.....วันนี้ยกคำเจ้าปัญหาที่มีผู้มักใช้ผิดมาให้ดูถึง ๔ คำด้วยกัน หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่าคำทั้งหมดนั้นสะกดต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซ้ำยังมีเสียงอ่านที่คล้ายคลึงกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีผู้ใช้สับสนกันมาก ทั้งในแง่การออกเสียง และการนำไปใช้ในประโยค
"วิกฤต" หรือ "วิกฤติ" อ่านว่า [วิ-กริด] หมายถึง อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ มักใช่แก่เวลาหรือเหตุการณ์อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ, จุดวิกฤติ คำนี้สามารถเขียนได้ สองแบบ คือแบบมีสระอิบน ต.เต่า และแบบไม่มี
ส่วนคำว่า ."วิกฤตการณ์ หรือ "วิกฤติ-การณ์" อ่านว่า [วิ-กริด-ตะ-กาน] และ [วิ-กริด-ติ-กาน] ตามลำดับ หมายถึง เหตุการณ์ที่อยู่ในขั้นอันตราย เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อถึงขั้นแตกหัก เช่น การปฏิวัติรัฐประหารถือเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
ในขณะที่คำว่า "วิกฤตกาล" หรือ "วิกฤติกาล" อ่านว่า [วิ-กริด-ตะ-กาน] และ
[วิ-กริด-ติ-กาน] ตามลำดับเช่นเดียวกัน แต่หมายถึง เวลาอันวิกฤติ เช่น ในช่วงวิกฤติกาลข้าวของมักมีราคาแพงและหาซื้อยาก เป็นต้น
หลักการง่ายๆ ที่จะแยกแยะการใช้ "วิ-กฤตการณ์" กับ "วิกฤตกาล" ก็คือคำว่า "การณ์" และ "กาล" นั่นเองครับ
"การณ์" นั้นหมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องที่เกิดขึ้น ดังนั้น "วิกฤตการณ์" จึงใช้ กับเหตุการณ์ หรือสถาน-การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ส่วนคำว่า "กาล" หมายถึงเวลา ดังนั้น "วิกฤตกาล" จึงใช้กับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นครับ
จะใช้คำไหนก็ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้พูดว่าต้องการสื่อถึงตัวสถานการณ์หรือช่วงเวลา เมื่อทราบหลักการอ่านและการใช้ดังนี้แล้ว ก็ขอให้ท่านผู้อ่านเลือกใช้คำให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย
ที่มา citylife
Advertisement