หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
บัวกันต์ วิลามาศ
จากจังหวัด ศรีสะเกษ 33150

ตามรอยพระยุคลบาท..ใต้ร่มฉัตรจักรีวงศ์
โพสต์เมื่อวันที่ : 8 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6417 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(44.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ทรงพระเจริญ

.....

          ข้าพเจ้าเคยให้คำขวัญเกี่ยวกับครูว่า “ครู  คือผู้กำหนดอนาคตของสังคม” ซึ่งทำให้คำขวัญดังกล่าวได้มีการนำไปใช้ในการพัฒนาบทบาทของครูอยู่ในระยะหนึ่ง  ในโอกาสนี้  ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเสนอคำขวัญที่เกี่ยวกับการศึกษาว่า “การศึกษา คือหัวใจของการพัฒนาคนบนแผ่นดิน” โดยมีเหตุผลแห่งความคิดนี้ว่า แผ่นดินใดที่ไร้การศึกษา  การพัฒนาความคิด การพัฒนาจิตใจ ตลอดการพัฒนาสังคมย่อมไม่เกิดขึ้น  ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นแม่แรงที่จะยกแผ่นดินให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
          ใครกันเล่าจะเป็นคนที่ขันสกรูแม่แรงทางการศึกษาให้สูงขึ้น  คำตอบ คือทุกคนในชาติ
          การจัดการศึกษาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีจุดมุ่งหมายสำคัญพอสรุปได้สามประการ คือ
 1.เพื่อสนองความต้องการของบ้านเมืองที่ต้องการคนเข้ารับราชการ
 2.เพื่อคุณประโยชน์ทั่วไป (จัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์หรือเพื่อเยาวชนของชาติส่วนใหญ่ได้รับการศึกษา)
 3.เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระศาสนา
 ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นในปี พ.ศ.2414 พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง  นับเป็นโรงเรียนแรกที่ได้จัดตั้งขึ้นตามแบบโรงเรียนที่เข้าใจอยู่ในปัจจุบัน  โดยทรงโปรดเกล้า ฯให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) เมื่อครั้งเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมพระอาลักษณ์เป็นอาจารย์ใหญ่  มีแนวการจัดการศึกษามุ่งไปในทางวิชาหนังสือและเลข  เพื่อให้กุลบุตรกุลธิดามีความรู้ความสามารถพอที่จะเข้ารับราชการได้  แต่โรงเรียนหลวงที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ ก็เป็นโรงเรียนสำหรับบุตรพระราชวงศ์และข้าราชการเท่านั้น
           ในด้านการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ พระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดขึ้นพร้อม ๆกัน
ดังปรากฏว่า ในการประชุมที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  เมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม  พ.ศ.2417 พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำรัสที่จะให้เครื่องมือสำหรับการประกอบอาชีพแก่ลูกทาสที่จะเป็น”ไท” ว่าเครื่องมือที่จะทำให้ลูกทาสเป็นไทได้จริงนั้น คือ การศึกษา  จากนั้นอีกเพียงปีเดียวพระองค์ทรงโปรดเกล้า ฯ ที่จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและเลขในทุกพระอารามทั่วพระราชอาณาจักรจนกระทั่งปี พ.ศ.2427 พระราชดำริที่จะจัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์จึงปรากฏชัดเจนขึ้น  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระราชดำรัสที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่นักเรียน  ได้เน้นให้เห็นถึงพระราชประสงค์ที่จะจัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ ดังมีข้อความบางตอนว่า
           “เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป จนถึงราษฎรที่ต่ำสุดจะได้ทีโอกาส
เล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่”
 ดังนั้น การศึกษาสำหรับทวยราษฎร์หรือที่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกว่า
 “โรงเรียนสำหรับราษฎร” จึงได้มีการริเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในเดือน สิงหาคม พ.ศ.2428 โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ขึ้นคระหนึ่ง   และโรงเรียนสำหรับราษฎรจึงได้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดมหรรณพาราม ตำบลหัวลำโพง ในปี พ.ศ.2428  นั้นเอง 
          ในยุคปัจจุบัน  การศึกษาถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาอย่างแท้จริง  ชนใดไร้การศึกษา  การพัฒนาก็ล้าสมัย  ดังนั้นการที่จะทำให้คนในประเทศชาติมีศักยภาพ  จะต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพเสียก่อน  ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันจันทร์ที่  26 พฤศจิกายน 2516 ว่า “จุดประสงค์ของการให้การศึกษานั้น  คือการแนะนำส่งเสริมให้บุคคลมีความเจริญงอกงามในการเรียนรู้  การคิดอ่าน  การกระทำ  และสามารถนำเอาคุณสมบัติทั้งปวงที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เกื้อกูลตนเกื้อกูลผู้อื่น  เพื่อให้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นประเทศได้  ผู้มีหน้าที่ในการให้การศึกษาแก่อนุชน  จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตั้งใจปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายทั้งนี้อยู่เสมอเป็นนิตย์
 การที่จะอบรมสนับสนุนอนุชน  ให้ได้ผลตามความมุ่งหมายของการศึกษานั้น  ข้าพเจ้าเห็นว่าการฝึกฝนและปลูกฝังความรู้จักเหตุผล ความรู้จักผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยไปกว่าการใช้วิชาการ  เพราะการรู้จักพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล ให้รู้จักจำแนกสิ่งผิดชอบชั่วดีได้โดยกระจ่างแจ้ง  ย่อมทำให้มองบุคคลและในสิ่งนั้น ๆ และเมื่อได้มองเห็นความจริงแล้ว  ก็สามารถใช้ความรู้และวิชาการ  ปฏิบัติงานทุกอย่างได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์แก่ตนแก่ผู้อื่นได้มากขึ้น”
            จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่า  พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาอย่างมาก  โดยเฉพาะเน้นตรงการฝึกปฏิบัติที่จิตใจ  คือเอาใจเอาจิตคิดพัฒนา หรือเน้นพัฒนาการศึกษาที่ตัวคนควบคู่ไปกับวิชาการ
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงสนพระราชหฤทัยในการทำนุงบำรุงการศึกษาของประชาชนเป็นอย่างมาก ดังนั้น ใน พ.ศ.2500  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างอาคารเรียนชั้นเดียวในบริเวณสวนจิตรลา และพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนจิตรลดา”และโปรดเกล้า ฯ “ให้โรงเรียนรับนักเรียนทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์”
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้ตั้งโรงเรียนในเขตชนบทห่างไกลและบริเวณชานแดนที่ราษฎรยากจนไม่มีสถานที่เรียนของบุตรหลาน  เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในการศึกษาเหล่านั้นได้เล่าเรียนเท่าเทียมกับเยาวชนในท้องถิ่นอื่น โดยโรงเรียนประเภทนี้เรียกว่า “โรงเรียนร่มเกล้า” และ”โรงเรียนพ่อหลวงอุปถัมภ์”
        โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรก ตั้งขึ้นที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านหนองแคน จังหวัดนครพนม  และต่อมาได้เกิดโรงเรียนร่มเกล้าขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศไทย  โดยลักษณะสำคัญของโรงเรียน คืออยู่ในชนบทห่างไกล บางแห่งอยู่ชายแดนและอยู่ในเขตก่อกวนของผู้ก่อการร้าย ซึ่งการพิจารณาตัดสินใจก่อสร้างโรงเรียนร่มเกล้าขึ้น ณ แห่งใดนั้น ทรงมอบให้แม่ทัพภาคของแต่ละเขตพื้นที่เป็นผู้พิจารณา การสร้างโรงเรียนร่มเกล้าจึงเป็นการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ในชนบทห่างไกล เป็นพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณโดยแท้
 ในส่วนของโรงเรียนพ่อหลวงอุปถัมภ์  เกิดจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
เขต 5 ค่ายดารารัศมี  จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นแห่งแรกที่โรงเรียนบ้านดอนมหาวัน อำเภอ
เชียงของ  ซึ่งต้องใช้ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นครู  ต่อมาได้มีการขยายการก่อสร้างโรงเรียนในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ  ที่สำคัญคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถ พระราชทานทรัพย์ร่วมสร้างโรงเรียนเหล่านี้
          นอกจากการจัดสร้างโรงเรียนดังกล่าวแล้ว พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาอันเป็นคุณประโยชน์แก่ชาติไทยนั้นมีมากมาย ทรงจัดตั้งโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  ดังนี้
         โรงเรียนราชวินิต  เป็นโรงเรียนประถมศึกษาให้แก่บุตรหลานข้าราชบริพาร ข้าราชการในสำนักพระราชวัง และบุคคลทั่วไป  ซึ่งคำว่า “โรงเรียนราชวินิต” มีความหมายว่า “สถานที่อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาของพระราชา”
 โรงเรียนวังไกลกังวล  อยู่ในเขตพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนไกลกังวลเป็นโรงเรียนแม่ข่ายในการที่จะเป็นโรงเรียนที่นำสื่อในการศึกษาทางไกลสายสามัญ ไปสู่โรงเรียนในชนบททั่วทุกแห่งในจังหวัดต่าง ๆทั่วประเทศไทย
          โรงเรียนราชประชาสมาสัย   โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระดำริที่จะหาวิธีควบคุมและกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไป  จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งสถาบันวิจัยโรคเรื้อนขึ้น ชื่อว่า “สถาบันราชประชาสมาสัย” ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาและประชาชนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน”  ต่อมาจึงได้ตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรของผู้ป่วยโรคเรื้อนแยกออกมา ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บริหารขึ้นต่อมูลนิธิราชประชาสมาสัย
          โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย   เป็นโรงเรียนที่มีพระราชประสงค์จะให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนนักเรียนอยู่ประจำ เป็นการอบรมสั่งสอนแบบประเทศตะวันตก  ปัจจุบันอยู่ในความดูและของกระทรวงศึกษาธิการ
           โรงเรียนราชประชานุเคราะห์   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชน ที่ได้รับผลจากการเกิดวาตภัย   จึงเป็นที่มาของ “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์”  โดยในระยะต่อมามูลนิธิได้ร่วมกับจังหวัดต่าง ๆที่เกี่ยวข้องจัดสร้างโรงเรียนขึ้นทดแทนโรงเรียนที่ถูกพายุพัดพัง  และพระราชทานนามว่า”โรงเรียนราชประชานุเคราะห์”  โดยปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้งสิ้น 30 โรงเรียน  โดยมีอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษด้วย  คือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 29
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นอกจากจะพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์กิจการของโรงเรียนแล้ว  พระองค์ยังมีพระดำริที่จะพระราชทานการสนับสนุนตัวผู้ศึกษา ด้วยการพระราชทานทุนการศึกษาในระดับต่าง ๆ ด้วย
 ขณะเดียวกัน พระองค์ทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง”ศูนย์ศึกษาการพัฒนา” ขึ้นตามภาคต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมทางวิชาการของภาค  เช่น ศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร  เป็นต้น
          โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  นับว่าเป็นโครงการที่เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงพระราชทานแก่ชาวไทย เนื่องด้วยหนังสือตามโครงการดังกล่าว เป็นหนังสือ
ประเภทสารานุกรมที่บรรจุสรรพวิชาอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง  จึงเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชน
          พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก”   เป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมที่พระมหากษัตริย์ไทย
ทรงพระราชนิพนธ์  โดยมีวรรคทองของวรรณกรรมว่า “ของจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญา
ที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”
         สุดท้ายนี้  ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  “เรา” ซึ่งหมายถึงคนไทยทุกคน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียต่อการศึกษา ต่อประเทศชาติ คงจะร่วมกันเดินตามรอยพระยุคลบาท  เพื่อนำการศึกษา  นำประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและแท้จริงต่อไปอย่างแน่นอน
 


 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ตามรอยพระยุคลบาท..ใต้ร่มฉัตรจักรีวงศ์
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

บัวกันต์ วิลามาศ
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
บัวกันต์ วิลามาศ..