หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
จากจังหวัด ปัตตานี

ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?
โพสต์เมื่อวันที่ : 16 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6411 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?

                ใครศึกษาอัลกุรอานต้องตระหนักดีว่าศาสนาอิสลามให้ทางนำอันเป็นสายกลางระหว่างความยากลำบากกับความปล่อยปละละเลย ซึ่งแนวกลางนี้คือความง่ายความสะดวกในการดำรงชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจ ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142)

                เจตนารมณ์ของหลักการอัลอิสลาม คือให้มุสลิมดำรงชีวิตด้วยหลักการอิสลามโดยไม่มีความลำบาก ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้พวกเจ้ามีความสะดวกและมิทรงประสงค์ให้พวกเจ้าประสบความลำบาก และในซูเราะฮฺอันนิซาอฺ อายะฮฺ 28 อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้ลดลง(ความลำบาก)แก่พวกเจ้า และในซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6 อัลลอฮฺมิทรงประสงค์ให้พวกเจ้ามีความลำบาก ในซูเราะฮฺอัลฮัจย์ อายะฮฺ 78 และพระองค์มิทรงทำให้ในศาสนามีความลำบากกับพวกเจ้า

                ในพจนารถของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็มีการยืนยันในเจตนารมณ์นี้ ดังที่ปรากฏในหะดีษบันทึกโดยบุคอรียฺ ท่านนบีกล่าวไว้ว่า จงทำ(เรื่องศาสนา)ให้ง่าย และอย่าทำ(เรื่องศาสนา)ให้ยาก และในการบันทึกของท่านอิมามบุคอรียฺ รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกเสนอให้เลือกระหว่างสองประการ ก็ย่อมจะเลือกสิ่งที่สะดวกกว่า เว้นแต่(สิ่งที่สะดวกกว่า)จะเป็นความผิด หากเป็นความผิดก็จะเป็นผู้ห่างไกลที่สุดจากมัน และในการบันทึกของท่านอิมามบุคอรียฺเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาหรับ(ชนบท)คนหนึ่งปัสสาวะในมัสยิดและศ่อฮาบะฮฺได้ประณาม แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ปล่อยเขาและจงเอาภาชนะที่มีน้ำมาเท แท้จริงพวกท่านถูกส่งมา(ให้เทศนา)เป็นผู้อำนวยความสะดวก มิได้ถูกส่งมาเพื่อสร้างความลำบาก

                ใครที่ศึกษาบทบัญญัติอัลอิสลามย่อมมีความเข้าใจว่าความสะดวกที่อัลอิสลามเอื้ออำนวยให้แก่ผู้ศรัทธานั้น แม้ว่าจะเป็นกรอบที่ชัดเจนแต่ก็ต้องอยู่ในกรอบแห่งหลักการของอัลอิสลามด้วย กล่าวคือ ถ้าเป็นความสะดวกก็จำเป็นต้องมีข้ออนุโลมในหลักการของอัลอิสลาม มิใช่เพียงเป็นทัศนะหรือการตีความหลักฐานโดยไร้เหตุผล เพราะท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้ยืนยันว่าทางเลือกของท่านนบีคือสิ่งที่มีความสะดวกแต่ต้องไม่ผิดหลักการ

                บางคนอาจเข้าใจว่าความสะดวกที่ศาสนาอิสลามอำนวยให้แก่มุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ) คือการเลือกแนวทางที่สะดวก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการก็ตาม ในวงนักวิชาการก็มีบางคนที่เข้าใจแนวทางนี้อย่างคลาดเคลื่อนจนกระทั่งส่งผลให้มีทัศนะอนุโลมให้ประพฤติสิ่งที่ผิดต่อหลักการ เช่น ใช้ริบาอฺ(ดอกเบี้ย) สูบบุหรี่ โกนเครา ฟังเพลง ปะปนระหว่างผู้หญิงผู้ชายในกิจกรรม และอื่นๆ ซึ่งข้ออ้างที่มักจะได้ยินจากนักวิชาการกลุ่มนี้คือ อิสลามเป็นศาสนาที่สะดวกง่ายดาย แต่กลุ่มนี้ลืมไปว่าสิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้อย่างชัดเจนโดยมีหลักฐานที่ประจักษ์แจ้ง นั่นคือความสะดวกสำหรับมุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ) กล่าวคือ ใครแสวงหาความสะดวกก็ต้องตระหนักว่า สิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้นั่นคือความสะดวก มิใช่ความสะดวกที่ตนต้องการ หรือกระแสของสังคมเรียกร้อง หรือพฤติกรรมที่ถูกสืบทอดมาจนกระทั่งลบล้างไม่ได้ จึงต้องหาทางออกโดยอ้างความสะดวกความง่ายของศาสนา ดังนั้น ใครที่เข้าใจเหตุผลข้างต้นก็จะเข้าใจว่า การห้ามริบาอฺ(ดอกเบี้ย)นั่นคือความสะดวก การห้ามฟังเพลงและดนตรีนั่นคือความสะดวก และการคลุมหิญาบ(จะปิดหน้าหรือไม่ปิดหน้าแต่ต้องตรงกับหลักการ)นั่นคือความสะดวก เช่นนี้เป็นต้น

                นักวิชาการทั้งในกลุ่มประเทศอาหรับและในประเทศไทยบางท่านที่แสดงตนเป็นนักวิชาการที่อยู่ในทางสายกลาง โดยตีความว่าไม่ใช่หัวรุนแรงและไม่ใช่ผู้ปล่อยปละละเลย สังคมบางกลุ่มจึงเข้าใจว่า ใครที่ยึดมั่นกับสิ่งที่เป็นหลักการของอัลอิสลามถึงแม้ว่าจะถูกต้องแต่ถ้าส่วนมากในสังคมรับไม่ได้(เช่น การปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺ) ก็จะเชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้(ผู้ยึดมั่น)เป็นพวกหัวรุนแรงหรือเคร่งครัดเกินเหตุ จึงทำให้สังคมมองกลุ่มเหล่านี้ในแง่ตำหนิและไม่พอใจ ผลที่ปรากฏเกิดจากคำแนะนำของนักวิชาการที่ไม่ทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ อยากยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจในเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ คือนักวิชาการศาสนาในประเทศอาหรับที่มีชื่อเสียงและถือเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยกย่องว่า ฟัตวาของท่านเป็นฟัตวาที่อยู่ในทางสายกลางคือ เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ท่านเป็นผู้รู้ที่มีบทบาทในการเผยแผ่ศาสนาและต่อสู้เพื่อสัจธรรม แต่นักวิชาการในโลกมุสลิมได้ตำหนิแนวทางเข้าใจศาสนาของท่าน เพราะฟัตวาของท่านมักจะเป็นฟัตวาที่หาทางออกให้กับประชาชนอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงหลักฐานที่ถูกต้อง ท่านเชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ก็มีฟัตวาที่แปลกประหลาดเช่น อนุโลมให้มุสลิมที่อยู่ในยุโรปกู้เงินด้วยดอกเบี้ยเพื่อซื้อบ้านส่วนตัว, ฟัตวาอนุโลมให้ฟังเพลงฟังดนตรีโดยกล่าวหาผู้ห้ามว่าเป็นพวกหัวรุนแรง, ฟัตวาอนุโลมให้มีการปะปนระหว่างผู้หญิงผู้ชายในกิจกรรม, ฟัตวาอนุโลมให้มุสลิมในสหรัฐอเมริกาที่เป็นทหารร่วมมือถล่มประเทศมุสลิม เช่นอัฟฆอนิสตาน เป็นต้น เชคก็อรฎอวียฺมีเหตุผลเสมอในฟัตวาดังกล่าวคือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ) ทั้งๆที่เรื่องห้ามริบาอฺ ห้ามฟังดนตรี ห้ามปะปนผู้หญิงกับผู้ชาย และห้ามร่วมมือกับศัตรูเพื่อถล่มมุสลิมนั้น มีตัวบทที่ชัดเจน ซึ่งฟัตวาของเชคก็อรฎอวียฺนอกจากขัดกับตัวบทแล้ว ก็ยังสวนทางกับฟัตวาคณะอุละมาอฺส่วนมากทั่วโลกมุสลิม แนวทางของเชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ กำลังถูกเผยแพร่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจและตีความบทบัญญัติของอิสลาม จึงส่งผลให้นักวิชาการบางท่านที่ไม่รอบคอบกว้างขวางในการศึกษาและตรวจสอบหลงกับแนวทางนี้ ทำให้สังคมมุสลิมในประเทศไทยได้รับความสับสนจากฟัตวาแปลกประหลาดเช่นนี้

                ปฏิเสธไม่ได้ว่า เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ เป็นนักต่อสู้และเผยแผ่อิสลามมานานพอสมควร และท่านมีอุดมการณ์และความห่วงใยต่อประชาชาติอย่างหนักแน่นพอสมควร ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่นักวิชาการบางท่านที่ติดตามแนวทางของ เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ในประเทศไทยก็มีเช่นเดียวกัน แต่คุณลักษณะนี้ไม่เพียงพอที่จะให้นักต่อสู้เพื่ออิสลามนั้นบรรลุเป้าหมาย หนำซ้ำยังเป็นความคิดที่อาจสร้างความสับสน และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อหลักการอิสลามด้วย

                นักวิชาการกลุ่มนี้สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าเรื่องความเคร่งครัดเป็นเรื่องส่วนตัว(เช่น การปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺ และการปะปนระหว่างหญิงชายในกิจกรรมนักศึกษา เป็นต้น) โดยไม่ควรที่จะนำเรื่องความเคร่งครัดส่วนตัวมาเป็นกฎเกณฑ์ในการทำงานต่อสู้ญาฮิลียะฮฺ ประชาชนจึงต้องเข้าใจว่าเรื่องปิดหน้านั้นเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เรื่องศาสนา เพราะยังไม่มีใครเข้าใจว่าการปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺหรือการแยกระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในกิจกรรมนักศึกษาจะขัดกับการต่อสู้ระบอบญาฮิลียะฮฺได้อย่างไร แทนที่จะต้องสนับสนุนผู้เคร่งครัดในหลักการเพื่อเป็นตัวอย่างเป็นแบบฉบับอันดีงาม กลับเป็นผู้ให้เหตุผลที่ทำให้อะวาม(ชาวบ้านทั่วไป)มองผู้เคร่งครัดว่าเป็นพวกหัวรุนแรงหรือประพฤติในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล

                การปิดหน้าไม่เคยเป็นอุปสรรคในการทำงานศาสนา ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภรรยาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แม้จะปิดหน้าแต่ท่านก็มีบทบาทสูงมากในการให้ความรู้ให้คำแนะนำ แม้กระทั่งกับผู้ปกครองระดับคอลีฟะฮฺ ปัจจุบันนี้ในประเทศอาหรับหลายประเทศมีมุสลิมะฮฺที่เป็นแพทย์ วิศวกร นักวิเคราะห์ นักเขียน และนักเคลื่อนไหวที่ปิดหน้า แต่ก็ไม่ได้สร้างความลำบากแก่มุสลิมะฮฺในการต่อสู้ญาฮิลียะฮฺแต่อย่างใด

                การเอาใจประชาชนในเรื่องศาสนาเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้ผลที่ต้องการ เพราะประชาชนจะเคยชินกับฟัตวาที่ง่ายสะดวกโดยไม่ผูกพันกับหลักการและตัวบทที่ถูกต้อง ในสุดท้ายถ้ามีฟัตวาได้ยึดมั่นในความถูกต้อง(แต่ลำบากในการปฏิบัติ)ก็จะถูกต่อต้านจะประชาชน เพราะเข้าใจกันแล้วว่าศาสนาไม่มีความลำบากแต่อย่างใด เชคก็อรฎอวียฺเคยให้ฟัตวาเกี่ยวกับการบอยคอตสินค้าศัตรูอิสลาม แต่ฟัตวานี้ถูกต่อต้าน เพราะไม่ตรงกับอารมณ์ความต้องการของประชาชนทั่วไป และเชคก็อรฎอวียฺก็ไม่สามารถเปลี่ยนฟัตวานี้เพราะเป็นอุดมการณ์ของท่าน ซึ่งผลปรากฏคือความเข้าใจที่สับสนว่าตกลงอิสลามมีความลำบากหรือไม่

                อันที่จริงปัญหานี้ควรเป็นปัญหาที่ต้องปรึกษาหารือระหว่างนักวิชาการ แต่เนื่องจากว่าแนวคิดนี้ถูกเผยแพร่ทั้งทางอินเตอร์เน็ตและสื่อมวลชนโดยมีผู้สนับสนุนและเห็นด้วย จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับพี่น้องมุสลิมในสังคมของเรา เจตนารมณ์ของผู้เขียนบทความนี้คือ ต้องการให้นักวิชาการและประชาชนตระหนักว่าหลักการอิสลามที่ถูกต้องย่อมมีความสะดวกในตัวมัน และความสะดวกมิใช่กิเลสหรือความเข้าใจส่วนตัวที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานในการเลือกทัศนะหรือตีความตัวบท และเป้าหมายของอิสลามคือยกระดับของประชาชนให้มีประสิทธิภาพและความตระหนักในหลักการและตัวบท มิใช่ตีความหลักการกับตัวบทให้ตกไปอยู่กับความต้องการของประชาชน ไม่เช่นนั้นแล้วหลักการอิสลามทุกประการจะถูกยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง หรือยกเว้น โดยใช้เหตุผลข้างต้น ในสุดท้ายนี้ผู้เขียนเรียกร้องให้นักวิชาการที่มีความคิดเช่นนี้ให้เป็นผู้สร้างความสะดวกกับผู้เคร่งครัด อย่าสร้างความลำบากกับคนเคร่งครัดในหลักการ เพราะศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ง่ายสะดวกมิใช่หรือ ?

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี..