หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

.....เอาตัวรอดจาก 10 เหตุที่เจอบ่อย...-->จากการใช้รถยนต์
โพสต์เมื่อวันที่ : 15 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6413 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....


แม้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางอย่างดีแล้ว แต่ก็อาจเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การรับมือและแก้ไขที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายลงได้




1.ยางแตก
เมื่อยางระเบิดหรือแตกกระทันหัน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงความเร็วใด ต้องจับพวงมาลัยให้มั่นคง
พยายามรั้งไว้ให้ตรงทิศทาง อย่ากระชากเด็ดขาด ไม่ตกใจกดเบรกอย่างกระทันหัน
เพราะรถยนต์อาจหมุนปัดเป๋เสียการทรงตัวได้ ให้ถอนคันเร่ง
 
การลดความเร็ว สามารถใช้เบรกได้เพียงเบา ๆ และต้องเหยียบสลับกับการปล่อย
เพื่อไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงด้านหน้ามากเกินไป ถ้ายางที่แตกไม่ใช่ล้อขับเคลื่อน
ก็สามารถใช้เกียร์ช่วยในการลดความเร็วได้
 
หากต้องการเปลี่ยนยาง ควรดึงเบรกมือก่อนการขึ้นแม่แรง ป้องกันรถยนต์ไหล
แต่ถ้ามีที่สูบลมติดรถยนต์ไว้ และยางที่แบนไม่ได้รั่วเป็นรูขนาดใหญ่
ก็สามารถสูบลมยางให้แข็งกว่าปกติสัก 5-10 ปอนด์/ตารางนิ้ว
และค่อย ๆ ขับต่อไปจนถึงร้านเปลี่ยนยางก็ได้



2.เบรกแตก
รถยนต์ทุกรุ่นในปัจจุบัน ใช้น้ำมันเบรกเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันระหว่างการกดของเท้าไปยัง
ผ้าเบรก เสมือนเป็นระบบไฮดรอลิกชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจมีการรั่วซึมขึ้นได้จากการรั่วของ
ลูกยางตัวใดตัวหนึ่งหรือท่อน้ำมันเบรกรั่ว การถ่ายทอดแรงดันก็จะสูญเสียลงไป
 
ระบบเบรกมักแบ่งการทำงานออกเป็น 2 วงจร อาจเป็นแบบล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง
หรือเป็นแบบไขว้ล้อหน้าซ้าย-ล้อหลังขวา และล้อหน้าขวา-ล้อหลังซ้าย
เผื่อว่าวงจรใดวงจรหนึ่งชำรุด เพื่อให้ระบบยังมีประสิทธิภาพการทำงานหลงเหลืออยู่บ้าง
 
ดังนั้น เมื่อเบรกแตกหรือน้ำมันเบรกเกิดการรั่ว
ส่วนใหญ่มักหลงเหลือประสิทธิภาพการทำงานอยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์ หรืออีกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งในอีกวงจร
 
ตั้งสติให้มั่นคง เมื่อเหยียบแป้นเบรกลงไปแล้วลึกต่ำกว่าปกติ ต้องเหยียบซ้ำแรง ๆ และถี่ ๆ
เพื่อใช้แรงดันในวงจรที่เหลือยู่ ผ้าเบรกจะได้สร้างแรงเสียดทาน ขึ้นมาบ้าง
พร้อมกับการลดเกียร์ต่ำครั้งละ 1 เกียร์ จนกว่าจะถึงเกียร์ต่ำสุด แล้วค่อยใช้เบรกมือช่วย
โดยการกดปุ่มล็อกค้างไว้ให้สุด เพื่อไม่ให้เบรกจนล้อล็อก ดึงขึ้นแล้วปล่อยสลับกันไป
เพื่อลดความเร็ว ถ้าระบบเบรกชำรุดทุกวงจร ต้องใช้การลดเกียร์ต่ำช่วยเป็นหลัก
แล้วค่อยดึงเบรกมือช่วย เมื่อไล่ลงจนถึงเกียร์ต่ำสุดแล้ว
 
รถยนต์ที่ใช้ระบบเบรกที่มีเอบีเอส ถ้าต้องการเบรกกระทันหัน
อย่าเหยียบแล้วปล่อยสลับกันถี่ๆ แบบเทคนิคการเบรกในยุคเก่า เพราะเอบีเอสจะตัดการทำงาน
และไม่สามารถป้องกันการล้อล็อกได้ ต้องเหยียบลงไปให้แน่น ๆ แล้วควบคุมพวงมาลัยไปยัง
ทิศทางที่ควรจะไป นั่นคือวิธีที่ถูกต้องเมื่อต้องเบรกกระทันหันในรถยนต์ที่มีเอบีเอส
 


3.รถหลุดออกจากทาง
อาจเป็นเพราะหักหลบสิ่งกีดขวางอย่างกระทันหัน ทำให้ไถลออกนอกเส้นทาง
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ควรตั้งสติให้มั่น ไม่ควรเหยียบเบรกอย่างแรง เพราะอาจทำให้ล้อล็อกหรือลื่นไถลจนเสียการทรงตัว
 
วิธีที่ถูกต้อง ควรลดความเร็วด้วยการแตะเบรกแล้วปล่อย พร้อมกับการลดจังหวะเกียร์
เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยในการชะลอความเร็วอีกเล็กน้อย นอกจากนั้น สายตายังต้องมองทาง
ไปข้างหน้า เพื่อหลบสิ่งกีดขวาง ไม่ควรหักหลบทันทีเพราะอาจพลิกคว่ำได้
 


4.คันเร่งค้าง
รถยนต์เกียร์ธรรมดา ให้ใช้เบรกในการชะลอความเร็วโดยไม่ต้องแตะคลัตช์
ให้ใช้คลัตช์เฉพาะในการเปลี่ยนเกียร์ เพื่อช่วยลดความเร็วลงเมื่อจำเป็น
และประคองรถยนต์เข้าสู่ไหล่ทางพร้อมกับใช้ปลายเท้าสอดเข้าใต้แป้นคันเร่งเพื่องัดขึ้น
 
หากแป้นคันเร่งไม่สามารถงัดขึ้นได้ ให้บิดกุญแจเพื่อดับเครื่องยนต์ แต่อย่าบิดกุญแจกลับไปจน
ถึงจังหวะที่พวงมาลัยล็อก และใช้เบรกชะลอความเร็วลงเรื่อย ๆ จนถึงไหล่ทาง



5.เครื่องยนต์ร้อนจัด-น้ำหม้อน้ำแห้ง
ถ้าไม่ได้เกิดจากการรั่วซึมผิดปกติ แต่เกิดจากการหลงลืมเติมน้ำหม้อน้ำ
ก็สามารถเติมน้ำเข้าไปให้เต็มได้ เพราะถ้ามีการรั่วเติมลงไปก็รั่วออกมาอีก
 
การเติมน้ำ ต้องมีเทคนิคและใจเย็น จอดรถยนต์หลบในที่ปลอดภัย ดับเครื่องยนต์
รอให้เครื่องยนต์เย็นลงบ้าง หาผ้าหนา ๆ และผืนกว้างพอสมควร เช่น ผ้ายางรองพื้นในรถยนต์
คุลมฝาหม้อน้ำให้มิด แล้วบิดออกเล็กน้อยก่อน เพื่อให้แรงดันภายในคลายตัวออกบ้าง
เมื่อแรงดันคลายตัวออกมามากในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 นาที ค่อย ๆ เปิดฝาหม้อน้ำต่อ
ระวังไอหรือน้ำร้อนพุ่งขึ้นมา ต้องคลุมผ้าผืนหนาไว้ให้มิดชิดมาก ๆ
 
อย่ารีบเติมน้ำลงไปในทันที ต้องรอให้เครื่องยนต์คลายความร้อน อาจต้องรอถึงกว่า 20-30
นาที การเติมน้ำต้องเติมครั้งละนิด ไม่ควรเกินครึ่งลิตร แล้วทิ้งช่วงสัก 5 นาที เพื่อให้น้ำที่
เติมดึงความร้อนกระจายกันให้ทั่ว เพราะโลหะที่ร้อนจัดเมื่อถูกน้ำเย็นทันที
จะหดตัวลงอย่างรวดเร็วจนร้าวหรือเสียหายได้



6.สายคลัตช์ขาด-ปั๊มคลัตช์รั่ว
รถยนต์ที่ใช้ระบบเกียร์ธรรมดา ถ้าสายคลัตช์ขาดหรือปั๊มคลัตช์รั่ว ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์จะ
แล่นไม่ได้เลย ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อนำรถยนต์ออกจากพื้นที่เป็นระยะสั้น ๆ
โดยไม่ต้องเข็นหรือลากกันได้ไม่ยาก
 
วิธีปฏิบัติคือ ตรวจสอบว่าเส้นทางข้างหน้าต้องว่างไม่น้อยกว่า 10-20 เมตร ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทุกชนิด เปิดสวิตช์กุญแจ เข้าเกียร์ 1 ไว้ กดคันเร่งประมาณ 1-2 ซม.
บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ค้างไว้
 
ตัวรถยนต์จะกระตุกเป็นจังหวะตามการหมุนของเครื่องยนต์และไดสตาร์ท เคลื่อนที่กระตุกไป
ทีละนิดจนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงาน ก็กดคันเร่งลงไปมากขึ้นเพื่อเร่งความเร็ว เกียร์จะไม่สามารถ
เปลี่ยนได้ แต่สามารถใช้ความเร็วได้เกือบเต็มที่ของความเร็วสูงสุดของเกียร์ 1 คือ ประมาณ
30-40 กม./ชม. ถ้าเส้นทางข้างหน้าว่างก็สามารถขับไปได้เรื่อย ๆ เมื่อต้องเบรก
ก็กดแป้นเบรกลงไปเท่านั้น ปล่อยให้เครื่องยนต์ดับแล้วค่อยเริ่มออกตัวใหม่



7.เมื่อมีรถยนต์แล่นสวนเข้ามาในเลน
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในการขับบนถนน 2 เลนสวนกัน
ขั้นแรกควรลดความเร็วลง แต่อย่ามากเกินไปจนรถที่ตามมาด้านหลังชนได้ มองกระจกด้านซ้าย
เพื่อหาหนทางหนีทีไล่ พร้อมกระพริบไฟสูงและบีบแตรเตือนและเบี่ยงออกทางเลนซ้าย
ไม่ควรหลบข้ามเลยไปในช่องทางของรถยนต์ที่แล่นสวนมา
เพราะบ่อยครั้ง คนขับเพิ่งรู้สึกตัวแล้วหักหลบเข้ามาจนทำให้เกิดการชนกันได้



8.กระจกหน้าแตก
มักไม่ค่อยมีปัญหา หากกระจกหน้าเป็นแบบลามิเนท 2 ชั้น ซึ่งมีแผ่นฟิล์มเหนียวคั่นกลาง
เพราะจะไม่ร่วงเป็นเม็ดข้าวโพดเหมือนกระจกแบบเทมเปอร์ชั้นเดียว
โดยแผ่นฟิล์มเหนียวตรงกลางจะเป็นตัวยึดไม่ให้เศษกระจกแยกออกจากกัน
จึงทำให้พอมองทะลุผ่านและขับต่อไปได้ไกล
 
ถ้าเป็นกระจกแบบเทมเปอร์ จะแตกรวดเร็วมาก เพียงจุดแตกเล็ก ๆ ทำให้เนื้อกระจกสูญเสีย
ความแข็งแรง และเกิดรอยร้าวทั่วแผ่นเป็นฝ้าขาวจนไม่สามารถมองผ่านได้
ผู้ขับจึงต้องตั้งสติให้มั่นและค่อย ๆ ชะลอความเร็ว แล้วเบี่ยงรถยนต์เข้าสู่ไหล่ทาง
ถ้าเหลือกระจกติดที่ขอบ ให้ใช้ไม้หุ้มผ้าหนาๆ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ในการกระแทกเศษ
กระจกที่ยังติดอยู่บนขอบออกให้หมด โดยควรหากระดาษหรือผ้ารองบนแผงหน้าปัดและฝา
กระโปรงหน้า เพื่อป้องกันเศษกระจกหล่นลงไปในช่องแอร์หรือขูดขีดสีตัวถัง
 
ขณะที่ขับรถยนต์ที่ไม่มีกระจกบังลมหน้า ควรปิดกระจกทุกบาน การเปิดระจกหน้าต่างทำให้ลมมาปะทะกับคน และทำให้รถยนต์มีการทรงตัวไม่ดีจากลมที่ไหลผ่าน ถ้ามีแผ่นกันแดดหรือแว่นสายตาก็ควรนำมาใส่ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษกระจกที่อาจค้างอยู่



9.สิ่งของตกอยู่บนถนน
ไม่ควรแล่นทับ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายได้ ขั้นแรกควรลดความเร็ว
หากช่องทางทั้งซ้าย-ขวาไม่มีรถยนต์แล่นตามหลังมา ให้หักหลบโดยพยายามเบี่ยงให้น้อยที่สุด
เพราะการหักหลบมาก ๆ ในขณะที่ขับเร็ว รถยนต์อาจหมุนหรือปัดเป๋ได้
หากเลี่ยงไม่ได้ หลังการทับหรือชน ควรจอดรถและตรวจสอบชิ้นส่วนใต้ท้องรถว่า
มีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น คันชัก คันส่ง ท่อส่งเชื้อเพลิง ถังน้ำมัน ยาง ฯลฯ



10.สัตว์ขวางทาง
ควรลดความเร็ว แต่ไม่ควรเบรกอย่างรุนแรงหรือหักหลบทันที เพราะอาจทำให้รถยนต์พลิกคว่ำได้ และไม่ควรหักหลบไปในช่องทางที่มีรถแล่นสวนมา หากไม่เร่งรีบ ควรปล่อยให้สัตว์เหล่านั้น
เดินจนพ้นจากถนน ไม่ควรบีบแตรไล่เพราะอาจทำให้ตกใจและหันมาทำอันตรายได้
การแซงควรเลี้ยวไปด้านหลังของสัตว์ เพราะการตัดหน้าจะทำให้สัตว์ตกใจและเตลิด
อันตรายต่อรถยนต์ในช่องทางอื่น


ที่มา มูลนิธิสว่างแสงธรรม กู้ภัย

http://www.oknation.net/blog/556644/2009/08/16/entry-5

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง .....เอาตัวรอดจาก 10 เหตุที่เจอบ่อย...-->จากการใช้รถยนต์
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..