หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

วิธีตัดกรรมเก่า
โพสต์เมื่อวันที่ : 2 ธ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6435 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(40.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

วิธีตัดกรรมเก่า

--------------------------------------------------------------------------------

ตามหลักของพระพุทธศาสนา ถือว่าทุกคนที่เกิดมาแล้วจะต้องมีทั้งบุญและบาป นั่นก็คือต้องมีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วติดตัวมาทุกคน

ต่างกันแต่ว่า ใครจะมีบุญมาก หรือมีบาปมากกว่ากันเท่านั้น ถ้าคนเราหมดบุญหมดบาป ก็ต้องสำเร็จพระอรหันต์ กล่าวคือบรรลุพระนิพพานไปแล้ว

เหตุผลที่จะให้เราเชื่อ ในเรื่องของกรรมเก่า ที่ติดตัวเรามาทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ก็คือ

ถ้าเราเกิดมา มีความปกติดีทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่บกพร่อง พิการ ไม่ขาดไม่เกิน เกิดในตระกูลที่ไม่ขัดสนจนยาก ไม่ต้องอดอยาก ปากแห้ง ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ ก็จัดว่าเรามีกุศลกรรมนำมาเกิดในทางตรงกันข้ามจากนี้ ก็ถือว่าอกุศลกรรมนำมาเกิด

ส่วนว่าเมื่อเรามาเกิดดีแล้ว คือดีทั้งสุขภาพสุขภาพจิต รวมถึงฐานะตระกูลอะไรก็ดีหมด แต่เราเกิดมีความเดือดร้อนต่างๆ นานาน นั่นก็เกิดจากการมีตัวแปรเข้ามาแทรกแซง คืออกุศลกรรมเก่ามาตัดรอนในภายหลัง

ก็ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ทุกคนที่เกิดมาแล้วนี้ ไม่มีใครจะรับแต่ส่วนบุญอย่างเดียว จะต้องมีบาปติดปนมาด้วย มากบ้าง น้อยบ้าง ตัวเรานั่นแหละรู้ดี ส่วนว่าจะเข้าใจถูกต้องหรือไม่ นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

ในขั้นนี้ ขอให้เราเชื่อไว้เปลาะหนึ่งก่อนว่า เหตุที่คนเรามาเกิดนี้ต้องเป็นผลของบุญและบาปส่งมา ไม่ใช่บุญล้วนๆ และไม่ใช่บาปล้วนๆ

ถ้าเรามีแต่บุญล้วนๆ เราก็ต้องไปเกิดในสวรรค์แล้ว และถ้าเรามีแต่บาปล้วน ๆ เราก็ต้องไปเกิดในนรกแล้ว ไม่ได้มาเกิดเป็นคนกะเขาหรอก

มนุษย์จึงเป็นภูมิกลางๆ เราสามารถทำกรรมได้สูงสุดทั้งฝ่ายบุญและฝ่ายบาปและถ้าเราพัฒนาจิตให้อยู่เหนือบุญและ
บาปได้ เราก็ไม่ต้องมาเกิดอีก ไม่ว่าในภพหรือภูมิไหนๆ นั่นก็คือ การบรรลุเป็นพระอรหันต์

ดังนั้น การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จึงถือว่าเป็นโชคมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีอวัยวะสมบูรณ์ มีสติปัญญาปกติ ได้คบหาบัณฑิต และพบพระพุทธศาสนา

เราควรจะถือเอาโชคส่วนนี้ เร่งรีบเพิ่มเติมความดีต่างๆ เข้าไว้ให้มากๆ เพราะการไปเกิดในภพอื่น โอกาสที่เราจะบำเพ็ญบารมีทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย เช่น

ถ้าเราไปเกิดเป็นเทพในสวรรค์ ไม่ว่าจะชั้นใดก็ตามเราก็ย่อมจะหลงลืมตน เพราะมีกามคุณอันเป็นทิพย์ยั่วยวนอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความประมาทมัวเมา หรือถ้าเราไม่ประมาท แต่เราก็หาแหล่งทำบุญเพื่อเลื่อนชั้นทางจิตยาก

ถ้าเราไปเกิดในนรก เราก็ต้องได้เสวยวิบากของอกุศลกรรมเก่า ได้รับแต่ทุกขเวทนาแสนสาหัส ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ไม่มีโอกาสทำความดี ไม่มีสถานที่ทำความดี ยิ่งกว่านักโทษในเรือนจำเสียอีก

วิธีตัดกรรมเก่า ที่ว่านี้ หมายถึงกรรมเก่าฝ่ายลบ คือกรรมไม่ดีได้แก่ อกุศลกรรม (บาป) นั่นเอง ส่วนกรรมดีหรือกรรมฝ่ายบวก เราไม่ตัดมันหรอก มีแต่จะหาเพิ่มให้มันมีมากๆ ขึ้น เพราะบุญเป็นชื่อของความสุข ส่วนบาปเป็นชื่อของความทุกข์

ปัญหาอาจจะมีต่อไปในบางท่านว่า เราจะรู้ได้อย่างไร อันไหนเป็นกรรมเก่าฝ่ายลบ? อันไหนเป็นกรรมเก่าฝ่ายบวก?

ข้อนี้จะวินิจฉัยได้ไม่ยากเลย เอาเพียงแค่การสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจในชีวิตประจำวัน มาเป็นเกณฑ์ตัดสินก็ได้ว่า สิ่งใดที่เราเข้าไปสัมผัสแล้ว เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ อันนั้นเราก็ถือว่าเป็นวิบากของอกุศลกรรมเก่า กำลังสนองเราอยู่

ขอแยกพูดเป็น ๒ ฝ่าย คือ อกุศลกรรมเก่าเกี่ยวกับบุคคล กับอกุศลกรรมเก่าเกี่ยวกับสถานที่

ก. อกุศลกรรมเกี่ยวกับบุคคล เมื่อเราได้พบเห็นใคร ได้ยินเสียงเขาพูด ได้ยินข่าวของคนอื่น แล้วเกิดการไม่ชอบไม่สบายใจ ไม่ต้องคบหาใกล้ชิด นั่นแสดงว่าบุคคลนั้น เป็นอกุศลวิบากสำหรับเรา

แต่อาจจะไม่เป็นอกุศลวิบากสำหรับคนอื่นก็ได้ ในทางตรงกันข้ามอาจเป็นกุศลวิบากสำหรับคนอื่นก็มี คือคนอื่นเขาได้เห็นหรือได้ยินแล้ว เขากลับชอบใจ อยากดู อยากฟัง อยากอยู่ใกล้ชิด อยากคบหา

พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นเพราะธาตุมันไม่เข้ากัน หรือไม่ตรงกันแสดงว่าเราเคยเป็นศัตรู หรือเคยผูกเวรกันมา ทางแก้ที่ถูกต้อง เราก็ต้องไม่ไปเพิ่มอกศลกรรมเก่าเข้าอีก แต่ควรจะละลายอกุศลกรรมเก่าดังนี้

ตัดความสัมพันธ์ ถ้าเรามีทางหลีกเลี่ยงได้ ควรหลีกหนีไปให้พ้นๆ เขา อย่าได้ทำอะไรให้เขาขุ่นเคืองใจ มิฉะนั้นเขาจะผูกเวรกับเราต่อไปไม่สิ้นสุด

เอาดีตัดกรรมเก่า เมื่อเราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม เราควรจะทำดีต่อเขา เพื่อให้เขาอโหสิกรรม (ยกเลิกเวร) ต่อเราด้วยการใช้สังคหะวัตถุ ๔

คือ ทาน การเจือจานเขาด้วยวัตถุสิ่งของ ปิยวาจา พูดจากับเขาด้วยความสุภาพ ไพเราะ อัตถจริยา ประพฤติประโยชน์แก่เขา และสมานัตตตา วางตนเสมอต้นเสมอปลายอย่ารังเกียจเขา

แผ่เมตตา ส่งความรัก และความปรารถนาดีต่อเขาในทุกๆ วิถีทาง พร้อมทั้งให้อภัยเขาทุกสิ่ง แม้ว่าจะเป็นการฝืนใจทำ เราก็จำต้องพยายาทำ เพื่อให้เวรกรรมเก่านั้นสิ้นสุด

ทุกครั้งที่เราทำความดี ก็ควรจะแผ่ส่วนกุศลหรือกรวดน้ำ อุทิศส่วนบุญไปให้เจ้ากรรมและนายเวรด้วย

ข. อุกศลกรรมเกี่ยวกับสถานที่ เมื่อเราเข้าไปอยู่ในสถานที่ใดแล้วได้เห็น ได้ยินแต่สิ่งอันเป็นอัปมงคลแล้วเกิดความไม่สบายใจ จะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จัดว่าเป็นผลของอกุศลกรรมเก่าบันดาลให้เป็นไปควร

ยอมรับกฎแห่งกรรม คือ ยอมรับว่า มันเป็นผลของอกุศลกรรมเก่าของเราเอง ทั้งที่บางทีก่อนมาอยู่ เราก็ได้เลือกแล้วว่าดี แต่พอมาอยู่เข้าจริงก็แปรไปได้ เมื่อเป็นดังนี้ ขั้นต้นควรอดทนไปก่อน

เมื่อเห็นว่ามันเหลืออดเหลือทนจริงๆ หรือขืนทู่ซี้อยู่ต่อไป จะทำให้สุขภาพจิตเสีย เกิด "ขันแตก" ขึ้นมา หรือเราอาจจะเผลอทำกรรมชั่วใหม่ๆ ต่อกรรมชั่วเก่าๆ เข้าไปอีก ก็ควรที่จะหาทางย้ายไปอยู่ที่อื่นเสียในทันที

เปลี่ยนแปลงสถานที่ คือ ดัดแปลงสถานที่ อย่าให้ได้พบเห็น หรือได้ยินสิ่งที่เป็นอัปมงคลต่างๆ เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ถ้ามันทำไม่ได้จริงๆ ก็มีอยู่วิธีเดียว คือย้ายไปอยู่ที่อื่นให้มันพ้นๆ ไปเสีย

ปรับใจ คือ ควบคุมจิตใจของเรา ไม่ให้ออกไปรับอกุศลวิบาททางทวารทั้ง ๕ คือ ทางตา หู จมูก ลิ้นและกาย ด้วยการเอาสติควบคุมจิตไว้

เอ๊ะ! จะไปคอยคุมมันไหวหรือ?

ถ้ามีคำถามอย่างนี้ ก็ตอบได้ง่ายๆ ว่า ไหว ไหวแน่ๆ เพราะอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดทางใด มันก็เป็นอนิจจังเหมือนกัน คือมีเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรจะอยู่คงทนถาวร

ขออย่างเดียวเท่านั้น คือ อย่าแก้หรือตัดอกุศลกรรมเก่าด้วยความชั่วเป็นอันขาด ต้องแก้ด้วยการเอาดีสู้ หรือสู้ความชั่วด้วยความดี ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตจากธรรมบทบท (๒๕/๓๘) ืที่ว่า

จงชนะความชั่วด้วยความดี
กรรมของตนเองย่อมนำไปสู่ทางชั่ว
สาหิ กมฺมนหิ หยนฺติ ทุคฺคตึ



บำเพ็ญ ศาสนกิจให้ครบวงจร


ศาสนกิจ คือ กิจที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธไม่ว่าประเภทใด? ก็ควรที่จะได้บำเพ็ญกิจในพระศาสนาให้ครบถ้วนเท่าที่เราพอจะทำได้ เมื่อเวลาได้รับผล เราก็จะได้รับอย่างครบถ้วน

ว่าโดยหลักใหญ่ๆ แล้ว กิจในพระพุทธศาสนาก็มีไม่มากนัก คือมีเพียง ๒ กลุ่ม หรือ ๒ ประเภทเท่านั้น ดังนี้

สำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน ก็มี ทาน ศีล และภาวนา

สำหรับนักบวช ก็มี ศีล สมาธิ และปัญญา

ทาน เป็นเรื่องของวัตถุ หรือปัจจัย ๔ สำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตและอำนวยความสะดวกสบายในส่วน "รูปธรรม"

ศีล เป็นเรื่องของการปิดกั้นภัยเวร และเป็นการพัฒนากายกับวาจาให้ปกติ กับเป็นกระบวนการงดเว้นไม่ประทุษร้ายตนเองและผู้อื่นทางกายและวาจา

ภาวนา เป็นเรื่องของการพัฒนาจิต อบรมจิต ให้เกิดปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้ความงามเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง และดับทุกข์ได้สิ้นเชิง

ทั้ง ๓ ส่วนนี้ ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ชีวิตจึงจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายของมนุษย์อย่างสูงสุด (นิพพาน) ถ้าเราบำเพ็ญเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็บรรลุเป้าหมายอยาก หรือบรรลุไม่ได้เลย เช่น

บำเพ็ญแต่ทานล้วนๆ ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันภัยเวร หรือไม่อาจจะดับทุกข์ต่างๆ ได้เลย และจะเป็นเหตุให้บำเพ็ญทานอย่างงมงายด้วย

รักษาศีลเพียงอย่างเดียว ไม่ให้ทาน ไม่เจริญภาวนา ก็ย่อมจะอดอยาก ยากจน ไม่มีพวกพ้องบริวาร และดับทุกข์ทางใจไม่ได้ด้วย

เจริญภาวนาแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากจะอดอยากปากแห้งแล้ว ยังจะเต็มไปด้วยภัยเวร เพราะขาดอานิสงส์แห่งศีลคุ้มครองป้องกัน

เพื่อให้เห็นภาพพจน์ชัดเจน เกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนากิจไม่ครบวงจร แล้วจะนำความทุกข์มาให้ในเบื้องปลาย จึงขอยกเอาตัวอย่างพระเถระในสมัยพุทธกาล ๒ รูป มาเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้

พระพาหิยทารุจีริยะ ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายทางตรัสรู้ธรรมเร
็ว เพียงพระพุทธองค์ตรัสแนะหรือสอน ๒,๓ คำเท่านั้น ท่านก็บรรลุพระอรหันต์แล้ว

แต่พระพาหิยะก็เป็นผู้อาภัพ แม้ไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีวาสนาได้ห่มผ้าเหลือง เพราะท่านไม่ได้บริจาคผ้าไว้ในอดีตชาติ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ท่านไปแสวงหาผ้ามาก่อน

ในขณะที่ท่านเที่ยวเดินหาเศษผ้า ตามข้างถนนและกองขยะอยู่นั้น ไปพบเศษผ้าผืนหนึ่งที่กองขยะ ท่านกำลังก้มดึงเศษผ้าอยู่นั้นเอง วัวก็มาขวิดท่านถึงแก่ชีวิตในทันที

ตามปกติผู้ที่มีบารมีเต็มเปี่ยม สามารถที่จะบรรลุธรรมในทันทีที่ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดง แล้วกราบทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทเองนั้น

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า "จงเป็นภิกษุมาเถิด" เพศของผู้นั้นก็จะกลายเป็นเพศของภิกษุไปในทันที ถ้าบำเพ็ญบารมีมาครบวงจร

แต่ในกรณีของท่านพระพาหิยะนี้ พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่า ท่านไม่ได้บำเพ็ญทานบารมีด้านวัตถุ (ผ้า) มาก่อน พระพุทธองค์จงมิได้ประทาน "เอหิภิกขุ" ให้ ท่านก็เลยไม่ไม่มีโอกาสได้บวช ทั้งที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว!





พระลูกศิษย์พระสารีบุตร ในบรรดาพระสาวกที่อดอยากทั้งหลายในสมัยพุทธกาล เห็นจะไม่มีรูปใดเกินพระหลวงตาที่เป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตร ซึ่งมาบวชเมื่อแก่ไปไม่ได้อีกแล้ว

ตามประวัติว่า ท่านเป็นผู้ที่มีลาภน้อยที่สุด เมื่อท่านอยู่ครองเรือน ก็หาเลี้ยงปากท้องของตนเองไม่ค่อยพอ พอเห็ฯว่าชีวิตพระเป็นอยู่สุขสบายร่ำรวยด้วยอากหาร และปัจจัย ๔ มีฟุ่มเฟือย ท่านจึงมาขอบวชอยู่กับพระสารีบุตร

แต่พอมาบวชแล้ว ท่านก็ยังไม่พ้นสภาพเดิมอีก นั่นคือท่านไปเที่ยวบิณฑบาตก็ไม่ค่อยมีใครใส่ อาหารที่ได้จึงไม่พอฉัน และฉันไม่เคยอิ่มท้องเลยแม้แต่วันเดียว

แม้ท่านจะบำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วท่านก็ยังอดๆ อยากๆ อยู่เช่นเดิม ด้วยอกุศลกรรมเก่า ที่ท่านไม่เคยสั่งสมทานบารมีไว้ก่อนนั่นเอง

ท่านพระสารีบุตรรู้บุพกรรมของท่าน จึงพยายามเอาอาหารมาให้ท่านฉันอยู่เป็นประจำ แต่อาหารนั้นๆ ท่านก็ไม่ค่อยได้ฉัน พอท่านจะฉันหรือจะเข้าปากอยู่แล้ว ก็มีอันเป็นต้องหรือ เสียหายไปทุกที (ว่าเทวดาแกล้ง)

จนในวันสุดท้าย ที่ท่านจะถึงเวลามรณภาพแล้ว พระสารีบุตรเกิดสังเวชจิต คิดจะให้ท่านฉันอาหารให้อิ่มท้องสักมื้อหนึ่ง ท่านจึงเอาอาหารไปให้ด้วยมือตนเอง และถือไว้ให้ท่านฉันต่อหน้า

วันนั้นท่านจึงได้ฉันอาหารเต็มอิ่มและเป็นอิ่มแรกและอิ่มสุดท้ายของชีวิต เพราะท่านนิพพานในวันนั้นเอง

นี่คือการบำเพ็ญศาสนกิจไม่ครบวงจร จึงเกิดการไม่สมดุลกัน เพราะไปมุ่งทำหนักในส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วผลจึงออกมาอย่างนี้ จึงเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้ที่พบเห็น

ดังนั้น ผู้ที่รู้ตัวเองว่า ตนยังบำเพ็ญศาสนกิจไม่ครบวงจร คือ ทาน ศีล และภาวนา ก็ขอได้โปรดบำเพ็ญให้ครบเสียเถิด แล้วท่านจะไปเกิดในภพในชาติใด ก็จะได้รับอานิสงส์แห่งกุศลกรรมครบวงจร

หน้าที่ของชาวพุทธที่ดี จะต้องปฏิบัติศาสนกิจ ดังนี้

ทานก็ต้องให้ ศีลก็ต้องรักษา ภาวนาก็ต้องเจริญ

ถ้าปฏิบัติได้ครบทั้ง ๓ ส่วน จึงจะถือว่า เป็นการบำเพ็ญ "ศาสนกรรม" ที่ครบวงจรอย่างแท้จริง และผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะได้รับผลกรรมอันไพบูลย์ ทั้งในชาติปัจจุบันและในชาติต่อๆ ไป

ข้อควรสังวร

ในการบำเพ็ญศาสนกิจให้ครบวงจรนี้ สิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ ศรัทธา กับ ปัญญา จะต้องเจริญให้สมดุลกัน หรือ ต้องกอดคอไปพร้อมๆ กัน

ถ้าไม่ปรับศรัทธากับปัญญาให้สมดุลกัน การบำเพ็ญศาสนกิจ หรือศาสนกรรมก็ไม่มีทางจะครบวงจรได้ กล่าวคือ

ถ้าเคยให้ทานมาอย่างไร? มันก็จะให้ทานอยู่อย่างเดียว ไปจนตาย

ถ้าเคยรักษาศีลมาอย่างไร? มันก็จะงมโข่งรักษาอยู่อย่างเดียวเรื่อยไป

ถ้าเคยเจริญภาวนามาอย่างไร? มันก็จะทำอยู่อย่างเดียวจนตาย

คนย่อมทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยตนเอง
คนอื่นจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วให้ไม่ได้เลย

อตฺตนา กุรุเต ลกฺขึ กุรุตตฺตนา
น หิ ลกฺขึ อลกฺขึ วา อญฺโญ อญฺญสฺส การโก

สิริกาฬกัณณิชาดก ๒๗/๑๙๒

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง วิธีตัดกรรมเก่า
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..