หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
จากจังหวัด เชียงราย

วิจัยพัฒนาการเรียนการสอน (2)
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 ก.พ. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6406 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(45.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

2.             ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

2.1      วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.2      สร้างแบบทดสอบแบบทดสอบสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์  ประเภทเลือกตอบ 4  ตัวเลือก  จำนวน 40 ข้อ

2.3      นำแบบทดสอบให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน  ประเมินความสอดคล้องระหว่างผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  กับแบบทดสอบรายข้อ

2.4      นำแบบทดสอบสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  20 คน แล้ววิเคราะห์รายข้อ เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r)

2.5        คัดเลือกข้อสอบสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ  ที่มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง  .20 - .85  และค่าอำนาจจำแนก (r)  อยู่ระหว่าง  .40 - .90   มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร  KR- 20  ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85

                   3.    การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

        3.1  ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัย แล้ววิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสร้างแบบสอบถาม

                           3.2          สร้างแบบสอบถาม แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความเหมาะสมของภาษาในแต่ละข้อคำถาม

                           3.3          ทดลองใช้แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน แล้วหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค  (Cronbach’s Coefficient of Alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .86

1.                วิธีดำเนินการทดลอง

                   การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 27 คน ดังนี้

                   1.    ชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

                   2.    นำแบบทดสอบสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ ไปทำการทดสอบกับนักเรียน แล้วบันทึกคะแนนที่ได้

                   3.    ดำเนินการสอนตามรูปแบบที่สร้างขึ้น และประเมินผลหลังการสอนแต่ละเรื่อง

                   4.    เมื่อนักเรียนได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ แล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบ

                   5.    สำรวจความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ โดยตอบแบบสอบถาม แล้วบันทึกผลการประเมิน

                    6.    การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้

1.             การพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 โดยใช้สูตร  E1/E2   นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

2.             การศึกษาสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ คำนวณหาค่าเฉลี่ย () และ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  เปรียบเทียบผลต่างระหว่าง คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้น  และทดสอบค่าที  (t-test  แบบ  Dependent) นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

3.             การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

 

ผลการวิจัย

                จากการนำรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้

                   สรุปผลการวิจัย

1.             ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ใช้เวลาในการศึกษา 15 ชั่วโมง   ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพ  (E1 /E2) เท่ากับ  80.58/80.12  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ  80/80

2.             ผลการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  หลังการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้   สูงกว่าก่อนการสอน  มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12.04  คิดเป็นร้อยละ 40.12  โดยก่อนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 12.00   หลังการสอนคะแนนเฉลี่ยเป็น 24.04  และเมื่อพิจารณาคะแนนของนักเรียนเป็นรายบุคคล  พบว่า  นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นทุกคน  โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ  16  คะแนน และต่ำสุดเท่ากับ   6  คะแนน

3.             ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน  โดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้   เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่  นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล  ส่วนข้อที่อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้แต่ละเรื่องมีความเหมาะสม  การเรียนแบบจัดการความรู้ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์  และ นักเรียนเข้าใจจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียน ตามลำดับ

                   อภิปรายผลการวิจัย

               ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ตรวจสอบประสิทธิภาพ  (E1 /E2)  เท่ากับ 80.58/80.12   เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ  80/80  อาจเนื่องมาจาก ในขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา ทฤษฎี หลักการ หรือความเชื่อต่างๆ โดยมีความครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญๆ ของระบบนั้น และได้รับการยอมรับหรือพิสูจน์ ทดสอบ ถึงประสิทธิภาพของระบบนั้นๆ มาแล้ว  ผู้วิจัยได้ดำเนินการอย่างมีระบบ โดยศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดมุ่งหมายและเนื้อหาของกิจกรรม  ให้มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ซึ่งครอบคลุมทุกมาตรฐานตามเป้าหมายของหลักสูตรที่วางไว้  ประการต่อมา ในขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบ  การสอนแบบจัดการความรู้  ได้มีการตรวจสอบแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และตรวจสอบคุณภาพและประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ  ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษา เพื่อหาข้อบกพร่องของรูปแบบ  และนำข้อพกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง  มีการทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือได้ ก่อนนำไปใช้จริง  ส่งผลให้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้จัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

    ผลการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ        การเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  หลังการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ สูงกว่าก่อนการสอน  และเมื่อพิจารณาคะแนนของนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นทุกคน อาจเนื่องมาจาก การสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 มาตรา 24  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ม.ป.ป. : 14)  คือ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติให้ทำได้  คิดเป็นทำเป็น  และการพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เป็นการออกแบบการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ  ซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆ โดยประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน  รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ ที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการ  (ทิศนา   แขมมณี.   2547 : 221)  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ วิมล  ปฐมสุรทิน (2542)  ที่พบว่า รูปแบบการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ที่เรียนจากรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น  กับนักเรียนที่เรียนจากรูปแบบการสอนของ สสวท. ไม่แตกต่างกัน  และ เชาวน์ศิริ  ธาระรัตน์ (2550)  พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  นอกจากนี้  รัฐกรณ์  คิดการ  (2551)  ยังพบว่า หลังการเรียนจากรูปแบบการสอนบนเว็บโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ รายวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   จากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน  โดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์  ที่พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  อาจเนื่องมาจาก ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนบทเรียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรูปแบบการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดหลักการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง  แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ ซึ่งแสดงว่า รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มสมรรถนะการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้สูงขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

                   จากการพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโป่งแพร่วิทยา จังหวัดเชียงราย  มีข้อเสนอแนะดังนี้

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้

                   1.    การนำรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  ควรศึกษารายละเอียดจากคู่มือครูประกอบการเรียนการสอน  เพื่อจะได้ให้ปฏิบัติตามรูปแบบ  และได้ให้คำแนะนำกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

                   2.    การนำรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้   เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน อาจปรับกิจกรรมหรือระยะเวลา   สถานที่ใช้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน

                   3.    การจัดหาสื่อและอุปกรณ์ในการเรียน ควรให้มีความเพียงพอกับนักเรียนเพื่อจะให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่มได้อย่างสมบูรณ์

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

1.             ศึกษารูปแบบการสอนรูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

2.             พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง วิจัยพัฒนาการเรียนการสอน (2)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์..