หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

10 ภาพอวกาศยอดเยี่ยม ปี 2009 โดย National Geographic
โพสต์เมื่อวันที่ : 26 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6400 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

อันดับที่ 10 กรวยความชื้นที่อยู่ล้อมรอบยาน Ares I-X ของ NASA เหนือ Kennedy Space Center ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยกรวยดังกล่าวนี้เรียกว่า Subsonic Boom Cloud สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อยานอวกาศบินหรือเครื่องบินบินเร็วพอที่จะทำให้อากาศรอบๆ ตัวมันเย็นลง ทำให้ความชื้นในอากาศเกิดการควบแน่น โดยยาน Ares I-X นี้วิ่งด้วยความเร็ว 4 เท่าของความเร็วเสียง ยาน Ares I-X เป็นต้นแบบของยาน Ares I ที่จะใช้ในการเดินทางไปในอวกาศแทนกระสวยอวกาศแบบเก่า


อันดับที่ 9 เป็นรูปดาวหางลูลิน (Lulin) ที่ถ่ายติดกิ่งไม้สีแดงใน Virginia's Shenandoah National Park ซึ่งดาวหางดวงนี้เดินทางเข้าใกล้โลกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ระยะทาง 61 ล้านกิโลเมตร และจากวงโคจรที่เกือบจะเเป็นรูปพาราโบลา นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าการมาเยือนของดาวหางครั้งแรกนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน จากมุมของการมาเยือนทำให้เราสามารถมองเห็นหางที่สองของดาวหางดวงนี้ ซึ่งมีทิศหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่มันอยู่ใกล้ๆ กับโลก น้ำแข็งที่ระเหย รวมไปถึงไซยาโนเจน และ ไดอะตอมมิกคาร์บอน ทำให้เรามองเห็นหางของมันเรืองแสงเป็นสีเขียวสวยงามเมื่อสะท้อนกับแสงอาทิตย์


อันดับที่ 8 กล้อง HiRISE บนยาน Mars Reconnaissance Orbiter  ได้ถ่ายภาพเนินทรายที่ก่อตัวเป็นคลื่นๆ บริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า Noctis Labyrinthus ใกล้ๆ กับเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคารในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นสีจางๆ ของชั้นซัลเฟตที่ทำให้เกิดเหล็ก และโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุ


อันดับที่ 7 นักดาราศาสตร์ได้เปิดเผยภาพที่ถ่ายกลุ่มดาวเกิดใหมี R136 จากกล้องอวกาศ Hubble ในเดือนธันวาคมก่อนวันหยุดยาวนี้เอง ซึ่งกลุ่มดาวเกิดใหม่นี้อยู่ใน Large Magelanic Cloud (LMC) ซึ่งเป็นกาแลกซี่เพื่อนบ้านของเรา จากภาพ สีแดงๆ ที่เห็นคือก๊าซไฮโดรเจน ส่วนสีเขียวด้านบนขวานั้นเป็น ออกซิเจน อยู่ล้อมรอบดาวเกิดใหม่สีฟ้า ซึ่งบางดวงมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราเป็นร้อยเท่า


อันดับที่ 6 ดวงจันทร์ดวงน้อย Rhea เคลื่อนที่อยู่หน้าวงแหวนของดาวเสาร์ ทำให้มันดูเหมือนเป็นไข่มุกเม็ดงามประดับแหวนวงนี้ ภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายจากยาน Cassini ในเดือนพฤศจิกายน ยาน Cassini นี้ตั้งตามชื่อนักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน Giovanni Domenico Cassini ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงนี้ในปี 1672 และในปี 2008 นักวิทยาศาตร์ประกาศว่าดวงจันทร์นี้อาจจะเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีระบบวงแหวนรอบตัวมันเองอีกด้วย


อันดับที่ 5 ภาพนี้เป็นถาพแรกของกล้องอวกาศ Hubble ที่ถ่ายไว้หลังจากมีการปรับปรุงตัวกล้องในเดือนกันยายน เป็นการระเบิดของดาวที่กำลังจะตายกลายเป็น planetary nebulae เกิดคอสมิกรูปผีเสื้อ อยู่ห่างจากเราไป 3,800 ปีแสง แผ่นกรองแสงในกล้องอวกาศนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบอก องค์ประกอบทางเคมี อุณหภูมิ ความหนาแน่น และสถานะก่อนตายของดาวดวงนี้ได้อย่างแม่นยำ ดาวที่อยู่ตรงกลางปีกที่เห็นนี้เคยมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 5 เท่า และในเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา มันก็ได้ขับก๊าซที่เป็นเปลือกนอกของดาวออกไปเป็นปีกซึ่งมีความยาวทั้งสองข้างรวมกันประมาณ 2 ปีแสง


อันดับที่ 4 ไม่ใช่หอกจากสวรรค์ลงมาฟาดฟันใครที่ดูไบแต่อย่างใด แต่เป็นภาพฝนดาวตกเจ้าประจำ Geminid ถ่ายในทะเลทราย Mojave รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคมนี้เอง Geminids เป็นดาวตกที่ดูช้ากว่าดาวตกอื่นๆ เพราะว่าองค์ประกอบทางเคมีทำให้ระยะเวลาการเผาไหม้กับชั้นบรรยากาศโลกนั้นนานกว่า ทำให้มักจะเห็นเป็นเส้นโค้งประดับท้องฟ้าอย่างสวยงามในยามค่ำคืน


อันดับที่ 3 แอ่ง Tanezrouft ทางตอนใต้ของภาคกลางของประเทศ Algeria เป็นบริเวณที่ว่างเปล่าที่สุดของทะเลทรายซาฮารา สีขาวเป็นเกลือที่ดูเหมือนจะละลายลงมาทับหินทรายสีเข้มกว่าทางด้านล่าง ส่วนสีเหลืองๆ ทางมุมบนขวานั้นเรียกว่า Erg Mehedjibat ซึ่งเป็นเนินทรายที่ก่อตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะก่อตัวออกไปทางด้านข้าง ภาพนี้ถ่ายโดย ESA (European Space Agency) ร่วมกับ ดาวเทียมสำรวจพื้นที่ของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะทำการถ่ายภาพพื้นผิวโลกด้วย visible light และ near-infrared 


อันดับที่ 2 คลื่นช็อคเวฟ (shock wave) ในอวกาศนี้ทำหน้าที่เหมือนเครื่อง LHC ที่กำลังทำการทดลองอยู่ที่ CERN คือเป็นตัวเร่งอนุภาคที่มีประสิทธิภาพแรงทีเดียว ถ่ายโดยกล้องโทรทัศน์ Chandra ช็อคเวฟนี้กำลังคลับเคลื่อนสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการระเบิดซูเปอร์โนวา RCW 86 เห็นเป็นรูปด้านบนทั้งในระบบ X-ray และ visible light แม้ว่าคลื่นช็อคเวฟนี้จะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วแต่มันก็ไม่ได้ทำให้ก๊าซที่อยู่รอบๆ มีอุณหภมิสูงอย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับไปเพิ่มกำลังอนุภาคภายในคลื่นช็อคเวฟนี้เคลื่อนที่เร็วขึ้นเกือบจะเท่ากับความเร็วแสง


อันดับที่ 1 กระสวยอวกาศ Atlantis เคลื่อนที่ผ่านหน้าดางอาทิตย์ในเดือนพฤษภาคม ก่อนที่กระสวยอวกาศนี้จะต่อกับกล้องอวกาศ Hubble เพื่อให้นักบินอวกาศได้ทำงานแบบ space walk เพื่ออัพเกรดตัวกล้อง ภาพนี้ถ่ายโดย Thierry Legault ด้วยโทรทรรศที่ใช้แผ่นกรองแสงอาทิตย์ 

 

 


 

ที่มา/source: http://news.nationalgeographic.com/news/2009/12/photogalleries/best-space-news-pictures-2009/index.html

 

http://www.oknation.net/blog/sciences/2009/12/25/entry-1

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง 10 ภาพอวกาศยอดเยี่ยม ปี 2009 โดย National Geographic
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..