หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์เพชรสุภา
จากจังหวัด ชุมพร

ผ่านแล้วผ่านไป
โพสต์เมื่อวันที่ : 24 ม.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6399 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ผ่านมาแล้วผ่านไป

เรื่อง ...นพ.เทอดศักดิ์  เดชคง

พฤษภาคม 2551

ผ่านมาแล้วผ่านไป

          มีคำกล่าวว่าทฤษฏีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ นั้นเป็นจริงอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความทุกข์และความสุขแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเรากำลังพักร้อนอย่างมีความสุข หรือ ทานอาหารกับหวานใจก็จะรู้สึกว่า เวลานั้นช่างผ่านไปเร็วเหลือเกินเทียบกับวันเวลาที่ต้องเข้าประชุม ต้องแก้ปัญหาหรือเมื่ออยู่ต่อหน้าคนที่ไม่ชอบกันเหล่านี้ เวลาน่าจะเดินช้าลงจนรู้สึกรำคาญเอาได้ นี่คือเวลาที่สัมพัทธ์กันนั่นเอง


            คุณสันติ พนักงานอาวุโสของพนักงานการเงินแห่งหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขามีหัวหน้าที่ออกจะเจ้าอารมณ์เอาแต่ใจตนเองและแบ่งพรรคแบ่งพวก (ที่แย่ก็คือเขาไม่ใช่พวกนั่นเอง) เรื่องนี้สร้างความตึงเครียดในงาน แม้กระทั่งการจะขอลาพักร้อน ก็อาจเกิดความยุ่งยากขึ้นมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ


            ใช่แล้วครับเรื่องบางเรื่องมันก็ไม่สามารถเลือกได้มากนัก ยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ เราก็ต้องรักษางานเอาไว้ เป็นธรรมดา การจะเปลี่ยนงาน เพื่อหลบหนีปัญหาจากคนอื่นน่าจะเป็นทางออกท้ายสุดที่ควรเลือก
             แต่เราควรทำใจอย่างไรให้ทำงานต่อไปได้อย่างมีความสุขตามสมควร ?
             ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ผมได้มีโอกาสไปบรรยายที่หน่วยงานอิสระแห่งหนึ่ง โดยเป็นการอบรมแก่พนักงานอาวุโสของหน่วยงานแห่งนั้น ที่น่าสนใจก็คือคำถามที่ว่า

              “มีใครอยากมาทำงานบ้าง”  นั้น พวกเขาตอบกันประมาณสิบเปอร์เซ็นต์แน่นอนตัวเลขนี้น่าจะน้อยลงไปอีกเมื่อให้ ลูกน้องของคนเหล่านี้เป็นผู้ตอบ
               กับคำถามต่อมาว่า “ใครชอบหัวหน้าของตนเองบ้าง” ก็พบว่าคำตอบที่ได้นั้นใกล้เคียงกับคำถามแรกเป็นอย่างยิ่ง
               มีคนยกมืออยู่ 4 – 5 คน เท่านั้นจากจำนวนทั้งหมดราว  ๆ  40 คน
               หากพูดถึงเรื่องงานมันเป็นเรื่องยากที่คนเราจะได้ทำงานที่ตนเองชอบ   เรามักพบว่าตนเองต้องฝึกที่จะรักงานที่ทำ มากกว่าจะได้ทำงานที่ตนรักเสียเป็นส่วนใหญ่
 แล้วคำถามที่ว่าทำอย่างไรจึงจะทำงานอย่างมีความสุข ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข จะหาคำตอบได้จากที่ไหน
                ก็ได้จากคนที่มีความสุขยังไงล่ะ (ตอบง่ายนะ)

 

      ความเครียด.jpg


                คุณสันติ เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนเขาเองเครียดกับเรื่องหัวหน้ามากจนกลายเป็นโรคเครียด เริ่มจะนอนไม่หลับ เบื่อหน่ายกับชีวิต แต่ปัจจุบันเขาสามารถทำใจได้มากแล้ว ผมเข้าใจเรื่องนี้ดีเพราะรู้ว่าคุณสันตินั้นเขาต้องกินยาคลายเครียดและยา ต้านเศร้า เป็นประจำเพื่อรักษาอาการต่างๆรวมทั้งประคับประคองให้เขาทำงานได้ดีดังเดิม
               การใช้ยาดังกล่าวเมื่อควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีคิดก็จะทำให้ภูมิต้านทานในจิตใจนั้นเพิ่มมากขึ้น


               คุณสันติเล่าว่าเขามีเพื่อนร่วมงานอยู่คนหนึ่งซึ่งก็ “ไม่ใช่พวก”  ของหัวหน้า เช่นเดียวกัน และก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์งาน รวมทั้งได้รับงานที่ยุ่งยากอยู่เสมอๆ แต่แม้จะมีความทุกข์กับงานเหล่านี้ คุณ “ณี”  เพื่อนร่วมงานคนนี้ก็ยังสามารถเอาตัวรอดได้  ก็ด้วยเหตุผลว่าเธอมี “เพื่อนร่วมทุกข์”  อยู่หลายคน เธอไม่ใช่คนเดียวที่ประสบปัญหานี้

                ใช่แล้วครับ หากเรารู้ว่าปัญหาของตน (ความล้มเหลว  การสูญเสีย ปัญหาต่างๆ) นั้นมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ตรงกันข้ามเราต่างก็มีเพื่อนร่วมโลก ซึ่งมีความทุกข์เหมือนกับเรา หรือแม้แต่มากกว่าเรา เราก็จะรู้สึกดีขึ้นมีความอดทนมากขึ้นได้


                  วิธีคิดต่อมานั้นสำคัญมากก็คือการมองว่า เรื่องราวความทุกข์ต่าง ๆ นั้นล้วนผ่านมาแล้วผ่านไป
 ที่ จริงก็ไม่ใช่เฉพาะเรื่องทุกข์ หรือปัญหาเท่านั้นหรอกที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เรื่องความสุขเสียอีกที่ชัดเจนว่า เมื่อมาแล้วจะต้องผ่านไปในไม่ช้า
                  เรื่องผ่านมาแล้วผ่านไปในกรณีของคุณณี นั้น หากมองประเด็นของหัวหน้าว่า “มา” แล้วก็ไป ก็นับว่าถูกต้อง แต่อาจช้า คือใช้เวลาหลายปี แต่สำหรับการมองงานหรือความยุ่งยากนั้นว่า ผ่านมาแล้วผ่านไปได้ก็จะรู้สึกเร็วกว่ากันมาก

                  งาน ล่าสุดที่เธอได้รับคือการจัดนิทรรศการที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั้นทำให้เธอเบื่อมากแต่เธอก็บอกว่า เวลาอันยุ่งยากนั้นจะผ่านไปได้ในที่สุด

                 ความเครียด 1.jpg
                  อย่างไรก็ตามการมองว่าผ่านมาแล้วผ่านไปนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องงอมืองอเท้า รอให้มันผ่านไป แต่เราควร “ทำอะไรบางอย่าง” เพื่อประคองตนเอง  ผ่อนหนักเป็นเบาหรือแม้กระทั่งแก้ไขสถานการณ์ก็ด้วย
                  เราคงไม่ได้รอให้ปัญหาจากงานหรือคนนั้นดีขึ้นเอง แต่เราควรป้องกันแก้ไขปัญหาหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปด้วย
                   นั้นก็หมายความว่าแม้ว่าเราจะเจอกับปัญหากับคนกับงานก็ตามเราควรทำอะไร บางอย่าง (ผมชอบเรียกว่า เทคแอคชั่น) ดังเรื่องที่คุณณี พยายามวางแผนทำงานเป็นเรื่องดี แม้ว่าจะถูกมองว่ายังทุ่มเทได้ไม่เพียงพอ
                   การเทคแอคชั่น เป็นไปเพื่อสร้างความสมดุลของการรอคอยให้ปัญหาหรือความทุกข์ผ่านไปนั้นเอง
 การ ทำอะไรบางอย่างนี้ อาจเป็นการทำงานอย่างเต็มที่โดยเปลี่ยนเป้าหมาย จากเดิมเป็นการได้รับความชื่นชมหรือได้ 2 ขั้น กลายมาเป็นการได้เรียนรู้ได้ประสบการณ์ก็ได้
                ระหว่างที่ รอคอยให้ปัญหานั้นเบาบางลงหรือได้รับการแก้ไข คุณก็อาจถือโอกาสเข้าวัดทำบุญปฏิบัติธรรม (เรียกว่าเป็น แอคชั่นแบบสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง)
             หลักทั้ง 3 ข้อ คือ      

                                      การมองว่า ปัญหานี้ มิใช่ มีเพียงเรา
                                      การมองว่าปัญหานั้นผ่านมาแล้ว จะต้องผ่านไป
                                      การทำอะไรบางอย่างเพื่อบรรเทาเบาบางปัญหา   

             จัด ว่าเป็นหลักสำคัญ3 ข้อ ที่ทำให้คนเราผ่านพ้นความทุกข์ไปได้ ใครที่มีความทุกข์ซึ่งเลือกไม่ได้ อาจต้องลองใช้หลัก 3 ข้อ ซึ่งผู้บรรลุธรรม (ในชีวิตประจำวัน) ได้เห็นพ้องต้องกันแบบนี้ดูบ้างครับ

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ผ่านแล้วผ่านไป
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์เพชรสุภา
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์เพชรสุภา..