หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก
จากจังหวัด นครราชสีมา

ผลงานทางวิชาการ...กับปัญหาที่ไม่ผ่าน!!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 14 ต.ค. 2551 IP : เปิดอ่าน : 6424 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(77.07%-41 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ผลงานทางวิชาการ...กับปัญหาที่ไม่ผ่าน!!!การประเมินวิทยฐานะของครู

.....

 

ผลงานทางวิชาการ...กับปัญหาที่ไม่ผ่าน!!!


    

          เท่าที่ผู้เขียนเคยทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นมาเมื่อหลายปีที่ผ่านมานั้นทำให้พบว่ามันก็มีปัญหาในตัวของมันเองอยู่หลายประการด้วยกัน...คือถ้าพูดเข้าข้างตัวเองหน่อยก็จะว่าผลงานตัวเองนั้นดี...ถึงแม้จะไม่ดีเลิศประเสริฐศรี...แต่ก็น่าจะผ่านเกณฑ์การประเมินไปได้ (ข้อนี้เป็นธรรมชาติของคนรวมทั้งผู้เขียนเองด้วยที่จะคิดเช่นนั้น)...แต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ท่านเป็นผู้ตรวจอาจจะไม่ได้คิดเหมือนเรา...ไม่เคยพูดคุยกับผู้ตรวจหรอก...แต่เคยศึกษาจากเอกสารเขาเขียนไว้ว่า...ถ้าผลงานดีก็อนุมัติเลย...ผลงานพอใช้ได้ก็จะให้แก้ไขปรับปรุงหรือขอเอกสารเพิ่มเติม...ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีแต่มันไม่ผ่านเกณฑ์...ก็จะไม่อนุมัติ  ซึ่งท่านได้ให้ข้อสังเกตด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการในเรื่องความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระว่า...ส่วนใหญ่ยังขาดความกระจ่างชัดและความต่อเนื่อง  รองลงมาคือขาดความถูกต้อง  ทันสมัย  และความประณีตของผลงาน  เช่น  พิมพ์ผิด  ตัวสะกดผิด  แบบฟอร์มไม่ถูกต้อง  ฯลฯ  ส่วนในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น  ส่วนใหญ่ยังขาดการรายงานผลการใช้หรือมีแต่ยังไม่ชัดเจนไม่สมบูรณ์  สำหรับประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ  ในเรื่องประโยชน์ต่อนักเรียน  นักศึกษาส่วนใหญ่เนื้อหามีการอธิบายที่สั้น  สับสนไม่ชัดเจน  รองลงมาคือเนื้อหามีประโยชน์ต่อนักเรียน  นักศึกษาน้อย  และเนื้อหาไม่มีอะไรแปลกใหม่  ไม่น่าสนใจ  ส่วนในเรื่องประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่สมควรที่จะนำไปอ้างอิงหรือเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการ...ท่านว่าของท่านไว้อย่างนั้น

          ในส่วนของตัวผู้เขียนนั้นยังเคยโดนเพื่อนครูด้วยกันสบประมาท...มากับตัวเองเลยว่า...มีครูจำนวนไม่น้อยที่ยังหาค่า S.D. ค่า T-test ไม่เป็นเลย (ที่จริงเขาไม่ได้สบประมาทหรอกเพราะมันก็จริงเหมือนที่เขาพูด)...เพราะผู้เขียนเองก็คิดไม่ได้  ทำไม่เป็นในตรงนั้นจริงๆ  ถึงกระนั้นพอได้ยินก็ยังถึงกับอึ้งไปเลย...เออ!!! มันก็จริงของเขานี่หว่า???  แต่ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูก็ทำให้ฉุกคิดได้ว่า  ก็ในเมื่อไม่รู้  ในเมื่อไม่เป็น  แต่มันจำเป็นจะต้องใช้  มันก็น่าจะมีวิธีการเรียนรู้ได้นะ...คิดได้ดังนั้นก็ไปเลย...มีอบรมที่ไหนพอไปได้  ไม่ไกลจากบ้านจนเกินไป...ครูสุทธิพรไปหมดเพราะอยากจะทำได้  อยากจะทำเป็น...วิทยากรก็แนะนำสูตรนั้นสูตรนี้ดีเหลือหลาย  แต่ครูสุทธิพรก็ยังไม่กระจ่างซักที...มีปัญหาซะแล้ว  เริ่มมีความเครียด  วิตก  กังวล  เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยในชั้นเรียน  หรือการรายงานการใช้สื่อ/นวัตกรรม  มันก็มักจะมีปัญหาในส่วนของบทที่ 3  บทที่4  และบทที่5  เพราะมันยากอย่าว่าแต่ผู้เขียนเองเลยลองสอบถามเพื่อนครูหลายๆ คน  ก็ไม่ถนัด  ไม่เข้าใจเหมือนกัน (แต่ก็ดีใจที่มีเพื่อน)  ส่วนบทที่1 และ2 นั้นไม่มีปัญหา  แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งเหมือนโชคชะตา...ฟ้าลิขิต.........(พูดเหมือนหนังจีนกำลังภายในเลยเน๊าะ)  ผู้เขียนก็ได้พบกับหนทางที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง (คิดว่ายังงั้นนะ) จากนี้ไปเราจะมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน...เพราะความพยายามอยู่ที่ไหน  ความสำเร็จอยู่ที่นั่น  คุณครูของผู้เขียนเคยพูดไว้เมื่อ 28 ปีที่ผ่านมาว่า...สุทธิพร...ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น  ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย  ลำบากก่อนจะสบายเมื่อปลายมือ...ลองอ่านดูนะครับว่าปัญหาของคุณครูเหมือนกับปัญหาของผู้เขียนหรือไม่???

          ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน  หรือการจัดทำผลงานทางวิชาการก็ดี  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล  มีการใช้ค่าสถิติตัวเลขในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งวิธีการหาค่าสถิติของคุณครูแต่ละคนก็แตกต่างกันไป...บางคนคิดเองคำนวณโดยใช้เครื่องคิดเลข  บางคนก็อาศัยไหว้วานเพื่อนครูที่มีความรอบรู้ทางด้านนี้ทำให้  บางคนใช้โปรแกรม Excel  และอีกบางคนก็ใช้โปรแกรม SPSS หรือวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวมาก็ว่ากันไปตามความต้องการและตามความถนัดซึ่งถือว่าเป็นความสามารถของแต่ละบุคคล...เท่าที่ผู้เขียนได้ศึกษาก็พบว่าค่าสถติที่จำเป็นที่จะต้องใช้จริงๆ ก็จะมีการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ( S.D. ) และค่าที (T-test) ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และคะแนนทดสอบหลังเรียน(Post-test)

          นอกจากนั้นก็ยังมีการใช้สถิติกับการรายงานการใช้สื่อการเรียนการสอน  นวัตกรรมต่างๆ เช่น  เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ (เดิมเรียกว่าเอกสารประกอบการสอน)  บทเรียนสำเร็จรูป  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  แบบฝึกทักษะ  ชุดฝึกต่างๆ ฯลฯ ที่คุณครูสร้างขึ้น  เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการใช้มาตรฐานร้อยละของกิจกรรมต่อร้อยละของคะแนนทดสอบหลังเรียนโดยใช้สูตร  E1 / E2  ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์ก็จะต้องคำนึงถึงกระบวนการและผลลัพธ์  โดยกำหนดตัวเลขเป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยซึ่งมีค่าเป็น  E1 / E2  

          E1  หมายถึง  ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการคิดเป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกหัดและการประกอบกิจกรรม

          E2  หมายถึง   ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในตัวผู้เรียนหลังเรียน  คิดเป็นร้อยละของคะแนนทดสอบหลังเรียน

          การที่จะกำหนดว่าค่า  E1 / E2  มีค่าเท่าใดนั้นแล้วแต่ผู้ผลิตสื่อซึ่งก็คือตัวของคุณครูเองจะต้องพิจารณา  ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะธรรมชาติของวิชา  เช่น  วิชาที่มีลักษณะเป็นเนื้อหาความรู้  ความจำ  อาจจะกำหนดเกณฑ์ E1 / E2  ที่ระดับ 80/80  ถึง 90/90  ส่วนวิชาที่เน้นทักษะปฏิบัติอาจจะกำหนดที่ระดับ  75/75  ขึ้นไป

          จะเห็นได้ว่าสูตรการหาค่าสถิติที่ใช้กันจริงๆ และใช้กันมากก็ดังที่กล่าวมา  ซึ่งก็จะเป็น “เรื่องง่าย” สำหรับคนที่รู้และคำนวณเป็น  พูดง่ายๆ ว่าเก่งทางด้านสถิติว่างั้นเถอะ  แต่ถ้าคนที่ไม่รู้มันก็จะเป็น “เรื่องยาก” หรือ “ยากมาก”  เรียกว่า “มืดแปดด้าน” พาลไม่อยากทำวิจัยในชั้นเรียนหรือไม่อยากพัฒนาผลงานทางวิชาการ  เรียกว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากันไปเลยก็มี เรื่องดังกล่าวเคยเป็นปัญหาของตัวผู้เขียนเอง...คือคิดไม่ได้...ทำไม่เป็น  ก็อาศัยความมานะพยายามจนมาถึงวันนี้  ไอ้ที่เขาบอกว่าปอกกล้วย (ดิบ)...เข้าปากยังยากกว่า  เห็นท่าว่าเป็นเรื่องจริง...ไม่ต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน  ประหยัดเวลาแรงงานและมันสมอง  ไม่ต้องให้ใครทำให้  เกิดความภาคภูมิใจ  ดังที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามัวแต่เดินตามรอยเท้าผู้อื่น  แล้วเมื่อไรจะมีรอยเท้าเป็นของตนเอง”  ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน...ร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กันและกัน  มีปัญหาคิดอะไรไม่ออก  “ครูบ้านนอก” คนนี้ขอเป็นกำลังใจให้และยินดีที่จะเป็นเพื่อนกับคุณครูผู้ร่วมอาชีพทุกคน  ลองอ่านบทความใน Blog เรื่องราวดีๆที่นายสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก...เป็นคนเขียน  ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของคุณครูดูนะครับ...เผื่อว่าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง   

                                        ด้วยความรักและปรารถนาดี

--------------------------------------------------------------

        นายสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก

        โรงเรียนบ้านไพล  สพท.นครราชสีมา เขต 7

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ที่เบอร์นี้   084-0396633    

E-mail มาคุยกันได้ที่     Klaymuangpak@hotmail.com

 

อดีต  อาจารย์ 3 ระดับ 7-8 (เมื่อปี พ.ศ.2545) 

ปัจจุบัน  ครูชำนาญการพิเศษ  (ส่งผลงานขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ...ตอนนี้กำลังรอความหวังจากคณะกรรมการผู้ใจดีและมีเมตตาตรวจผลงานอยู่...ครับผม)

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ผลงานทางวิชาการ...กับปัญหาที่ไม่ผ่าน!!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก..