หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก
จากจังหวัด นครราชสีมา

วิจัยในชั้นเรียน : เป็นไม้เบื่อไม้เมากับครูเพราะข้อจำกัดในการหาค่าสถิติไม่คล่องวิเคราะห์ข้อมูลไม่เป็
โพสต์เมื่อวันที่ : 30 ก.ย. 2551 IP : เปิดอ่าน : 6426 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(57.50%-24 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

วิจัยในชั้นเรียน : เป็นไม้เบื่อไม้เมากับครูเพราะข้อจำกัดในการหาค่าสถิติไม่คล่องวิเคราะห์ข้อมูลไม่เป็น...จริงหรือ???

.....

 

         ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเหมือนชื่อเรื่อง  ก็เลยพยายามตั้งชื่อให้มันตรงกับสภาพจริงของตนเองให้มากที่สุด  เพราะว่าค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งหลายที่พึงมีและที่คนอื่นเขาว่ามันง่ายนักง่ายหนา  (แต่มันยากสำหรับผม...เหลือเกิน)  ไม่ว่าจะเป็นค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่าที (t-test)  ไม่เว้นแม่แต่ค่าร้อยละ และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นปัญหากับครูที่ชื่อว่านายสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก  มาโดยตลอดซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วทั้งในโรงเรียนเดียวกันและโรงเรียนละแวกใกล้เคียง  แต่...วันนี้  และนับเรื่อยไปจนถึงเกษียณอายุราชการ  บอกได้คำเดียวว่า...สบายมาก  ตอนนี้ทำได้แล้ว (คล่องด้วยนะ...ขอบอก)  ไหนๆ ผมก็ทำงานสบายและเป็นมืออาชีพเรื่องของข้อมูล  ตัวเลขสถิติมากขึ้นแล้ว...วันนี้ผมจึงอยากจะแนะนำตัวช่วยมาให้เพื่อนครูทำงาน  เพื่อที่จะทำให้ชีวิตการทำงานของครูเราง่ายขึ้น  สะดวก  รวดเร็ว  เที่ยงตรงและแม่นยำ  คือ

        ๑) โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ Version3

๒) โปรแกรมสถิติวิจัยในชั้นเรียน Version2

ทั้งสองโปรแกรมนี้จะช่วยเหลือเราได้มาก  ขอเพียงแต่เราใช้แป้นคีย์บอร์ดเป็นกดตัวเลขถูก...ก็เท่านั้น  ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์มืออาชีพดีกรีปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ผมใช้แล้วเห็นว่าดีก็เลยนำมาบอกต่อ  ตอนนี้ก็ได้พัฒนาถึง เวอร์ชั่น 2 และ 3 แล้ว  เพื่อนครูสามารถนำเอา 2 โปรแกรมนี้มาพัฒนางานในหน้าที่ของเราไม่ต้องไปอาศัย  ไหว้วานหรือจ้างใครเขาทำผลงานให้  ก็ถ้าเพียงแต่คุณครูทุกคนสามารถพัฒนาตนเองคือพัฒนางานในหน้าที่...พัฒนาเด็กในความรับผิดชอบให้เป็นคนดี  คนเก่ง  และมีความสุข  ครูก็จะสนุกรับเงินวิทยฐานะครูชำนาญการ...ครูชำนาญการพิเศษ...ครูเชี่ยวชาญ...ครูเชี่ยวชาญพิเศษ  3,500/5,600/9,900/13,000 บาท  คูณ 2 ได้...ไม่ใช่หรือ???

ซึ่งวิทยฐานะที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นไม่ได้ไกลเกินฝันหรอกครับท่าน  ขอเพียงแต่เรามี “ผลงาน”  ซึ่งผลงานที่ว่าก็คือผลงานทางวิชาการ  จัดทำ...พัฒนาให้มีคุณภาพ  ส่งขอรับการประเมินตามเกณฑ์ในแต่ละวิทยฐานะ...ก็เท่านั้น ข้อสำคัญมันก็มี “หลักเกณฑ์และวิธีการ”  กำหนดไว้ชัดเจน  แข่งขันกับเกณฑ์น่าจะง่ายกว่าแข่งกับคนด้วยกันนะครับ (เพราะไม่จำกัดปริมาณ)  ยกตัวอย่าง  เช่น  ครูน้อยหรือครูผู้สอน  1 โรงเรียนจะมีครูชำนาญการพิเศษ  ครูเชี่ยวชาญกี่คนก็ได้  แต่ผู้อำนวยการโรงเรียนเขากำหนดให้มีได้คนเดียวนะครับ.....ทีนี้ถ้าพูดถึงผลงานของครูผู้สอนมันก็หนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กนักเรียน  เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  การวัดผลประเมินผล  สื่อ/นวัตกรรม  มันก็เวียนวนอยู่แค่นี้แหละ  เพียงแต่เรารู้จักพัฒนางานในหน้าที่  เราก็จะได้ทั้งงาน  ความสุขในการทำงานแล้วเงินที่เรียกว่า “วิทยฐานะ” มันก็จะตามเรามาเองจนเราตั้งตัวไม่ติด  หายใจแทบไม่ทันไม่รู้ว่าเงินเดือนจะเอาไว้กระเป๋าไหน? เงินวิทยฐานะจะอยู่ในกระเป๋าใด?  อันนี้ไม่นับว่า  บางคนมีการ “ซุกเงินวิทยฐานะ”  ก็พอเคยได้ยินนะครับ     ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีการฟ้องร้องกันเหมือน “ซุกหุ้น”  มั๊ยก็ไม่รู้เน๊าะ

มาพูดถึงโปรแกรมสถิติวิจัยในชั้นเรียนและโปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ  นั้น...อยากจะบอกว่า  (ไม่ต้องใช้ยากันยุงจุด  ตุ๊ดตู่เจาะหรือบุหรี่จิ้ม...เพื่อเจาะกระดาษคำตอบให้เป็นรูแล้วตรวจกระดาษคำตอบทีละคน...หมดสมัยแล้วครับ  ตรวจเสร็จได้ผลแต่เพียงคะแนนอย่างเดียว)  แต่การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้เพียงแต่คุณครูพิมพ์เฉลยข้อสอบในโปรแกรมแล้วคีย์คำตอบของนักเรียนลงไปจากนั้นโปรแกรมมันจะทำสิ่งต่อไปนี้ให้คุณครูเองทั้งหมด  เช่น  (ใช้คำว่า  เช่น  แสดงว่ามันทำอะไรได้อีกมายมายมากกว่านี้)

-                    วิเคราะห์ข้อสอบปรนัยแบบอิงกลุ่ม / แบบอิงเกณฑ์

-                    วิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย

-                    ให้ค่าสถิติ  พร้อมคำอธิบายและวิจารณ์

-                    ใช้ประกอบการวิจัย  หรือประกอบการทำผลงานทั้งเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะและการคงสภาพวิทยฐานะ

-                    พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทุกประเภท  (กระดาษ A4) เข้าเล่มจัดเก็บเป็นผลงาน  เสนอผู้บริหารหรือรอรับการประเมินจากองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก  เช่น สมศ. เป็นต้น

-                    หาประสิทธิภาพของแบบทดสอบ  ได้แก่

1)   ความตรง (Validity)  ได้แก่  ดัชนี  IOC  และ  IOA

2)   ความเชื่อมั่น  (Reliability)  ได้แก่  ใช้วิธีสอบซ้ำ (Test - Retest)  ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน  (Equivalence Forms)  ใช้วิธีแบ่งครึ่ง (Split-Half)  ใช้วิธีคูเดอร์ริชาร์ดสัน  (KR-21)

-                    สามารถหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ / สื่อและนวัตกรรม / แบบฝึก,ชุดฝึก  โดยให้ค่าสถิติ  T-test  ก่อนเรียนและหลังเรียน  ให้ค่า C.V.  ให้ค่า E.I.  และให้ค่า E1/E2  ตลอดจนสามารถสรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ / สื่อและนวัตกรรม / แบบฝึก,ชุดฝึก  ดีหรือไม่ดี

-                    สามารถหาค่าสถิติวิจัยเชิงทดลอง 2 วิธี  คือ

๑)   โดยใช้กลุ่มเดียว  สอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วคีย์คะแนนหาค่าสถิติ

๒)  โดยใช้กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง  เช่น  กลุ่มควบคุมสอนแบบบรรยาย  กลุ่มทดลองสอนแบบสาธิต  นำคะแนนทั้ง 2 กลุ่ม คีย์ข้อมูลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนก็จะได้ค่าสถิติออกมาอย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้ว

-                    สามารถหาค่าสถิติวิจัยเชิงบรรยายได้  เช่น  สถิติรายข้อ (ทั้งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระและไม่เป็นอิสระต่อกัน)  เปรียบเทียบตัวแปรต้น 2 ตัวแปร  จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระและไม่เป็นอิสระต่อกัน 

และอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องลองใช้กันดู

ข้อสำคัญที่ควรทราบ  คือ  อย่าไปหวังว่าซื้อโปรแกรม  1  ชุด  แล้วจะแจกจ่ายใช้กันไปทั่วเหมือนกับเพลง  Mp3  ก๊อปดี...ก๊อปเด่น...เน้นการก๊อบ   (ขอแสดงความเสียใจล่วงหน้านะครับ)  เพราะมีแผ่น CD KEY  อีก 1  แผ่นที่เขียน Code ป้องกันการ Copy ไว้  ซึ่งจะต้องใช้คู่กับแผ่นโปรแกรม  1  แผ่นต่อ  1 CD KEY เท่านั้น  Programmer เขารู้เท่าทันนักก๊อปปี้หมดแล้ว!!!

เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย     เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส

เพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย   ดังนี้แล้วลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน

                                    -30 ลิขิตฟ้า  70 ต้องฝ่าฟัน-

ไม่มีใครที่จะได้อะไรมาโดยไม่เสียอะไรไป...นี่คือสัจธรรม

 

ผู้เขียนเองใช้มาปีกว่าแล้วเห็นว่ามันคุ้มค่ากับการลงทุนนะเพราะไม่มีวันหมดอายุ  ใช้ได้จนเกษียณกันไปข้างหนึ่งเลยละครับท่าน  แถมใครมีลูกมีเต้าก็ใช้ประกอบการเรียนก็ยังได้  ...ความจริงถ้าจะว่าไปแล้วโปรแกรมที่ดีและฟรีก็มีเหมือนกันนะ  แต่มันหาก็หายากและไม่ค่อยตรงกับที่เราต้องการใช้  เอาเป็นว่าสนใจก็สั่งซื้อ  ........ไม่สนใจก็ถือว่าคุณครูเป็นผู้ที่ให้เกียรติมากที่แวะเวียนมาอ่าน BLOG ของผม  ขอบคุณนะครับ  ขอบคุณอีกครั้งจริงๆ

 

แต่ถ้าสนใจจะสั่งซื้อ...ก็ส่งธนาณัติสั่งจ่ายในนาม

        นายสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก

        โรงเรียนบ้านไพล  81 หมู่ 9  ตำบลไพล

        อำเภอลำทะเมนชัย  จังหวัดนครราชสีมา

        ปท.ชุมพวง  30270

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ V.3    พร้อมเอกสารคู่มือ  280 + ค่าส่ง 40 บาท     =  320  บาท

โปรแกรมสถิติวิจัยในชั้นเรียน V.2 พร้อมเอกสารคู่มือ  250 + ค่าส่ง 40 บาท     =  290  บาท

        สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  084-0396633      Klaymuangpak@hotmail.com

 

        ด้วยรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนครูผู้ร่วมอาชีพทุกท่าน

รับรองว่า  นายสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก  เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงแท้แน่นอน

ที่อยู่ (ข้างบน) ที่ทำงาน คือโรงเรียนบ้านไพล

สพท.นครราชสีมา เขต 7 สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ

        อดีต          อาจารย์ 3 ระดับ 7-8  พ.ศ. 2545

        ปัจจุบัน      ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ (ส่งผลงานขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ) กำลังรอความหวังและความเมตตาจากท่านคณะกรรมการผู้ใจดีตรวจผลงาน...ครับผม

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง วิจัยในชั้นเรียน : เป็นไม้เบื่อไม้เมากับครูเพราะข้อจำกัดในการหาค่าสถิติไม่คล่องวิเคราะห์ข้อมูลไม่เป็
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุทธิพร คล้ายเมืองปัก..