หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัตน์ชัย ศรสุวรรณ
จากจังหวัด ราชบุรี

เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้
โพสต์เมื่อวันที่ : 28 พ.ย. 2551 IP : เปิดอ่าน : 6412 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากับข้อโต้แย้งและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนปากท่อพิทยาคมที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
 
1. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 
          ม.37 บัญญัติว่า การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรวัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
          ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(1)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ
 สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
(2)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา
ตามอัธยาศัย
(3)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(4)        การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่
การศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมายฉบับนี้
1.            แก้ไขมาตรา 37 ในวรรค 1 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขต
พื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.            เพิ่มเติมวรรคท้ายในมาตรา 37 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามี
อำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
1.            ความสำคัญของข้อเสนอแนะให้แก้ไขมาตรานี้คือให้เพิ่มเติมสาระว่า “...โดย
คำนึงถึงระดับการศึกษา...” กรณีนี้เห็นว่าผู้เสนอแนะให้ความสำคัญกับการเพิ่มสาระว่า “ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรณีนี้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมความดังกล่าวเนื่องจาก พ.ร.บ.นี้
ได้กำหนดและให้ความสำคัญกับการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยคำนึงถึง “ระดับการศึกษา” ไว้แล้วในหมวดที่ 4 เรื่อง แนวการจัดการศึกษา โดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 26 และมาตรา 28
       2. ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมในวรรคท้ายของมาตรา 37 มีสาระสำคัญว่า “...ให้รัฐมนตรี
โดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประถมศึกษาและมัธยมศึกษา”
      เรื่องนี้เห็นว่าสาระของการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติม
ข้อความให้มีความชัดเจนขึ้นเท่านั้นหากไม่เพิ่มเติมข้อความดังกล่าวก็สามารถดำเนินการให้มีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาได้เนื่องจาก
-                   ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไว้
-                   แนวการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.นี้ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารและจัด
การศึกษาให้คำนึงถึงระดับการศึกษาและยังได้มีกฎกระทรวงศึกษาธิการได้
บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่าระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐานแยกเป็นการศึกษาระดับประถมศึกษาและการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ข้อค้นพบจากงานวิจัยต่างๆพบว่า “ผลการจัดการศึกษาโดยการรวมการจัดการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับระดับประถมศึกษาไว้ในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกันส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำและยังส่งผลให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการศึกษาอีกมากมาย” ข้อค้นพบดังกล่าวนี้จึงสามารถหยิบยกไปเป็นเหตุผลที่สำคัญในองค์ประกอบของการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาเรื่อง “ความเหมาะสมด้านอื่น”
 
 
กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 
ม.38 “ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 
จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายว่า “ในการดำเนินการกับสถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ที่ให้เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายตามข้อเสนอแนะดังกล่าวนั้นเห็นว่าไม่จำเป็นเนื่องจาก
-                   กรณีนี้สามารถกำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  โดยกระทรวงศึกษาธิการสามารถออกเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดภาระหน้าที่ให้เป็นของเขตการศึกษาใดเขตการศึกษาหนึ่งก็ได้
 
กฎหมายที่เสนอให้แก้ไข
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้แก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนกรรมการเขตพื้นที่
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายนี้
กรณีนี้เห็นว่าผู้เสนอแนะมิได้ให้ความชัดเจนว่าจะต้องแก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนกรรมการเขตพื้นที่ไว้ว่าเป็นอย่างไร
            เมื่อพิเคราะห์จากข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 ที่บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า “ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15 คน” แล้วเห็นว่าบทบัญญัติในเรื่องจำนวน ประเภทตลอดจนคุณสมบัติของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา นั้นไม่เป็นอุปสรรคใดๆในเรื่องของการประกาศตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใด
 
2. กฎหมายที่เสนอให้แกไข
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 
          ม.33 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรวัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
มาตรา 33 แก้ไขเหมือนมาตรา 37 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ไม่จำเป็นต้องแก้ไขมาตรานี้โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับที่ได้ให้ไว้แล้วใน 1
 
3. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
ม.36 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชนผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคม ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 
            จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
            ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายว่า “ในการดำเนินการกับสถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อความในวรรคท้ายของมาตรานี้โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับที่ให้ไว้แล้วคือ
-                   กรณีนี้สามารถกำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
กระทรวงศึกษาธิการสามารถออกเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดภาระหน้าที่ให้เป็นของเขตการศึกษาใดเขตการศึกษาหนึ่งก็ได้
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
เพิ่มบทเฉพาะกาล รมว. มีอำนาจเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เหมือนกับ ม.76 วรรค 2 เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
            กรณีนี้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมความดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 แต่อย่างใดเพราะในการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมาแม้ไม่มีความดังกล่าวบัญญัติไว้ในพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายได้
4. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ม.7 เพิ่มผู้แทนใน (5)
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
            กรณีนี้เห็นว่าในชั้นนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพราะความในมาตรา 7 ที่มีอยู่เดิม มิได้เป็นข้อจำกัดในการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากจะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมก็สามารถดำเนินการได้ในภายหลังที่มีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแล้ว
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ม.21(4) แห่ง พ.ร.บ.ครูและบุคคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ให้แก้ไขตัวแทนประถมมัธยมในองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายนี้
            กรณีนี้หากพิเคราะห์จากเจตนารมณ์ ของพ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 21(4)แล้วเห็นว่ามีเจตนารมณ์เพื่อต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องการบริหารงานบุคคลในกรณีที่มีการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
            อย่างไรก็ตามหากมีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา องค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่มีผู้แทนครูประถมศึกษา และผู้แทนผู้บริหารประถมศึกษาก็มิได้เป็นข้อจำกัดในการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใดเพราะการไม่มีผู้แทนครูประถมศึกษาและผู้แทนผู้บริหารประถมศึกษาในการประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาก็มิได้ทำให้เสียความเป็นธรรมหรือขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด
            สำหรับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเดิมนั้นเห็นว่าเมื่อเขตพื้นที่การศึกษาเดิมไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาฝ่ายมัธยมศึกษาที่ทำหน้าที่เป็น ผู้แทน อ.ก.ค.ศ.ในเขตพื้นที่การศึกษาเดิมก็ต้องพ้นสภาพไปทันทีเมื่อมีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเนื่องจากเขตพื้นที่การศึกษาเดิมไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้เพิ่มบทเฉพาะกาลให้ อ.ค.ก.ศ.เดิมดำรงตำแหน่งให้ครบวาระ 
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
            กรณีไม่จำเป็นต้องเพิ่มบทเฉพาะกาลด้วยเหตผลดังกล่าวข้างต้น
หมายเหตุ เหตุผลข้อโต้แย้งดังกล่าวข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ เท่านั้น ไม่ผูกพันหน่วยงานใด และเป็นความเห็นที่เสนอด้วยความเคารพต่อผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง
 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัตน์ชัย ศรสุวรรณ
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัตน์ชัย ศรสุวรรณ..