หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
                            
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

สื่อที่(ไม่มีวัน)ล้าสมัย 2
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6417 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

  
  
  แผ่นป้ายไฟฟ้า (Electronic Board)    

          แผ่น ป้ายไฟฟ้าเป็นสื่อการเรียนการสอนที่อาศัยการเสริมแรง (Reinforcement) หรือการให้กำลังใจกับผู้เรียน เพื่อท้าทาย ให้ตอบคำถามโดยการ จับคู่หรืออาจใช้แผ่นป้ายไฟฟ้า เป็นแหล่งค้นหาคำตอบก็ได้



สิ่งที่ใช้ในการทำแผ่นป้ายไฟฟ้าชนิดจับคู

  1. ไม้อัด เพ็กบอร์ด กระดาษอัดหรือกระดาษแข็งหนาประมาณ 1/4” กว้าง 30” ยาว 40 “
  2. สายไฟขนาดเล็กยาวประมาณ 10 เมตร
  3. หมุดทองเหลืองสองขาหรือแจ็คตัวเมียจำนวนเท่ากับคำถามและคำตอบ
  4. กริ่งไฟฟ้าหรือหลอดไฟ
  5. ถ่านไฟฉาย 9 โวลท์
  6. เครื่องเจาะรู
  7. กระดาษเทาขาวใช้ทำบัตรคำ
  8. กระดาษโปสเตอร์ชนิดแข็ง สำหรับทำร่องเสียบบัตรคำหรือภาพ
  9. กาวยางน้ำ
  10. สีน้ำมันและแปรง

วิธีการผลิตแผ่นป้ายไฟฟ้าชนิดจับคู

  1. เขียนผังบนไม้อัด กำหนดช่องเสียบบัตร หลอดไฟ ตำแหน่งหมุดทองเหลือง
  2. ติดร่องเสียบบัตรและเจาะรู ใส่หมุดทองเหลือง ใกล้กับช่องเสียบบัตรทุกช่อง
  3. ต่อ สายไฟด้านหลังป้าย ตามผังที่กำหนดจุดใดที่ติดตายตัวก็บัดกรีที่หมุด แต่ถ้าจุดใด ต้องการเปลี่ยนแปลง ได้ให้บัดกรี ไว้กับตัวหนีบ เพื่อการปรับเปลี่ยน ได้ตามต้องการ
  4. เสียบบัตรคำปัญหา และคำตอบคนละด้าน ไขว้ไว้ตามผังที่กำหนด
  5. ทดลองใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  6. ถ้าเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์ใช้งานได้ดีแล้ว ด้านหลังมีสายไฟระโยงระยาง ควรใช้กระดาษแข็งปิดทับ แล้วใช้กระดาษกาวปะขอบให้สนิท

วิธีการใช้และเก็บรักษาแผ่นป้ายไฟฟ้า

        แผ่นป้ายไฟฟ้ามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ แนวความคิด ของผู้ออกแบบผลิต ส่วนมาก จะออกแบบมาใน ลักษณะให้ผู้เรียน ตอบถูกตอบผิด จับคู่ เลือกตอบ แสดงตำแหน่งที่ถูกต้อง ดังนั้นการใช้งาน จึงแตกต่างกันออกไปบ้าง โดยมีคำแนะนำทั่วไปดังนี้

  • ทดลองใช้งานก่อนทำการสอนจริง
  • คำนึงถึงระดับผู้เรียนในการใช้แผ่นป้ายไฟฟ้า
  • ไฟฟ้าที่ใช้ควรเป็นไฟกระแสงตรง เช่นจากถ่านไฟฉาย เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า
  • โปรแกรมควบคุมการตอบควรเปลี่ยนได้ เพื่อเร้าความสนใจ ไม่เดาในการตอบคำถาม
  • เมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานควรถอดถ่านไฟฉายออก
   

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง สื่อที่(ไม่มีวัน)ล้าสมัย 2
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..