หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

เปิดโต๊ะ ?โคเปนเฮเกน? ตัดสินชะตาโลกหลังปี 2012
โพสต์เมื่อวันที่ : 8 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6399 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(20.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

เปิดโต๊ะ “โคเปนเฮเกน” ตัดสินชะตาโลกหลังปี 2012

Print E-mail
Post by Administrator   
ศุกร์, 04 ธันวาคม 2009

     

Image

 

        วันที่ 7-18 ธ.ค.นี้ เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ เพราะผู้แทนรัฐบาลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะมารวมตัวกันในที่ประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศภายหลังปี 2012 เมื่อพิธีสารเกียวโตสิ้นสุดลง

ในปี 1997 ภาคีสมาชิกของ UNFCCC ได้ร่วมกันลงนาม ยอมรับข้อตกในการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโต ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 15 ปี ตั้งแต่ 1997-2012 ทว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศอุตสาหกรรมก็ยังไม่สามารถ ลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในพิธีสารเกียวโต
       
       อีกทั้งชาติร่ำรวยอย่างสหรัฐฯ ยังปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงในพิธีสารดังกล่าว ด้วยเหตุผลว่าพิธีสารเกียวโตมีผลบังคับกับประเทศอุตสาหกรรมเท่านั้น ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศอย่างจีน อินเดีย และบราซิล ก็มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยไปกว่าประเทศร่ำรวยอื่นๆ เลย แต่กลับไม่ต้องรับภาระดังกล่าว จึงไม่ยุติธรรมที่จะให้ประเทศอุตสาหกรรมแบกรับภาระแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและมีต้นทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแต่เพียงฝ่ายเดียว
       
       เมื่อพิธีสารเกียวโตใกล้หมดอายุลง ภาคีสมาชิกของ UNFCCC จึงต้องประชุมเจรจาเพื่อหาข้อตกลงและกำหนดแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก หลังปี 2012 ซึ่งมีการเจรจากันเป็นระยะอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี และจะต้องหาข้อสรุปให้ได้ภายในปีนี้ที่เวทีสุดท้ายคือ “โคเปนเฮเกน”
       
       ที่ผ่านมาประเทศอุตสาหกรรม ก็เรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ก็ต้องการเห็นความตั้งใจแก้ปัญหาของประเทศอุตสาหกรรมมากกว่านี้ และต้องการได้รับความสนับสนุนจากชาติร่ำรวย ทั้งด้านเทคโนโลยีและเงินทุนสำหรับลดก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากประเทศกำลังพัฒนา
       
       ก่อนการประชุมเจรจาจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่าประเด็นสำคัญที่น่าจับตาในการเจรจาที่โคเปนเฮเกนมีอยู่ 4 เรื่อง ได้แก่
       
       ดันข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก
       
       ปัญหาใหญ่ของนานาชาติคือ การจัดทำข้อตกลงในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2020 นับตั้งแต่พิธีสารเกียวโตหมดอายุลง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 โดยเทียบกับปี 1990 ทว่าการลดก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายจะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น จากการปรับปรุงประสิทธิภาพของพลังงานและการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่สะอาด
       
       อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศร่ำรวยมักจะเป็นฝ่ายถูกตำหนิว่า เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในทุกวันนี้ อีกทั้งยังมีความสามารถที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้มากกว่า ทว่าฝันร้ายของวันพรุ่งนี้ส่วนใหญ่แล้วน่าจะมาจากประเทศกำลังพัฒนามากกว่าเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วกลับมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศมากไม่ต่างจากประเทศร่ำรวย หรืออย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมา
       
       ในจำนวนนี้ จีน อินเดีย และบราซิล ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนายักษ์ใหญ่ของโลก และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันก็มีการทำลายพื้นที่ป่าไปเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ในขณะที่ต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ จึงยิ่งเป็นการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกให้โลกมากขึ้น
       
       ลงขันทุ่มเงินคลายร้อนให้โลก
       
       เป้าหมายหนึ่งของข้อตกหลงหลังปี 2012 คือ การผลักดันให้เกิดกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาให้มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจกโดยเปลี่ยนวิถีไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ รวมทั้งการรับมือและแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
       
       ทั้งนี้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมให้คำมั่นสัญญาว่าจะสนับสนุนด้านการเงินปีละประมาณ 1% ของจีดีพี หรือเป็นเงินประมาณ 400,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในสหภาพยุโรปเองยังมีความต้องการใช้เงินเพื่อการนี้ประมาณ 150,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีในช่วงปี 2020
       
       เป็นไปได้ว่า ในการเจรจาอาจกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างรวดเร็ว (ภายในปีหน้า) ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนายังมีอุปสรรคและแรงกดดันอย่างหนักจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ด้วย
       
       อย่าให้เป็นแค่เสือกระดาษ
       
       ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีประเด็นถกเถียงถึงจุดอ่อนของพิธีสารเกียวโตว่า ไม่มีบทลงโทษหากดำเนินการไม่ถึงเป้าหมาย พร้อมทั้งเกิดข้อกังขาว่า ปึกกระดาษอันเป็นข้อสรุปจากบทเจรจาที่โคเปนเฮเกนนี้ จะมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร
       
       ทว่า ประเทศกำลังพัฒนายังต้องการให้มีการขยายระยะเวลาของพิธีสารเกียวโตออกไปไกลกว่าปี 2012 ขณะที่สหรัฐฯ ไม่ยอมรับข้อตกลงของพิธีสารเกียวโต เนื่องจากมีผลบังคับเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม แต่ไม่บังคับใช้กับประเทศกำลังพัฒนายักษ์ใหญ่
       
       ดังนั้น สหรัฐฯ จึงผลักดันแนวคิดความรับผิดชอบร่วมกันของนานาชาติ โดยพิจารณาจากรายงานข้อเท็จจริง แทนกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
       
       ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ 2 แนวทาง คือขยายระยะเวลาของพิธีสารเกียวโต แต่ปรับกติกาให้สหรัฐฯ ยอมเข้าร่วม หรืออีกทางหนึ่งคือลบล้างข้อตกลงเดิมในพิธีสารเกียวโต แล้วจัดทำข้อตกลงขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสหรัฐฯ
       
       ป่าไม้ทำลายไม่ได้อีกแล้ว
       
       การลดการทำลายพื้นที่ป่าเป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่เวทีเจรจาเรื่องโลกร้อนให้ความสำคัญมาก โดยมีการผลักดันให้กลุ่มประเทศแถบเขตร้อนที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ รักษาพื้นที่ป่าไว้ไม่ให้ลดลง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และจะได้รับงบประมาณสนับสนุนด้วย
       
       ทว่าแนวคิดดังกล่าวกลับมีปัญหาในทางปฏิบัติไม่น้อย เช่น จะวัดปริมาณการอนุรักษ์ป่าได้อย่างไร และจะป้องกันการทุจริตหรือคอร์รัปชันได้อย่างไร รวมทั้งจะรับประกันได้อย่างไรว่าเงินทุนจะไม่หมดไประหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยี และความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการ
       
       นอกเหนือจากประเด็นที่ต้องถกเถียงใน 4 ข้อหลักแล้ว เวทีเจรจาที่โคเปนเฮเกน ยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนความเห็น และการทำงานร่วมกันครั้งยิ่งใหญ่ของประชาคมโลก ต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผู้แทนรัฐบาลจากทั่วโลกจำเป็นจะต้องเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาแก้ปัญหาที่กำลังส่งผลต่อโลกใบเดียวใบนี้ของพวกเรา โดยมีเส้นตายอยู่ที่ปี 2012.
       
        ******************
       
       เส้นทางบรรเทาโลกร้อน
       
       UNFCCC
       
       อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกิดขึ้นครั้งแรกในการประชุมเอิร์ธซัมมิท (Earth Summit) ที่เมืองริวเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 1992 จากความพยายามของประชาคมโลก เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อันมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมีภาคีสมาชิกทั้งสิ้นรวม 192 ประเทศ
       
       พิธีสารเกียวโต
       
       เป็นอนุสัญญาสากลที่นานาประเทศยอมรับร่วมกัน สำหรับใช้เป็นข้อกำหนดและแนวทางเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และบรรเทาปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ร่วมลงนามรับรองในปี 1997 จนได้ 183 ประเทศ และกลุ่มประชาคมยุโรป (European Community) มีผลบังคับใช้ในปี 2005
       
       สาระสำคัญของพิธีสารเกียวโต คือกำหนดให้ประเทศอุตสาหกรรมลดก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุมก๊าซ 6 ชนิด ให้ได้อย่างน้อย 5% ในระหว่างปี 2008-2012 โดยเทียบกับปี 1990 รวมถึงกลไกการพัฒนาที่สะอาด และการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศกำลังพัฒนา โดยที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ต้องมีข้อผูกมัดในการลดการเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
       
       โคเปนเฮเกนทอล์กส (COPENHAGEN TALKS)
       
       การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ที่บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อปี 2007 ซึ่งมีการลงนามร่วมกันของนานาประเทศในแผนที่นำทางบาหลี (Bali Road Map) โดยมีแผนให้แต่ละประเทศร่วมประชุมเจรจาเพื่อกำหนดแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก ภายหลังพิธีสารเกียวโตหมดอายุให้ได้ภายในปี 2009 ซึ่งการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนในเดือน ธ.ค. นี้ จะต้องได้ข้อสรุปสำหรับแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกหลังปี 2012

Last Updated ( ศุกร์, 04 ธันวาคม 2009 )

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เปิดโต๊ะ ?โคเปนเฮเกน? ตัดสินชะตาโลกหลังปี 2012
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..