หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
จากจังหวัด เชียงราย

ภาพสะท้อนจากความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษา
โพสต์เมื่อวันที่ : 2 มี.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6407 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(56.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

  ในฐานะครูคนหนึ่ง ที่ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทางการศึกษาในเว็บไซต์เป็นประจำ และพบว่ามีผู้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวการศึกษาเรื่องต่างๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ว่าความคิดเห็นที่ถูกโพสต์ขึ้นมาอย่างมากมายนั้น กำลังบอกหรือสะท้อนอะไรเกี่ยวกับสภาวะ หรือสภาพที่เป็นอยู่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่ประสบอยู่ทุกวันนี้ เราจะยอมรับชะตากรรม หรือมองมองอย่างรู้เท่าทันแล้วรวมพลังกันเผชิญหน้า...

ความเป็นมา

   เว็บไซต์ http://www.kroobannok.com และ http://www.kruthai.info เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอเกี่ยวกับความรู้ ข่าวสาร บทความ กฎหมาย การเผยแพร่ผลงานวิชาการ ห้องสมุดความรู้ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นแหล่งความรู้ของชุมชนครูและบุคลากรทางการศึกษาออนไลน์ ที่มีผู้เข้ามาศึกษาความรู้ แลกเปลี่ยนข่าวสาร รวมทั้งแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่างๆ อย่างอิสระ ในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก จากสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์เกี่ยวกับการศึกษา ของ http://www.kroobannok.com ในเดือน พฤศจิกายน 2551 พบว่า มีผู้เข้าชมเฉลี่ย 29,380 ครั้งต่อวัน(http://truehits.net/script/200812/rank_1.php) ส่วนเว็บไซต์ http://www.kruthai.info ไม่ปรากฏจำนวนผู้เข้าชมเฉลี่ย แต่สถิติตัวเลขผู้อ่านข่าวที่ปรากฏในเว็บไซต์ดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทั้งสองเว็บไซต์ยังสามารถเชื่อมโยงมาจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษารู้จักและเข้าถึงเว็บไซต์ทั้งสองแห่งได้ง่าย

   ในการนำเสนอข่าวการศึกษาของเว็บไซต์ทั้ง 2 แห่ง มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และนำเสนอความเคลื่อนไหวทางการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อข่าวเรื่องนั้นๆ ได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

   ภาษา มีความสำคัญต่อการนำเอาสิ่งที่ไม่อาจจับต้องได้และมีลักษณะเป็นความคิดนามธรรมที่อยู่ในสมองและจิตใจของมนุษย์เรา ให้ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้และสัมผัสได้ ภาษาและความคิดจึงเป็นอีกด้านหนึ่งของกันและกัน เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองหน้าซึ่งสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก (อวยพร  พานิช และ คณะ, 2548 : 89)  ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษาจากการใช้ภาษา จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจ ความรู้สึกนึกคิดของผู้อ่านที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่าครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสนใจข่าวการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด และแสดงความคิดเห็นโดยมีเจตนาสื่อสารกับผู้อื่นอย่างไร

   จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาได้ใช้ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2551 ถึง 20 มกราคม 2552 จำนวน 30 วัน เพื่อศึกษาข่าวที่ปรากฏบนเว็บไซต์ทั้งสองแห่ง ประกอบด้วย ข่าวการศึกษาจาก http://www.kruthai.info จำนวน  132 ข่าว ข่าวการศึกษาจาก http://www.krobannok.com  จำนวน  172 ข่าว รวมข่าวการศึกษาทั้งสิ้น  304 ข่าว และศึกษาความคิดเห็นต่อข่าวการศึกษาที่มีผู้อ่านมากที่สุดในลำดับที่ 1 – 5  จำนวน 516 ความคิดเห็น ผลการศึกษา พบว่า

   ข่าวการศึกษาที่ปรากฏในเว็บไซต์ มากที่สุด คือ ข่าวเกี่ยวกับเรียนฟรี 15 ปี รองลงมาคือ ข่าวปฏิรูปการศึกษา

                   ข่าวการศึกษาที่มีผู้อ่านมากที่สุด เป็นข่าวเกี่ยวกับวิทยฐานะ ข่าวการศึกษาที่มีผู้อ่านน้อยที่สุดได้แก่ ข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา

                   เจตนาการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษาในเว็บไซต์ชุมชนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พบมากที่สุดคือการบ่น

ข้อสังเกต

                ข่าวการศึกษาที่ปรากฏในเว็บไซต์ มากที่สุด คือ ข่าวเกี่ยวกับเรียนฟรี 15 ปี รองลงมาคือ ข่าวปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการรับตำแหน่งใหม่ของรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีการแถลงนโยบาย และประกาศ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

                ผู้อ่านสนใจข่าวเกี่ยวกับวิทยฐานะมากที่สุด เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการประกาศผลการประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในช่วงเวลาเดียวกันมีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้ไม่ผ่านการประเมิน โดยกระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาอนุมัติหลักสูตรเยียวยา (จากข่าวเรื่อง อนุมัติหลักสูตรเยียวยาวิทยฐานะ. http://www.kruthai.info) นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ตรวจสอบพบว่า ในการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษในหลายพื้นที่ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด เช่น บางพื้นที่แต่งตั้งผู้ที่ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้เป็นคณะกรรมการประเมิน ขณะที่บางพื้นที่ก็แต่งตั้งบุคคลไม่ตรงกับสาขาวิชา เช่น ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ สาขาภาษาไทย จากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.กำหนดให้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สาขาก่อนประถมศึกษา ซึ่งเป็นคนละสาขา เป็นต้น (ข่าว ครูอึ้ง!" อ.ก.ค.ศ.เขตฯตั้งกก.ประเมินผิดหลัก ก.ค.ศ.สั่ง"โละ"ตั้งใหม่. http://www.kroobannok.com, 2552)

                   มีผู้ขอรับการประเมินเพื่อเข้าสู่วิทยฐานะในระดับที่สูงขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแรงจูงใจ 2 ประการคือ แรงจูงใจในเรื่องค่าตอบแทนและเงินเดือนที่สูงขึ้น  กับระบบโครงสร้างของเงินเดือน ที่กำหนดเพดานในระดับชำนาญการ คือ 33,540  บาท หากไม่ทำผลงานเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น จะทำให้เงินเดือนถึงระดับเพดานสูงสุด มาก ดังนั้น ข่าวเกี่ยวกับวิทยฐานะ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้อ่านให้ความสนใจ

                   ส่วนเรื่องที่ผู้อ่านเว็บไซต์ให้ความสนใจน้อย คือ การปฏิรูปการศึกษา เป็นที่น่าสังเกตว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นหน้าที่หลักของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิรูป โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง พบว่าการดำเนินงานของครูมีเพียงร้อยละ 50 – 60 เท่านั้น นอกจากนี้ จากผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน พบว่า ยังอยู่ในระดับปรับปรุงถึงร้อยละ 40 – 60  (วิทยากร  เชียงกูล, 2550) นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาของการปฏิรูปการศึกษา พบว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จในหลายๆ ด้าน จึงเกิดคำถามขึ้นว่า เหตุใดผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการปฏิรูปศึกษาโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนจึงมีความสนใจในเรื่องดังกล่าวน้อย

                   ส่วนเจตนาการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษาในเว็บไซต์ชุมชนครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า เจตนาการสื่อสาร เพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษาในเว็บไซต์ทั้งสองเว็บไซต์ที่พบมากที่สุดคือการบ่น ซึ่งเป็นการระบายอารมณ์ความรู้สึก ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ด้วยความอึดอัดใจ โดยเฉพาะเรื่องที่สนใจ คือเรื่องวิทยฐานะ สะท้อนให้เห็นว่าทางออกของครูและบุคลากรทางการศึกษาเมื่อเจอปัญหาอึดอัดใจในการประกอบอาชีพคือการยอมรับสภาพด้วยความไม่เต็มใจ

เจตนาของเว็บไซต์ชุมชนครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ ต้องการให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาที่ผู้อ่าน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ แต่เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์เป็นช่องทางที่ผู้ส่งสารไม่ได้เห็นหน้ากัน จึงมีผลทำให้มีความกล้าแสดงออกความคิดเห็นที่ขัดแย้งอย่างรุนแรง จากผลการศึกษาพบว่า กลวิธีที่ผู้ส่งสารเลือกใช้จึงมีเจตนาแสดงความรุนแรง เช่น เสียดสีประชดประชัน ตำหนิ ประณาม โต้แย้ง ต่อว่า เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่างจากการสนทนาที่เผชิญหน้ากันในชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ส่งสารจำเป็นที่จะต้องรักษาหน้าของอีกฝ่ายในการสนทนา การแสดงความคิดเห็นจึงไม่รุนแรง

สังคมไทยถูกมองว่าเป็นสังคมที่อ่อนน้อมถ่อมตน ที่มีนิสัยประนีประนอม แต่จากผลการศึกษาลักษณะการแสดงความคิดเห็นให้ผลตรงกันข้าม คือ การแสดงความคิดเห็นที่มีต่อข่าวการศึกษา ในเว็บไซต์จึงมีลักษณะเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ผู้แสดงความคิดเห็นจึงมีเจตนาแสดงความคิดเห็นในเชิงลบมากกว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

                ปัจจัยด้านเหตุการณ์ในขณะนั้นก็มีส่วนส่งผลต่อความสนใจในข่าวการศึกษาและการแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง เนื่องจากช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล อยู่ในช่วงรัฐบาลใหม่เข้ามารับตำแหน่งในกระทรวงต่างๆ และเป็นช่วงประกาศผลการประเมินให้ได้รับตำแหน่งวิทยฐานะที่สูงขึ้น รวมถึง เป็นช่วงที่ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสำหรับผู้ไม่ผ่านการประเมิน  ดังนั้นประเด็นวิทยฐานะ จะมีโดยตลอดเท่าที่เหตุการณ์ยังดำเนินอยู่ ทำให้มีผู้เข้ามาอ่านข่าวและแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก แสดงว่า ปัจจัยด้านบริบทภายนอก หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมีส่วนอย่างมากต่อความสนใจข่าวการศึกษาและการแสดงความคิดเห็น

                การศึกษาเจตนาของผู้แสดงความคิดเห็น โดยใช้เจตนาของภาษาเป็นเครื่องมือในการมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากจะสะท้อนภาพของครูและบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและคุณภาพชีวิตให้เห็นอย่างเด่นชัดแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเจตนาในการแสดงความคิดเห็นปรากฏในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

                นอกจากนี้ ผู้ศึกษายังได้ตั้งกระทู้ถามความรู้สึก/ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้อ่าน เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของคนในวงการศึกษา ที่มีต่อข่าวในเว็บไซต์ทั้งสองแห่ง ซึ่ง มีผู้แสดงความเห็นว่า ครูเป็นมนุษย์ปุถุชนทั่วไปที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง การแสดงความคิดเห็น เป็นการระบายความรู้สึกของคนที่มีความทุกข์ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด วิทยาการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อครูและวงการศึกษา เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ดีเกี่ยวกับอะไรก็ได้ โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ซึ่งบางครั้งการที่จะร้องเรียนยังเขตพื้นที่หรือสำนักงานนั้น เป็นเรื่องยากในการปกปิดไม่ให้ผู้อื่นรู้ เพราะกลัวเสียงชื่อสำนักงานหรือเขตพื้นที่ แต่การได้มาพูดหรือบรรยายความรู้สึกทางเว็บรู้สึกดีกว่าร้องเรียนไปที่เขตพื้นที่การศึกษาฯ รวมทั้งเป็นการสะท้อนความรู้สึกหรือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้อ่านได้บ้าง  ส่วนข้อเสนอแนะที่มีต่อการแสดงความคิดเห็นนั้น ควรเลือกบริโภคแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและการศึกษา ผู้ตั้งกระทู้ควรมีวิจารณญาณโดยตั้งกระทู้ในเรื่องที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ ควรแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ มีการแนะนำ แบ่งปัน ให้กำลังใจ หรือเสนอแนะ วิพากษ์ ข่าวสารต่างๆ เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงของสถานการณ์ทางการศึกษาที่เปลี่ยนไปทุกวัน

                ข้อสังเกตที่พบอีกประการหนึ่งนอกจากความสนใจที่มีต่อข่าว และเจตนาในการแสดงความคิดเห็นของผู้อ่าน คือ การใช้ภาษาของผู้อ่านข่าวการศึกษาในเว็บไซต์ ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังมีการใช้ภาษาไม่ถูกต้องอยู่ หลายลักษณะ ได้แก่

การใช้ภาษาอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น

อันไหนเป็นประโยชน์ก็เลือกรับดีกว่าครับ ในประเทศที่เจริญแล้วที่พูดภาษาประกิต

ก็ยังมีการโพสต์ด่ากันในเว็บบอร์การศึกษาครับ ว่ารัฐบาลก้อมี พอดี ผมอ่านภาษาประกิต

เก่งอ่ะคับประเภทเด็กทุนอ่ะนะ แต่เป็นผอ.โรงเรียนปราถม (อุอุ โตมาจากครูมัดยม รองมัดยม) ดีๆๆ สนุกๆๆดีๆๆชอบเด็กน่าร๊าก ครูก้อนิสัยน่าร๊าก (แต่แก่จัง รุ่นแม่ทั้งน้าน) อิอิ

ผอ.จ้าPosted : 2009-01-25 12:56:05   IP : (125.26.9.109)

               

                  การสะกดผิด ตัวอย่างเช่น

การประเมิน วฐ. แบบที่ประเมินอยู่ ทำให้การศึกษา ตกต่ำ เพราะรุ่นปัจจุบันจ้างทำเกลือบทุกคน ที่โรงเรียน ส่ง 3 จ้างทั้ง 3 คน รายละ 5 หมื่น ส่ง มีนาคม 52 แล้วจะเกิดผลอย่างไร ในเมื่อ กคศ. ใช้วิธีการให้ครูทำแบบนี้  

Posted : 2009-01-27 13:22:54   IP : (172.10.5.112)

 

การใช้คำหยาบ ไม่สุภาพ ตัวอย่างเช่น

               จุรินทร์ มึงคิดจะทำอะไรเพื่อครูบ้างไหม ไอ้น้อง อย่าให้ เฮงซวยเหมือน สมัย ลูกนางถ้วนเป็นนายก นะ ที่ไม่อยากขึ้นเงินให้ครู แม้พูดมาแล้ว มันน่าทำให้สูญพันธุ์จริงๆพวกนี้  

               Posted : 2009-01-20 21:56:51   IP : (125.26.240.54)

              

               จากตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การใช้ภาษาไม่ถูกต้องของคนไทยในโลกอินเทอร์เน็ตนอกจากจะพบมากในวัยรุ่นแล้ว ยังพบในกลุ่มอายุอื่นด้วย โดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าว ควรจะมีความตระหนักในเรื่องการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป

 

ข้อเสนอแนะ

1.                     ผู้อ่านข่าวการศึกษาควรแสดงความคิดเห็นโดยการนำเสนอข้อเท็จจริง เสนอแนวคิดและทางออกอย่างสร้างสรรค์ ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านคนอื่น ในการนำความรู้ ข้อคิดเห็นไปปฏิบัติได้

2.                     ควรมีการนำเสนอสภาพความเป็นจริงและความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาต่อหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา

3.                     ควรมีการรณรงค์การใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และสุภาพในเว็บไซต์ชุมชนครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป

 

ข้อมูลในการศึกษามาจาก http://www.kroobannok.com และ http://www.kruthai.info  ผู้ศึกษาขอขอบคุณ webmaster  เว็บไซต์ทั้ง 2 แห่งเป็นอย่างสูง

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ภาพสะท้อนจากความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวการศึกษา
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์..