หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สหชัย ยวงพานิช
จากจังหวัด ชลบุรี

โรคและการป้องกันหนู
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 ส.ค. 2551 IP : เปิดอ่าน : 6707 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(57.14%-7 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

หนูทำความเสียหายแก่พืชผลได้ทุกชนิด สำหรับอ้อยหนูจะกัดทำลายอ้อยให้ได้รับความเสียหายเมื่ออ้อยมีอายุประมาณ 7 - 14 เดือน และจะกัดทำลายไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะพบร่องรอยของหนูบนต้นอ้อย ตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 45 เซนติเมตร โดยกัดเป็นรอยแหว่งตามปล้องเกือบตลอดทั้งท่อนอ้อย

.....

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินในเวลากลางคืน ถ้าหากประชากรของหนูหนาแน่นมาก ก็อาจทำให้บางตัวออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี คือ หนวด ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง หนูจะใช้หนวดช่วยคลำทาง ดังนั้น หนูมักออกหากินตามทางเดินเสมอทำให้เกิดรอยทางเดิน นอกจากนี้หนูยังมีฟันหน้าที่คมและแข็งแรงใช้กัดแทะเมล็ดหรือเปลือกผลไม้ที่แข็งได้โดยง่าย และยังกัดแทะของแข็ง ๆ เช่น ไม้เพื่อลับฟันให้คมอยู่เสมอและทำให้ฟันแทะของมันไม่งอกยาวจนเกินไป หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว โดยปกติหนูจะโตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ขึ้นไป เพศเมียตั้งท้องประมาณ 21 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว ในปีหนึ่ง ๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก ซึ่งมีผู้คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามประชากรหนูก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากจนเกินไปเพราะปริมาณประชากรหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ศัตรูธรรมชาติ อาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ ลักษณะการทำลาย หนูทำความเสียหายแก่พืชผลได้ทุกชนิด สำหรับอ้อยหนูจะกัดทำลายอ้อยให้ได้รับความเสียหายเมื่ออ้อยมีอายุประมาณ 7 - 14 เดือน และจะกัดทำลายไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะพบร่องรอยของหนูบนต้นอ้อย ตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 45 เซนติเมตร โดยกัดเป็นรอยแหว่งตามปล้องเกือบตลอดทั้งท่อนอ้อย หากหนูกัดที่โคนแหว่งมาก ๆ ต้นอ้อยจะล้มและแห้งตายในที่สุด รอยแห่งที่เกิดจากการกัดทำลายของหนูบนท่อนอ้อยเป็นแผลหากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อของอ้อย เช่น โรคลำต้นเน่าแดง ซึ่งอาจทำให้ต้นอ้อยแห้งและตายในที่สุด การป้องกันกำจัด 1. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของหนู โดยกำจัดวัชพืชหรือกองวัสดุเหลือใช้ เพื่อมิให้หนูใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือหลบกำ บังขณะออกหากินเวลากลางคืน 2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมหนู ได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ เช่น งูเห่า งูทางมะพร้าว งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่นอีกหลายชนิดที่คอยจับหนูกินเป็นอาหาร เช่น พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก เป็นต้น 3. การใช้สารเคมีออกฤทธิ์ช้าระหว่างการปลูก เช่น โบรดิฟาคูม, โฟลคูมาเฟน, โบรมาดิโอโลน, ไดฟีทิอาโลน, คูมาเททราลิล ที่อยู่ในรูปเหยื่อพิษสำหร็จรูป ชนิดเป็นก้อน ทำการวางเหยื่อ 20 ก้อนต่อไร่ โดยวางเหยื่อพิษตามทางเดินของหนู หรือใส่ลงในรูหนูโดยตรง หรือวางตามแหล่งที่มีหนูระบาด อย่างไรก็ตามควรวางเหยื่อพิษในแนวป้องกันรอบ ๆ แปลงเพื่อป้องกันหนูเคลื่อนย้ายมาทำลายอาศัยของหนู เช่น รูหนู และรอยทางเดินของหนูด้วย

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง โรคและการป้องกันหนู
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สหชัย ยวงพานิช
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สหชัย ยวงพานิช..