หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นางกิ่งแก้ว ใหม่สุวรรณ
จากจังหวัด ปราจีนบุรี

การจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
โพสต์เมื่อวันที่ : 18 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6652 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(60.00%-11 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

การวิจัยในชั้นเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

สำหรับกลุ่มครูโรงเรียน     จังหวัดปราจีนบุรี

โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ)              ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 – 2

 

คำชี้แจง : ให้คุณครู    และกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์

 

1. สภาพปัญหาที่พบในชั้นเรียน

                การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย มีจุมมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และได้รับประสบการณ์ตรงจากการอยู่ร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นอิสระ การตัดสินใจ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการควบคุมตนเอง รวมถึงการค้นพบโดยการเล่น นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความสนุกสนาน และปลอดภัย

                การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีพื้นที่สำหรับศูนย์การเรียน หรือมุมต่างๆ ทั้งนี้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ศูนย์การเรียนรู้หรือมุมต่างๆจึงควรเกี่ยวพันกับประสบการณ์ตรง และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีความสัมพันธ์กับหน่วยการเรียน และเปิดโอกาสให้เด็กทำงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม

                อย่างไรก็ตามจากการสังเกตชั้นเรียน พบว่ามีปัญหาบางประการที่ทำให้การจัดสภาพแวดล้อมไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและหลักการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่พอสรุปได้ดังนี้

           ด้านการจัดสภาพแวดล้อม

1.       อาคารเรียนมีขนาดเล็กไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนสถานที่คับแคบไม่สามารถจัดมุมประสบการณ์ในห้องเรียนได้

2.       อาคารเรียนภายนอกตรงกลางอาคารไม่มีหลังคาเวลาฝนตกทำให้น้ำสาดเข้ามาหน้าห้องไม่สามารถวางของหรือจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆได้

3.       พื้นที่ใช้สอยภายในห้องเรียนมีน้อย ไม่สามารถจัดมุมกิจกรรมหรือมุมประสบการณ์ต่างๆได้

4.       ห้องเรียนมีกระจกรอบด้านเมื่อจัดกิจกรรมการสอนทำให้เกิดเสียงสะท้อนภายในห้องเรียน

5.       ขาดวัสดุอุปกรณ์เช่น ชั้นวางของ เครื่องเล่นตามมุมต่างๆ

           ด้านเด็ก

1.       นักเรียนมีวุฒิภาวะต่างกัน มีความพร้อมแต่ละด้านช้า เร็วต่างกันในการจัดกิจกรรมจำเป็นต้องจัดให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนทำให้การจัดกิจกรรมบางอย่างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

2.       นักเรียนมีพื้นฐานครอบครัวที่ต่างกัน บางคนมีนิสัยชอบหยิบของของผู้อื่น

3.       นักเรียนสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์และการใช้เหตุผลและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

           ด้านการจัดการเรียนการสอนของครู

1.       ครูบางท่านไม่ได้จบสาขาการศึกษาปฐมวัยโดยตรง

2.       ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งยังไม่หลากหลายกิจกรรมไม่เหมาะกับเด็ก

3.       ครูไม่ได้จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน

4.       ขาดสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน

           ด้านอื่น

1.       นโยบายของโรงเรียนเน้นการจัดการเรียนการสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสอนในระดับปฐมวัยที่เน้นการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน

2.       ขาดการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

2. สาเหตุ

                เมื่อได้วิเคราะห์สภาพปัญหาที่พบในชั้นเรียน เห็นว่าสภาพปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากหลายประการ ดังนี้

           จากสภาพแวดล้อมใน/นอกห้องเรียน อาคารเรียนมีขนาดเล็กไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนสถานที่คับแคบไม่สามารถจัดมุมประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนได้

           จากการจัดการเรียนการสอน/ตัวครู   ขาดสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

           จากตัวเด็ก     นักเรียนสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์และการใช้เหตุผลและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขาดคุณธรรม จริยธรรม

           อื่นๆ   นโยบายของโรงเรียนเน้นการจัดการเรียนการสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสอนในระดับปฐมวัยที่เน้นการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน

3. แนวทางการแก้ไข

           ด้านสภาพแวดล้อม 

                1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารในการปรับปรุงอาคารเรียนโดยทำหลังคาและจัดมุมประสบการณ์พื้นฐาน 13 มุม ภายในอาคารปฐมวัย

           ด้านการจัดการเรียนการสอน/ตัวครู

1.       จัดทำสื่อ อุปกรณ์ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

2.       จัดกิจกรรมที่เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม

3.       จัดกิจกรรมต่างๆส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การใช้เหตุผลและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

           ด้านอื่นๆ

                1. ร่วมประชุมวางแผนงานกำหนดนโยบายของโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยที่เน้นการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน

4. ภาพความสำเร็จที่ครูอยากเห็นในตัวเด็ก (ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ)

           พัฒนาการด้านร่างกาย

นักเรียนสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ให้มีความแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวคล่องแคล่วและการใช้อวัยวะต่างๆ ในการทำกิจกรรมได้ดี  และพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา สามารถช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ต่างๆได้ดี

           พัฒนาการทางสติปัญญา

นักเรียนสามารถพัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ รู้จักแก้ปัญหามีโอกาส สามารถใช้ภาษาสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและเห็นความสวยงามของ สิ่งต่างๆ รอบตัว

           พัฒนาการทางอารมณ์/สังคม

นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเอง     รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือ อีกทั้งมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

5. เลือกแนวทางการแก้ไขและตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่ครูสนใจมากที่สุด คือ

การจัดกิจกรรมต่างๆส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การใช้เหตุผลและการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

6. ชื่องานวิจัยในชั้นเรียน (จุดมุ่งหมาย , ตัวแปร , กลุ่มศึกษา)

1. ชื่อวิจัย 

รายงานผลการใช้คู่มือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักBBL(Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ)

2. จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนระดับปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย

                2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย

3. ตัวแปร

ตัวแปรที่ศึกษาแยกเป็น 2 ประเภท คือ

                                3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์

                                3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล 4 ด้าน ประกอบด้วย

                                                3.2.1 ด้านการเปรียบเทียบ

                                                3.2.2 ด้านการจัดประเภท

                                                3.2.3 ด้านการหาส่วนที่หายไปของภาพ

                                                3.2.4 ด้านอุปมาอุปไมย

7. ขอบเขตการวิจัย

7.1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552

7.2 ตัวแปรต้น

การจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์

7.3 ตัวแปรตาม

ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล 4 ด้าน ประกอบด้วย

                                                1 ด้านการเปรียบเทียบ

                                                2 ด้านการจัดประเภท

                                                3 ด้านการหาส่วนที่หายไปของภาพ

                                                4 ด้านอุปมาอุปไมย

7.4 เวลา / สถานที่

                ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552    โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ)

7.5 ประเด็นที่ศึกษา / เนื้อหาที่ใช้

                การจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย เป็นเนื้อหาในการสร้างกิจกรรมจากหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรการเรียนรู้แบบ Brain-based Learningสำหรับเด็กปฐมวัย พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมศิลปะและการสร้างสรรค์ให้เด็กจินตนาการออกมาเป็นภาพผ่านการทดลองศิลปะและการสร้างงานศิลปะจากวัฒนธรรมท้องถิ่น

8. นิยามศัพท์เฉพาะ/ คำสำคัญ

                1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชาย หญิง อายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปราจีนบุรี

2. คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBLด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำอย่างเสรี โดยให้ครูจัดปรับตามความเหมาะสมของสภาพท้องถิ่นโดยการนำเศษวัสดุและวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นตลอดจนการใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ มาผสมผสานจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและสอดคล้องกับหน่วยการเรียนในแต่ละสัปดาห์ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

                                การจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย นี้ จัดขึ้นในช่วงกิจกรรมสร้างสรรค์ของแต่ละวัน วันละ 40 นาที ตามแผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

                                1. ขั้นนำ  ครูแนะนำชื่อกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม

                                2. ขั้นดำเนินกิจกรรม  เด็กลงมือทำกิจกรรมตามความคิดและจินตนาการของตนเองอย่างอิสระ

                                3. ขั้นสรุป  ครูและเด็กพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมและเล่าผลงานของตนเอง

                3. การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง เป็นความคิดทางสมองที่เกิดขึ้นภายใน โดยอาศัยหลักการหรือข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผลจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาสนับสนุนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆใช้ในการตัดสินใจและหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถนำมาเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกันและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลในการศึกษาครั้งนี้ จำแนกการคิดเชิงเหตุผลออกเป็น 4 ด้าน คือ

                                3.1 ด้านการเปรียบเทียบ  หมายถึง  ความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความแตกต่างของสิ่งของต่างๆตามรูปร่าง รูปทรง ขนาด ทิศทาง ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกัน

                                3.2 ด้านการจัดประเภท  หมายถึง  ความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความเหมือนกันเพื่อจัดแยกของสิ่งต่างๆตามประเภทที่จัดอยู่ในพวกเดียวกันกับภาพที่กำหนดให้

                                3.3 ด้านการหาส่วนที่หายไปของภาพ  หมายถึง ความสามารถในการคิดพิจารณาถึงส่วนของภาพที่หายไปว่ามีลักษณะอย่างไรตามภาพที่กำหนดให้

                                3.4 ด้านอุปมาอุปไมย  หมายถึง  ความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์ของภาพในคู่แรกเพื่อหาคำตอบกับคู่ที่สองที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับคู่แรก

การคิดเชิงเหตุผลทั้ง 4 ด้าน สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัด

ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

                4. ความพึงพอใจ  หมายถึง ความรู้สึกชื่นชอบหรือพอใจในการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL (Brain-based Learning) ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ผู้เรียนเต็มใจและกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติกิจกรรมและต้องการปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆอย่างต่อเนื่อง

9. วิธีดำเนินการวิจัย

9.1 ขั้นเตรียม : จัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ต้องการศึกษา , เตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

9.2 ขั้นดำเนินการ/รวบรวมข้อมูล : สังเกต บันทึกพฤติกรรมเด็ก ประเมินเด็ก

9.3 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล : นำผลการบันทึกมาวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา

10. แผนการปฏิบัติงาน

เดือนที่ 1

จัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ต้องการศึกษา , เตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สังเกต บันทึกพฤติกรรมเด็ก ประเมินเด็กก่อนทำกิจกรรม

เดือนที่ 2

จัดทำคู่มือแนวการจัดกิจกรรม  แบบประเมิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ

เดือนที่ 3

ดำเนินกิจกรรมในช่วงการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ บันทึกข้อมูล

เดือนที่ 4

นำผลการบันทึกมาวิเคราะห์  ประเมินและสรุปผลการศึกษา

11. เอกสารงานหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

              1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

              1.2 ความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

              1.3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

     2. หลักสูตรการเรียนรู้แบบ Brain-based Learning สำหรับเด็กปฐมวัย พ.ศ.2549

                 2.1 หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบ Brain-based Learning

                 2.2 แนวทางการจัดการเรียนรู้เด็กปฐมวัย แบบ Brain-based Learning

     3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล

3.1    ความหมายของการคิด

3.2    ทฤษฎีพัฒนาการคิด

3.3    ความหมายของการคิดเชิงเหตุผล

3.4    ความสำคัญของการคิดเชิงเหตุผล

3.5    ลักษณะการคิดเชิงเหตุผล

3.6    แนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผล

      4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับศิลปะและการสร้างสรรค์ตามหลัก BBL

4.1    ความหมายของกิจกรรมศิลปะและการสร้างสรรค์ตามหลัก BBL

4.2    ความสำคัญของกิจกรรมศิลปะและการสร้างสรรค์ตามหลัก BBL  

4.3    ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมศิลปะและการสร้างสรรค์ตามหลัก BBL

 

 

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นางกิ่งแก้ว ใหม่สุวรรณ
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นางกิ่งแก้ว ใหม่สุวรรณ..