หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ชุติชัย แก้วตา
จากจังหวัด NAN

ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้
โพสต์เมื่อวันที่ : 20 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6410 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(45.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

ตาเหล่สำหรับคนทั่วไป อาจคิดว่าเป็นโรคที่รักษายาก แต่สำหรับจักษุแพทย์แล้วมีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยตาเหล่อยู่หลายวิธี

โรคตาเหล่เป็นภาวะที่ตาสองข้างไม่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน เป็นผลให้ไม่สามารถมองวัตถุเดียวกันพร้อมกันด้วยตาทั้งสองข้าง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะใช้ตาข้างที่ปกติจ้องวัตถุ ส่วนตาข้างที่เหล่อาจเบนเข้าด้านใน หรือเบนออกด้านนอก หรือขึ้นบนลงล่าง ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นตาเหล่ประเภทใด ผู้ป่วยบางรายอาจมีตาเหล่สลับ หมายถึงในบางเวลาผู้ป่วยจะใช้ตาขวามองวัตถุส่วนตาซ้ายจะเหล่หรือกลับกัน และในบางรายอาจตาเหล่ตลอดเวลา (constant) หรือเป็นครั้งคราว (intermittent) ก็มี

เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้ สำหรับเด็กอาจแสดงอาการหยีตาบ่อย โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่มีแสงจ้า การหยีตาข้างหนึ่งช่วยให้การมองเห็นภาพซ้อนหายไป ผู้ป่วยโรคตาเหล่บางประเภทอาจมีอาการปวดศีรษะเวลาใช้สายตามองใกล้เป็นเวลานาน เนื่องจากมีการเกร็งกล้ามเนื้อลูกตาเพื่อแก้ไขภาวะตาเหล่

จากการศึกษาพบว่า

ประมาณร้อยละ 5 ของเด็กทั้งหมด จะตรวจพบโรคตาเหล่ซึ่งอาจเป็นน้อยหรือมาก และเป็นประเภทต่างๆ กันไป ในระยะแรกเด็กอาจมองเห็นภาพซ้อน
เนื่องจากตาสองข้างมองไปยังจุดที่ต่างกัน แต่ในระยะต่อมาสมองจะปรับตัวโดยไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างหนึ่ง (suppression) ช่วยให้ภาวะเห็นภาพซ้อนหายไปได้

สาเหตุสำคัญของโรคตาเหล่ ในเด็กมักไม่ทราบสาเหตุ และมากกว่าครึ่งหนึ่งจะตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 6 เดือน ผู้ป่วยบางราย เมื่อซักถามถึงประวัติครอบครัว พบว่ามีผู้เป็นโรคตาเหล่ อยู่ แสดงถึงโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ในกรณีที่สมองไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างที่เหล่เป็นระยะเวลานานๆ อีกทั้งไม่ได้รับการรักษาภายในช่วงอายุที่เหมาะสม เด็กอาจเกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia) ซึ่งเป็นผลให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้งานมองภาพไม่ชัดอย่างถาวร

สำหรับโรคตาเหล่ในผู้ใหญ่อาจเกิดจากอุบัติเหตุทางตาและสมอง หรือเกิดจากโรคเบาหวานทำให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลูกตาลดลง เป็นผลให้กล้ามเนื้อลูกตาเป็นอัมพาตและตาเหล่ตามมา ไม่ว่าจะสูญเสียสายตาข้างหนึ่งจากสาเหตุใดก็ตาม มักพบว่าตาข้างนั้นค่อยๆ เหล่ออกด้านนอก ผู้ป่วยอาจมีอาการเห็นภาพซ้อนเวลามองด้วยตาสองข้าง เมื่อปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนจะหายไป สำหรับภาวะสายตาขี้เกียจจะไม่พบในผู้ซึ่งภาวะตาเหล่เริ่มภายหลังอายุ 9 ปี เนื่องจากสมองได้พัฒนาการมองเห็นจนสมบูรณ์แล้ว

แนวทางการรักษา

ก่อนจะให้การรักษาโรคตาเหล่ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจตาโดยละเอียดรวมถึงการตรวจจอตา เพื่อหาความผิดปกติภายในลูกตาซึ่งอาจเป็นสาเหตุของตาเหล่ และให้การรักษาตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอตา (retinoblastoma) ตาข้างที่เป็นโรคอาจมีระดับสายตาลดลงมากเนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่บังจุดภาพชัด (macula) เป็นผลให้เกิดภาวะตาเหล่ตามมา ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ชักช้า เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายออกไปนอกลูกตา

การรักษาโรคตาเหล่ในเด็กควรกระทำตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
 
คือเด็กมีระดับสายตาปกติทั้งสองตาและสามารถมองเห็นภาพสามมิติได้ แนวทางการรักษาโรคตาเหล่ในเด็กประกอบด้วยการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจ โดยการปิดตาข้างที่สายตาดี เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจบ่อยขึ้น ระยะเวลาในการปิดตาขึ้นกับความรุนแรงของภาวะสายตาขี้เกียจและอายุของเด็ก หากเป็นเด็กเล็กการปิดตาข้างที่ดีในแต่ละวันไม่ควรปิดติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพราะอาจทำให้ระดับสายตาข้างที่เคยปกติลดลง เรียกภาวะนี้ว่า occlusion amblyopia เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มักไม่ให้ความร่วมมือในการปิดตาข้างที่ดี การรักษาจึงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองและครู โดยต้องเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจในระยะที่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่สามารถปิดตาได้แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาหยอดขยายรูม่านตาในตาข้างที่ปกติเพื่อทำให้ตานั้นมัวลง ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยหันมาใช้ตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจบ่อยขึ้น สำหรับการให้แว่นสายตาหรือการฝึกกล้ามเนื้อลูกตาอาจช่วยรักษาโรคตาเหล่บางประเภทได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อลูกตา โดยทั่วไปการผ่าตัดจะกระทำภายใต้การให้ยาดมสลบ ในรายที่ยังมีลักษณะตาเหล่เหลืออยู่
แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติม สำหรับการรักษาโรคตาเหล่ในผู้ใหญ่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการเห็นภาพซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและมีบุคลิกภาพดีขึ้นได้


ทั้งหมดที่เล่ามานี้ การรักษาตาเหล่จะหายหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย คนในครอบครัว แพทย์ หรือสิ่งแวดล้อม แต่ที่สำคัญต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย


โรงพยาบาลศิริราช

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ชุติชัย แก้วตา
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ชุติชัย แก้วตา..