หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
โสชญา สิทธิมาลิก
จากจังหวัด กทม.

วิจัยสถาบัน
โพสต์เมื่อวันที่ : 17 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6408 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

การวิจัยสถาบัน

                                                                                                                      

๑.  ความสัมพันธ์ระหว่างวิจัยสถาบันกับการประกันคุณภาพการศึกษา

             

             การวิจัยสถาบัน   ( Institutional Research Administrative  Research Operation  Research )

                หมายถึง  การวิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหา  ที่เกี่ยวข้องโดยตรง  กับแต่ละสถาบัน / หน่วยงาน  เพื่อนำข้อสรุปที่ได้  มาใช้ประกอบการวางแผน  การกำหนดนโยบาย  รวมทั้งการตัดสินใจ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  ซึ่งถือว่า  เป็นการวิจัยเชิงประเมินและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ

      พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕)

                มาตรา  ๓๐ สถานศึกษา  ต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถทำการวิจัย  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (การสอนโดยกระบวนการวิจัย)

            หมวด     มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ประกอบด้วย

                ๑.  การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง  กระบวนการบริหารสถาบัน  (การกำหนดมาตรฐาน   การควบคุม  และการประเมินภายใน)  ซึ่งจะต้องมีการรายงานประจำปี   : SSR,  SAR    เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

                ๒.  การประกันคุณภาพภายนอก  โดยองค์การมหาชน  คือ  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  ทำการประเมินภายนอก  อย่างน้อย    ครั้ง  ในทุก    ปี 

              จากความหมายของการวิจัยสถาบันและการประกันคุณภาพการศึกษา จะพบว่ามีความสัมพันธ์กันดังนี้

                เมื่อมีพรบ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕) ขึ้นมา สถานศึกษาต้องปฏิบัติตาม คือต้องมีการส่งเสริมให้ผู้สอนทำการวิจัย และต้องทำในเรื่องการประกันคุณภาพ ให้สถานศึกษามีคุณภาพ  คุณภาพของสถานศึกษาก็คือ คุณภาพของผู้เรียน  คุณภาพของครู  คุณภาพของผู้บริหาร  การที่จะทำให้สถานศึกษามีคุณภาพ การดำเนินงานต้องมีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลการวิจัยหรือ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ และต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ. กำหนดไว้    ซึ่งขั้นตอนก่อนที่จะได้มาตรฐาน ก็จำเป็นต้องมีการวิจัยสถาบัน เพื่อให้ทราบขอบเขต ลักษณะ หรือโครงสร้างของงานในสถานศึกษา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา  เพื่อที่จะมากำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ทำแผนปฏิบัติการ  กระทั่งนำไปกำหนดเป็นกลุยทธ์สถานศึกษา   ซึ่ง แนวคิดหรือเป้าหมายหลักของการวิจัยสถาบัน  คือ  เพื่อให้ผู้บริหารนำข้อสนเทศ/ข้อค้นพบ  จากการวิจัยไปใช้ประกอบในการแก้ปัญหา  กำหนดนโยบายพัฒนาสถาบัน หรือตัดสินใจในสภาวการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน  ก็สามารถใช้การวิจัยสถาบันได้

             การวิจัยสถาบันในความหมายเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึงการดําเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร เพื่อใช้ผลการวิจัยเชิงประเมินนั้น มาประกอบการตัดสินใจในการจัดทํานโยบายและแผนตามพันธกิจขององค์กรนั้นต่อไป รวมทั้งให้การวิจัยสถาบันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ         

 

๒.     วิธีวิทยาการวิจัยและฐานข้อมูล

                     คำว่าวิธีวิทยาตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า methodology ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า methodus + logia และมาจากภาษากรีกว่า methodos (meta + hodos =way) +logie (webster’ s Ninth New Collegiate Dictionary, 1991) ตามรากศัพท์วิธีวิทยาหมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการ หรือเทคนิคคำว่า วิธีวิทยาการวิจัยจึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัยได้แก่การกำหนดปัญหาวิจัยการศึกษา และรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการกำหนดสมมุติฐานวิจัยการกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัยการรวบรวมการนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งรวมในวิธีวิทยาทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการ วัดและการประเมินผล 

               ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การ หรือในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพก่อนหน้าที่จะนำมาจัดเรียบเรียง หรือ จัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปจะเข้าใจหรือนำไปใช้ได้  ส่วนฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่าน DBMS ทุกครั้ง หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางให้ผู้ใช้และฐานข้อมูลติดต่อกันได้ เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล

        ฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล นั่นก็คือการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นเราอาจจะเก็บทั้งฐานข้อมูล โดยใช้แฟ้มข้อมูลเพียงแฟ้มข้อมูลเดียวกันได้ หรือจะเก็บไว้ในหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล ที่สำคัญคือจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนและเรียกใช้ความสัมพันธ์นั้นได้ มีการกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออกและเก็บแฟ้มข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน ควบคุมดูแลรักษาเมื่อผู้ต้องการใช้งานและผู้มีสิทธิ์จะใช้ข้อมูลนั้นสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการออกไปใช้ได้ ข้อมูลบางส่วนอาจใช้ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่บางส่วนผู้มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้ โดยทั่วไปองค์กรต่าง ๆ จะสร้างฐานข้อมูลไว้ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของตัวองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในเชิงธุรกิจ เช่น ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของสินค้า ข้อมูลของลูกจ้าง และการจ้างงาน เป็นต้น ระบบจัดการฐานข้อมูลมีระโยชน์คือ ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล รักษาความถูกต้องของข้อมูล มีความเป็นอิสระของข้อมูล มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง และใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

               จากความหมายขององค์ประกอบทั้ง ๒ นี้ จะเห็นว่าการวิจัยต่างต่างๆต้องอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูล  จึงจะนำมาสู่การวิจัยที่เต็มรูปแบบได้ เพราะการวิจัยต้องมีข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ถูกต้อง การผิดพลาดก็จะไม่มีหรือเกิดขึ้นน้อย  ผลจากการวิจัยก็มีความถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

 

๓.      เมื่อสถานศึกษามีปัญหาในเรื่องกระบวนการบริหารจัดการ  สามารถนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการแก้ปัญหานั้นโดย

                     เมื่อเราทราบว่ามีปัญหาเรื่องกระบวนการบริหารจัดการเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามต้องทำการศึกษาปัญหาและต้องดำเนินการการแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยสถาบันตามหลักการและขั้นตอนของการวิจัย  เช่น  ศึกษาสภาพของปัญหานั้นๆเพื่อที่จะนำมาเป็นประเด็นในการวิจัย    ศึกษาหลักการวิธีการเกี่ยวกับหลักทฤษฎี หรือแนวคิด หรือผลการวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำมาอ้างอิงเป็นวิธีการหรือแนวทาง  ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน   และจัดการดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นแล้ว   จนกระทั่งได้ผลการวิจัยออกมา   ก็นำมาใช้ในการวางแผน  หรือกำหนดนโยบายเพิ่มเติม  และจัดทำโครงการขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหานั้นๆ รวมถึงการกำหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อีก  และยังสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนางานเดิม หรือเพิ่มงานใหม่ได้  และหากพบว่ามีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีก   และเป็นปัญหาสำคัญก็ดำเนินการวิจัยสถาบันและนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้อีก      

กระบวนการวิจัยโดยทั่วไป 

              เลือกหัวข้อปัญหา  ในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องตกลงปลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร  ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ  ด้วยความมั่นใจ  และเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา

              ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย  หลังจากที่กำหนดเรื่องที่จะวิจัยได้แล้ว  จะต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยศึกษาสาระความรู้  แนวความคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น  ในตำรา  หนังสือ  วารสาร  รายงานการวิจัยและเอกสารอื่น ๆ  สำหรับผลงานที่เกี่ยวข้อง  จะช่วยให้ทราบว่ามีใครวิจัยในแง่มุมใดไปแล้วบ้าง  มีผลการค้นผลอะไร  มีวิธีดำเนินการ  ใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์เช่นไร  ฯลฯ  ซึ่งจะช่วยให้ในการทำวิจัยได้อย่างเหมาะสมรัดกุม  ไม่ซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่ทำไปแล้ว  และช่วยตั้งสมมุติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล

              เขียนเค้าโครงการวิจัย  ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหือที่มาของปัญหา  ความมุ่งหมายของการวิจัย   ขอบเขตของการวิจัย   ตัวแปรต่าง ๆ   ที่วิจัย (กรณีที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวแปร)  คำนิยามศัพท์เฉพาะ  สมมุติฐานในการวิจัย  วิธีดำเนินการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  รูปแบบการวิจัย  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล  สำหรับส่วนที่กล่าวถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้อาจแยกกล่าวต่างหากหรืออยู่ในส่วนที่เป็นภูมิหลังก็ได้

              . สร้างเครื่องมือในการรวบข้อมูล  ดำเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้น  ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือ  ลักษณะธรรมชาติ  และ โครงสร้างของสิ่งที่จะวัด      การเขียนข้อความหรือข้อคำถามต่าง ๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไข การทดลอง และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ  การปรับปรุงเป็นเครื่องมือฉบับจริง  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป  กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐาน  เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้  ถ้าสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่ามีความเชื่อมั่นเข้าเกณฑ์ก็นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมที่เป็นแบบแผนก็จะตัดตอนนี้ออกไปได้

             เลือกกลุ่มตัวอย่าง  ในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร   แต่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง   ก็ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ ในการวิจัยบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ก็จะตัดขั้นตอนนี้ออก

              จัดกระทำข้อมูล    โดยอาจนำจัดเข้าตาราง     วิเคราะห์ด้วยสถิติ    ทดสอบสมมุติฐาน    หรือนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีต่าง ๆ ตามวิธีการของการวิจัยเรื่องนั้น

              ตีความผลการวิเคราะห์  จากผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 7   ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์

               . เขียนรายงานการวิจัย  และจัดพิมพ์  ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยประเภทนั้น ๆ เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษา

๔.  หัวข้อในการทำวิจัยสถาบัน

                ๑.  ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

                ๒. ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนที่ทำผิดกฎระเบียบวินัยโรงเรียน

                ๓.  ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา

                ๔.  ศึกษาการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียน

                ๕.  ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในแต่ละกลุ่มงาน

                 ๖.  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                 ๗.  ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  

                 ๘.  ศึกษารูปแบบการบริหารห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ

                 ๙.  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาต่อโรงเรียนวัดสังเวช

                 ๑๐.  ศึกษาการรับรู้ของบุคลากรต่อการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดสังเวช

 

๕.  เขียนโครงการวิจัยสถาบัน

ชื่อโครงการ            ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาต่อโรงเรียนวัดสังเวช

ความเป็นมาของปัญหา

                    จากที่มีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ มีการกำหนดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา และมีการกำหนดให้นักเรียนมีสิทธิในการสมัครเข้าเรียนในพื้นที่ใกล้บ้านได้ รวมถึงให้สถานศึกษากำหนดสัดส่วนในการับนักเรียนสำหรับการสอบเข้า และการรับนักเรียนนอกพื้นที่เข้าเรียน ของแต่ละโรงเรียนได้ นั้น  ส่งผลกระทบต่อการมาสมัครเข้าเรียนและสมัครสอบ เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวชมาก  เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับโรงเรียนดังของกรุงเทพมหานคร และมีทำเลที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนดังมากมาย ทั้งที่เป็นโรงเรียนชายล้วน โรงเรียนสตรีล้วน รวมถึงโรงเรียนสหศึกษา ที่มีชื่อเสียง  ทำให้จำนวนนักเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา  ๒๕๔๗   จนถึงปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนลดลงมากว่าครึ่งหนึ่งของปีการศึกษา  ๒๕๔๖  ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเรียนวัดสังเวช  นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมานี่ว่ายังมีปัจจัยด้านอื่นๆ  หรือไม่อย่างไร  จึงได้มีการศึกษาเรื่องนี้

คำถามในการวิจัย

๑.      ทำไมนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  ในบริเวณใกล้เคียง มาสมัครเรียนลดลง

๒.    ทำไมนักเรียนที่มาสมัครเรียน เป็นนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนโรงเรียนอื่นๆไม่ได้แล้ว

๓.     สาเหตุที่โรงเรียนวัดสังเวชมีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง และมีปัญหาในเรื่องการผิดระเบียบวินัยเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

๑.      เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวช

๒.    เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑.      มีนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนวัดสังเวชเพิ่มขึ้น

๒.    นักเรียนที่เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวชมีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

             ๑.    ประชากรเป้าหมายเป็นฝ่ายบริหาร  และครู  นักเรียนของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑    จำนวน  ๓๐๐  คน

             ๒.     กลุ่มตัวอย่าง   เป็นฝ่ายบริหาร   ครู  นักเรียน  ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑  และผู้ปกครอง  จำนวน  ๓๐๐  คน  ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง ครู ๕๐ คน ผู้บริหาร  ๒๐ คน   นักเรียน   ๑๕๐   คน   ผู้ปกครอง   ๘๐  คน

๓.      ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อและสภาพการเรียนการสอนของ

โรงเรียนวัดสังเวช

วิธีดำเนินการวิจัย

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ   เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อและสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช  ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยในหัวข้อต่างๆ  ดังนี้

ประชากร

                ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ฝ่ายบริหาร  ครู  และนักเรียน โรงเรียนวัดสังเวชในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงฝ่ายบริหารจำนวน  ๒๐  คน  ครูจำนวน ๕๐ คน  นักเรียน จำนวน ๑๐๐  คน  ผู้ปกครอง  จำนวน  ๘๐  คน   รวมทั้งสิ้นจำนวน   ๓๐๐ คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น  เพศ  อายุ  การศึกษา  มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist)

ตอนที่   2   สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสังเวช

ตอนที่ 3   สอบถามเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสังเวช

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                การเก็บรวบรวมข้อมูลทำตามขั้นตอนดังนี้

1.             ผู้วิจัยนำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๓๐๐  ฉบับ และฝ่ายบริหาร ๒๐ ฉบับ

2.             รวบรวมแบบสอบถามมาส่งที่รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการของสถานศึกษา

3.             รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการของสถานศึกษารวบรวมแบบสอบถามส่งให้ผู้วิจัยเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

4.             ผู้วิจัยรับแบบสอบถามกลับคืน โดยตรวจสอบความถูกต้องของการตอบแบบสอบถาม เพื่อให้แบบสอบถามทุกชุดมีความสมบูรณ์มากที่สุด ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์นำมาวิเคราะห์ได้จำนวน  ๒๙๐ ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์   มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1.             วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงความถี่(frequency ) และหาค่าร้อยละ

2.             วิเคราะห์การศึกษาสภาพการประชาสัมพันธ์และปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา และภาพรวม โดยใช้ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับดังนี้

4             หมายถึง                ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน           มากที่สุด

                                            3        หมายถึง                  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน          มาก

                                            2        หมายถึง                  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน          น้อย

                                            1        หมายถึง                   ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน         น้อยที่สุด

                                          0           หมายถึง  ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน         ไม่มี

กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    มากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    มาก

ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    ปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน     น้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน     น้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ย 0.00 – 0.99 หมายถึง ระดับปัจจัยหรือสภาพการสอน    ไม่มี

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

 

                การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยใช้สถิติ ดังนี้

สถิติพื้นฐาน

                1.  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างหาค่าความถี่และร้อยละ

                2.  วิเคราะห์เพื่อหาระดับสภาพและปัญหาการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา ใช้ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

 

                                                                                                                              (โสชญา  สิทธิมาลิก )

**********************************************************

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง วิจัยสถาบัน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

โสชญา สิทธิมาลิก
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
โสชญา สิทธิมาลิก..