหรับห้องเรียน เพราะโดยตัวของกระดานชอล์กเองมีคุณสมบัติเด่นอยู่หลายประการ

ข้อดีของกระดานชอล์ค

  1. ใช้ ได้ทุกเวลาและโอกาส ใช้ได้กับทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ใช้ประกอบการอธิบาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักเรียน ใช้เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน ใช้เขียนคำสั่งมอบหมายงาน เฉลยการบ้าน ติดตั้งจอฉาย แขวนป้ายนิเทศ แขวนแผนที่ได้เป็นอย่างดี
  2. ใช้เสนอหลักการ ข้อเท็จจริง ความคิด กระบวนการ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อนเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ตาม
  3. ใช้เป็นที่วางแผนการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน
  4. สามารถเขียนและลบได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเขียนทิ้งไว้นานก็สามารถลบได้ง่าย
  5. ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้พร้อมกันทั้งชั้น
  6. เสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ทันทีทันใด
  7. ใช้ได้คงทนถาวร เสียหายได้ยาก
  8. ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน
  9. ประหยัดค่าใช้จ่าย
  10. ใช้ประกอบกับสื่ออื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
  11. ช่วยทำให้ประสบการณ์นามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  12. ใช้สำหรับเขียนภาพประกอบการอธิบาย และใช้เป็นที่แสดงสัญลักษณ์
  13. ถ้าเป็นกระดานชอล์คแบบม้วนครูสามารถเตรียมการเขียนมาก่อนได้ เช่นภาพที่วาดยากหรือไม่สามารถวาดเองได้
  14. ไม่เปลืองไฟฟ้า

ข้อเสียของกระดานชอล์ค

  1. มีฝุ่นละอองจากผงชอล์ค ซึ่งทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอันตรายกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
  2. ไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องปรับอากาศ
  3. ชอล์คและแปรงลบกระดานอาจถูกแปลงเป็นอาวุธของครูได้
  4. ผู้สอนต้องหันหลังให้ผู้เรียนในบางครั้ง
  5. ผู้สอนต้องเขียนเนื้อหาใหม่ทุครั้งที่สอน
  6. เคลื่อนย้ายลำบาก
  7. ผู้ที่ลายมือไม่สวย อาจไม่เหมาะสมในการใช้กระดานชอล์ค

ชนิดของกระดานชอล์

  1. ชนิดติดฝาผนังถาวร
  2. ชนิดมีขาตั้งหรือขาหยั่ง
  3. ชนิดม้วนได้

หลักการใช้กระดานชอล์ค

          การใช้กระดานชอล์คให้ได้ผลดีมีหลักการและเทคนิคอยู่หลายประการ

  1. การ ติดตั้งกระดานชอล์ก ควรให้อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้โดยสะดวก ขอบล่างของกระดานควรอยู่ในระดับสายตาของนักเรียน มุมสำหรับการดูประมาณด้านละ 30 องศา จากแนวกึ่งกลางออกไปทั้ง 2 ข้าง ระวังอย่าให้มีแสงสะท้อนตกลงบนกระดาน จะทำให้ผู้เรียนที่นั่งด้านตรงข้ามมองเห็นไม่ชัดเจน
  2. ผู้เรียนที่นั่งแถวหน้าให้นั่งห่างจากกระดานอย่างน้อย 3 เมตร
  3. เตรียม วางแผนการใช้กระดานชอล์คล่วงหน้าว่าจะเขียนข้อความอะไร เขียนอย่างไร ข้อความที่เขียนควรเป็นสาระสำคัญของเรื่อง สั้นกระทัดรัดตรงจุด ถ้าต้องการเน้นส่วนใดก็ให้ขีดเส้นใต้ ทำวงกลมล้อมรอบ ใช้ชอล์คสี หรือทำเครื่องหมายให้ชัดเจน
  4. กระดานชอล์คที่มีความยาวมากควรแบ่งกระดานชอล์ค ออกเป็นสองหรือ สามส่วนตามความเหมาะสม
  5. ก่อนใช้กระดานชอล์คให้ลบกระดานให้สะอาด เพื่อความสวยงาม น่าดู
  6. การลบกระดานควรลบจากด้านบนลงด้านล่าง เพื่อให้ฝุ่นแปรงลงในรางกระดาน และไม่ฟุ้งกระจาย
  7. ให้เริ่มเขียนกระดานชอล์คจากด้านซ้ายบนก่อน
  8. ควรเขียนเฉพาะหัวข้อสำคัญๆ เท่านั้น
  9. ขณะเขียนควรหันมาดูผู้เรียนบ้าง สำหรับครูที่เขียนด้วยมือขวาสามารถยืนตะแคงข้างเขียนกระดานได้ และไม่บังข้อความที่เขียนไปแล้ว
  10. ควรเขียนให้อ่านง่าย ชัดเจน รวดเร็ว ถูกต้อง
  11. ตรวจดูความถูกต้องทุกครั้งเมื่อเขียนเสร็จ ถ้ามีข้อความที่เขียนผิดให้รีบแก้ไข
  12. ขณะอธิบายเรื่องราวบนกระดาน อย่ายืนบัง ควรยืนห่างกระดานเล็กน้อย และใช้ไม้ชี้ข้อความ
  13. ข้อความควรมีขนาดโตพอเหมาะที่นักเรียนที่นั่งหลังห้องมองเห็นได้ชัดเจน
  14. การ วาดรูปอาจใช้เครื่องมือประกอบ อาจเตรียมรูปทรงต่างๆ ช่วยทาบทำให้วาดได้รวดเร็วขึ้นหากต้องการขีดเส้นใต้ควรใช้ไม้บรรทัด ส่วนการเขียนวงกลมควรใช้วงเวียน
  15. สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องควรลบออก
  16. ถ้าครูมีความสามารถในการวาดการ์ตูนลายเส้นง่ายๆ จะช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
  17. ภาพที่วาดยากหรือมีรายละเอียดมาก ควรเตรียมวาดล่วงหน้ามาก่อน อาจวาดใส่กระดาษ กระดานชอล์คแบบม้วนได้
  18. บาง เนื้อหาอาจใช้วิธีเขียนภาพบนกระดานหรือเขียนข้อความไว้ก่อน ใช้กระดาษปิดหรือบังไว้ เมื่ออธิบายหรือพูดก็ดึงกระดาษที่ปิดออก ซึ่งเรียกว่าวิธีซ่อนภาพบนกระดาน จะช่วยทำให้ บทเรียนน่าสนใจมาก
  19. ควร วางแผนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้กระดานชอล์กด้วย เพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้ออกมาเติมคำ แก้คำผิด เขียนรูป หรือแข่งขันกันในรูปแบบใดๆก็ได้ แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่อำนวยประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  20. อย่า ใช้ แป้งเปียก กาวสองหน้า เป็ก ดินน้ำมัน ติดบนกระดาน จะทำให้กระดานเป็นริ้วรอยไม่สะอาด ควรใช้กระดาษกาวย่นติดวัสดุจะเหมาะสมกว่า
  21. ถ้ากระดานชอล์กมีสีจางลงควรทาสีทับใหม่

สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้กระดานชอล์ค

  • ผู้เรียนทุกคนจะมองเห็นกระดานดำได้ชัดเจนในมุม 30 องศา
  • ผู้เรียนแถวหน้าสุดควรห่างจากกระดาน 3 ม.
  • สิ่งที่เขียนไม่ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาผู้เรียน
  • เตรียมวัสดุเครื่องมือให้พร้อม
  • ตรวจดูแสงสว่าง แสงสะท้อน

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง กระดานดำ ?สื่อแผ่นป้าย?
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..