หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ณัฐชญา หอมกลิ่น
จากจังหวัด ยโสธร

เวียงกุมกาม .....นครใต้พิภพ
โพสต์เมื่อวันที่ : 13 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6407 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(45.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

                

 
เวียงกุมกาม นครใต้พิภพ
 
 
  
เวียงกุมกามเป็นเวียงที่พญามังรายสร้างขึ้น ในบริเวณชุมชนโบราณสมัยหริภุญไชยตาม ประวัติก่อนหน้าการสร้างเวียงกุมกามพญา มังรายทรงยกทัพจากเมืองฝางมายึดครองเมืองหริภุญไชย พระองค์ประทับที่หริภุญไชยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็มอบให้อ้ายฟ้าครองหริภุญ ไชย …ส่วนพระองค์แสวงหาที่สร้างเวียงใหม่และทรงเลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ ริมแม่น้ำปิง “ปิงห่าง” มาสร้างเป็นเวียงกุมกาม มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม เวียงกุมกามกำเนิด ขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวง แห่งใหม่แทนที่เมืองหริภุญไชย หลังจากที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญไชยสำเร็จในราว พ.ศ. 1835 พระองค์ประทับที่ – หริภุญไชยเพียง 2 ปี ก็แสดงความไม่พอใจจะใช้เมืองหริภุญไชยเป็นเมืองหลวงอีกต่อไป

เวียงกุมกาม : ราชธานีแรกเริ่มของล้านนา

 

 

 wiangkumkam

แม้ ว่าเมืองหริภุญไชยจะเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเวลาช้านานความไม่พอใจในเมืองหริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียง ที่สร้างมาประมาณ 500 ปี เวียงมีขนาดเล็กและคับแคบ ไม่สามารถขยายตัวเวียงได้เป็นไปได้ว่าคงเต็มไปด้วยวัสดุและสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับรัฐที่อาณาเขตกว้างขวางขึ้น พญามังรายจึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่โดยให้เมืองหริภุญไชยมีฐานะ เป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนาขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางทางการ ค้าและการเมือง ข้อสังเกตจากการเลือกสถานที่สร้างเมืองหลวง “ทั้งกุมกามและเชียงใหม่ “พญา-มัง ราย จะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยไม่กลับไปสร้างเมืองหลวงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กกซึ่งอยู่ทางตอนบน ” ตามตำนานพญามังรายไม่เสด็จกลับไปประทับอีกเลย” ทั้งนี้คงเพราะเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา มากกว่าเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำกก กล่าวคือเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูนเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีที่ ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้ากับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก

นอก จากนั้นตำแหน่งที่ตั้งเมืองหลวงก็จะอยู่เหนือเมืองหริภุญไชยขึ้นมา” ดังตำแหน่งของเมืองกุมกาม และเชียงใหม่ “ซึ่งสะท้อนความคิดของพญามังรายที่ไม่ขยายอำนาจลงทางใต้อีกต่อไป และทรงพอใจในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยเฉพาะ ตรงบริเวณเหนือเมืองหริภุญไชย เนื่องจากที่ตั้งของเวียงมีความสำคัญมาก จะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสังคมเมืองขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่ตั้เวียงที่มีฐานะเป็นเมืองหลวงย่อมจะต้องคำนึงถึงความ เหมาะสม การเลือกที่ตั้งเวียงกุมกามก็คงมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมแล้ว

ขณะที่ราชวงค์ลาวนั้นนิยมตั้งบ้านแปลงเมือง “อยู่จิ่มดอย” นอกจากวัฒนธรรมในการตั้งเมืองแล้ว ล้านนาใน ขณะที่มีเวียงกุมกามเป็น เมืองหลวงยังรับเอาวัฒนธรรมจากหริภุญไชยในอีกหลายด้าน เป็นต้นว่าตัว อักษรธรรมล้านนาหรือที่เรียกว่า ตั๋วเมือง นั้นได้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญหริภุญไชย หรือด้านศิลปวัฒนธรรม วัดกู่คำ หรือ วัดเจดีย์เหลี่ยม ที่เวียงกุมกามก็สร้างตาม แบบวัดกู่กุดของหริภุญไชย เป็นต้น จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้น ศิลปวัฒนาธรรมแบบล้านนาจึงค่อย ๆก่อรูปขึ้น ด้วยการ หล่อหลอมศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย จนเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของล้านนา พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๕ ปี ปรากฏว่าในฤดูฝนเกิดน้ำท่วมเมือง อีกทำให้ประชาชนเดือดร้อนไม่เหมาะจะเป็นเมืองหลวงถาวรได้จึงทรงแสวงหาสถาน ที่ที่มีชัยภูมิอันเหมาะแก่การตั้งเมืองใหม่เพื่อจะให้เป็นศูนย์กลางอำนาจ ของอาณาจักร ล้านนาที่มั่นคงถาวร ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กิโลเมตร

สภาพ ปัจจุบันของเวียงกุมกาม ถูกทำลายลงไปมากจากรายงานของหน่วยศิลปากรที่ 4 กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้สำรวจไว้ ปรากฏพบร่องรอยแนวกำแพงเมือง ซากโบราณสถานและเศษเครื่องปั้นดิน เผามากมายดังนั้นจึงได้บูรณะ ใน ส่วนที่เป็นซากโบราณสถานขึ้น เช่น วิหารวัดกานโถมซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลาง ประวัติความเป็นมา อำเภอสารภี เดิมชื่อ “อำเภอยางเนิ้ง” จัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ ร.ศ.109 ตรงกับ พ.ศ.2434 ที่ตำบลยาง เนิ้ง เหตุที่อำเภอนี้มีชื่อดังนี้ เพราะตั้งอยู่ที่ อำเภอยางเนิ้ง คำว่า “ยาง” หมายความว่าต้นยาง คำว่า”เนิ้ง” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายความว่า “โน้มเอน” ทั้งนี้เพราะแต่เดิม เป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2470 ท้าวพยาขุน และประชาชนส่วนมากได้เสนอแนะต่อนายอำเภอว่า ชื่ออำเภอยางเนิ้งไม่ไพเราะ ควรเปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่เป็น “อำเภอสารภี” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอนี้ คำว่า “สารภี” เป็นชื่อไม้ยืนต้นซึ่งมีอายุยืนนานมาก อยู่ที่วัดสารภี ตำบลสารภีและที่อื่นๆเป็นจำนวนมากในสมัยนั้น โดยทั่วไปเมื่อฤดูกาลออกดอกจะ มีสีสรรค์งดงาม กลีบสีเหลืองอ่อน เกษรสีเหลืองเข้ม ส่งกลิ่นหอมอบอวล ชาวบ้านนิยมเก็บไว้ปรุงยา และนำเกษรมาตากแห้งผสมน้ำดำหัว ในประเพณีสงกรานต์ สำหรับบริเวณที่ตั้งอำเภอในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้าง ชื่อวัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกกันว่า”เวียงหมาก” สันนิษฐานว่า เป็นเวียงชั้นนอกของเวียงกุมกาม ( วัดช้างค้ำ หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล ปัจจุบัน

ที่มา http://www.agenda.co.th/agenda/?p=352

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เวียงกุมกาม .....นครใต้พิภพ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ณัฐชญา หอมกลิ่น
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ณัฐชญา หอมกลิ่น..