หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ธรรมศักดิ์ กาญจนบูรณ์
จากจังหวัด สุพรรณบุรี

เตือนภัย..!! ออนไลท์..!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 2 ม.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6409 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(71.43%-7 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

ยักษ์สีฟ้า "ไอบีเอ็ม" ออกโรงเตือนผู้ใช้ออนไลน์ระวังความเสี่ยง 5 รูปแบบช่วงเทศกาลปีใหม่ พร้อมแนะทางหลบเลี่ยงภัย โดยเฉพาะการซื้อขายออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท


จากปัจจุบันมูลค่าการทำธุรกรรมผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (B2C) มีสูงถึง 47,501 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เก็บข้อมูล ขณะที่มูลค่าการซื้อขายออนไลน์ ก็มีไม่น้อยกว่า 305,159 ล้านบาท จากตัวเลขเมื่อปี 2549 ที่จัดทำโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ความเสี่ยงต่อภัยออนไลน์จึงมีสูง


หน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของไอบีเอ็ม (ไอเอสเอส) รายงานว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งที่เป็นผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจต้องระวังความเสี่ยงด้านออนไลน์ 5 รูปแบบ รวมทั้งเสนอแนะวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางออนไลน์ต่างๆ

ต้องรู้ทันมัลโค้ดแอบแฝง

ความเสี่ยงด้านออนไลน์ทั้ง 5 รูปแบบ ประกอบด้วย

รูปแบบที่ 1 สแปมเมลโค้ดอันตรายหรือมัลโค้ด (Malcode)
ที่มีแอบแฝงมามากขึ้น โดยมัลโค้ดผ่านอีเมลหัวข้อ "สวัสดีปีใหม่" จะเข้ามาโจมตีและฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมระยะไกลของอาชญากร เพราะฉะนั้น ไม่ควรเปิดเมลที่ไม่น่าไว้วางใจ ในช่วงเทศกาลนี้


รูปแบบที่ 2 หัวข้อใหม่ทางด้านฟิชชิ่ง
"การควบรวมกิจการของธนาคาร" ขณะที่ธนาคารหลายๆ แห่งกำลังประสบปัญหาจนต้องควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินอื่นๆ ทีมงานไอบีเอ็ม คาดว่าอาชญากรจะใช้ประโยชน์จากความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนของผู้บริโภคในธุรกิจธนาคารเพื่อโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ระลอกใหม่ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อหลอกลวงให้ลูกค้าธนาคารเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อาทิเช่น เลขบัญชี และรหัสผ่าน เป็นต้น


หน่วยงานไอเอสเอส ยังรายงานว่า รูปแบบที่ 3 ซึ่งพบการโจมตีออนไลน์ คือ ขบวนการฟิชชิ่งจะนำเสนอพอร์ทัลปลอมสำหรับการสั่งซื้อสินค้าแบรนด์ดังผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังจะโปรโมทเว็บไซต์ต้มตุ๋นเหล่านี้ผ่านทางอีเมล พร้อมทั้งข้อเสนอส่วนลดที่ดึงดูดใจ อาทิเช่น กิจกรรม "ลดล้างสต็อก" เป็นต้น


ระวังโค้ดแปลกปลอม


รูปแบบที่ 4 ของเล่นและอุปกรณ์ที่มีโค้ดแปลกปลอม ในช่วงเทศกาลปีใหม่
ที่มักจะมอบของขวัญพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แก่กัน ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างอาจจะติดตั้งมัลแวร์เอาไว้ ซึ่งอาชญากรในโลกไซเบอร์อาจใช้เป็นช่องทางแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร


รูปแบบที่ 5 การท่องเว็บกลายเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง
เพราะอาชญากรในโลกไซเบอร์ได้พยายามปรับเปลี่ยนเว็บไซต์สาธารณะหลายแห่ง และจัดการซ่อนลิงค์แปลกปลอมไว้บนเว็บไซต์เหล่านั้น เมื่อผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เหล่านี้ ลิงค์ที่ซ่อนอยู่ก็จะใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของเว็บเบราเซอร์ และติดตั้งมัลแวร์ที่จะดึงเอาข้อมูลลับของผู้ใช้หรือข้อมูลองค์กรมา เพื่อประโยชน์ในทางมิชอบได้


ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องป้องกันตัวเองและองค์กรของก่อนไว้ อาทิเช่น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรระมัดระวังกับการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าเปิดไฟล์นั้นๆ ติดตั้งแพตช์ด้านความปลอดภัย (Security Patch) อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัพเดท หรือแพตช์สำหรับเว็บเบราเซอร์ และปลั๊กอินต่างๆ อาทิเช่น Quicktime Flash Acrobat เป็นต้น


ขณะเดียวกัน อย่าใช้ "อุปกรณ์เสริม" ที่ไม่ได้รับอนุญาตบนเครือข่ายขององค์กร โดยผู้ใช้ไม่ควรเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านทางพอร์ตยูเอสบี ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายของบริษัท เพราะการเจาะเครือข่ายองค์กรผ่านทางอุปกรณ์ยูเอสบี นับเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ที่กำลังเกิดขึ้นกับหลายๆ องค์กร


ต้องรอบคอบก่อนเชื่อมต่อ


ทีมงานไอบีเอ็ม แนะนำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในองค์กรตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์แปลกใหม่ๆ เข้ากับเครื่องโน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัท


นอกจากนี้ ต้องเก็บรหัสส่วนตัว หรือ PIN (Personal Identification Number) ไว้เป็นความลับเสมอ เนื่องจากบางกรณี การแอบอ้างและการต้มตุ๋นที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิต


ดังนั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรเปิดเผยรหัสส่วนตัว หรือพินโค้ดให้แก่เว็บไซต์ใดๆ หรือใครก็ตามที่แฝงตัวมาเหมือนเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในทำนองเดียวกัน ผู้บริโภคก็ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ได้รับสายจากผู้อื่น เนื่องจากอาชญากรเริ่มหันมาใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนตัวกันมากขึ้นนั่นเอง
 

"แม้ว่าในช่วงเทศกาลวันหยุดและปีใหม่ หลายคนคงเร่งรีบจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อของขวัญให้กับคนใกล้ชิด ดังนั้น เมื่อเลือกความสะดวกสบายและความรวดเร็วด้วยการเลือกซื้อของผ่านทางออนไลน์ ก็ต้องระมัดระวังการถูกโจมตีดังกล่าวไว้ด้วย เพื่อให้ช่วงเทศกาลดังกล่าวเป็นเทศกาลส่งความสุขอย่างแท้จริง"

 

ที่มา ที่นี่.คอม

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เตือนภัย..!! ออนไลท์..!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ธรรมศักดิ์ กาญจนบูรณ์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ธรรมศักดิ์ กาญจนบูรณ์..