หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ชุติชัย แก้วตา
จากจังหวัด NAN

ผงะ! MOUไทย-เขมร แม้วฮั้วขุมทรัพย์ทะเล
โพสต์เมื่อวันที่ : 7 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6413 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(60.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ไทยคดีศึกษาเปิดหลักฐานใหม่ ผงะ! "รัฐบาลทักษิณ" ดอดลงนาม "เอ็มโอยู" ร่วมกัมพูชาในปี 2544 แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางทะเล แต่คนไทยไม่รู้ "วัลย์วิภา"


ระบุต่อจิ๊กซอว์เหตุหนุนขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อเปลี่ยนแผนที่เขตแดนทางบกสู่เปลี่ยนเขตแดนทางทะเล เอื้อประโยชน์เขมรและบริษัทน้ำมันต่างชาติ


เมื่อวันพุธ   ที่ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิ ดร.ธวัช  มกรพงศ์ ร่วมกับมูลนิธินิติศาสตร์ศิลปศาสตร์  รุ่นแรก  จัดการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง  "แผนการขยายอาณาเขตของกัมพูชาจากเขาพระวิหารสู่สะด๊อกก๊อกธม"  โดยมีนายสมปอง    สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยและอดีตทนายความต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารปี   2505   นายเทพมนตรี   ลิมปพยอม  นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  นางทัศวี  สุวรรณวัฒน์  อดีตหัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัยเรื่องเขตแดน สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และนายสมิทธิ   ศิริภัทร  ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  เป็นวิทยากรร่วมเสวนา


ที่น่าสนใจในวงอภิปรายคือ   ม.ล.วัลย์วิภาได้เปิดเผยข้อมูลใหม่โดยระบุว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา   และมติของคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  เป็นความพยายามในการรับรองแผนที่กัมพูชาทางบก ไม่ใช่แค่ปราสาทพระวิหารเป็นของใคร แต่เป็นไปเพื่อการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทางบกเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางทะเล  โดยเริ่มตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี


"ล่าสุดพบหลักฐานใหม่ว่า   พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางไปลงนามร่วมกับกัมพูชา   เมื่อวันที่  18 มิถุนายน 2544  และนายสุรเกียรติ์  เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นเดินทางไปลงนามรับรองเอ็มโอยู หรือบันทึกความเข้าใจที่ว่าด้วยการอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา  เพื่อรับรองแถลงการณ์ร่วม  และให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา  (JTC) โดยไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นประธานร่วม และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธาน" ม.ล.วัลย์วิภากล่าว

ม.ล.วิลย์วิภากล่าวต่อว่า  แต่ละฝ่ายประกอบด้วยผู้อำนวยการกองกฎหมาย  กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย  เป็นกรรมการและเลขานุการ  และมีกรรมการอื่นอีก 10 คน ทำหน้าที่เจรจาแบ่งเขตทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาร่วมกัน  บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และเจรจาในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาร่วม  โดยเฉพาะการแบ่งปันผลประโยชน์  ตามมติ ครม.วันที่ 19 กันยายน 2544 โดยไม่ได้ผ่านรัฐสภา


ผอ.งานวิจัยด้านเขตแดน  สถาบันไทยคดีศึกษา  กล่าวว่า คณะกรรมการดังกล่าวมีข้อสรุปร่วมกัน  5 ข้อ ลงนามบันทึกการประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 คือ


1.ในขณะนี้ ไทยมีประเด็นเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น  และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกัมพูชานี้ เป็นเขตที่มีศักยภาพในด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันสูงมาก   ซึ่งบริษัทน้ำมันต่างชาติได้ให้ความสนใจที่จะมาลงทุนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลของไทยและกัมพูชาต้องพิจารณาตกลงแก้ไขประเด็นต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน


2.การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการนำเอาบันทึกความเข้าใจระหว่างกัมพูชา     ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนที่ได้มีการลงนามกันเมื่อวันที่  18 มิถุนายน 2544 มาสู่การปฏิบัติ  โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา  โดยฝ่ายไทยมี รมว.ต่างประเทศเป็นประธาน  และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เป็นประธาน


3.ในส่วนของฝ่ายไทยมีหน่วยงานอื่นๆ    เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วย  เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เนื่องจากสาระของการหารือนั้นเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการตกลงแบ่งเขตทางทะเลส่วนบนและการพัฒนาพื้นที่ร่วม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ


4.การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมเต็มคณะครั้งแรกในรอบ   25 ปี ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยจริงใจ  และไว้เนื้อเชื่อใจกัน หลังจากการประชุมดังกล่าวมีเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการดังกล่าวต้องพิจารณาจำนวนมาก  จึงได้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายไทย และนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา


5.สาระสำคัญที่อนุกรรมการดังกล่าวต้องหารือกันคือ    เรื่องเทคนิคทางกฎหมายในการแบ่งเขตทางทะเล เช่น การลากเส้นแบ่งเขต และรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ร่วม

"ดิฉันเพิ่งได้ข้อมูลบางชิ้นมา  เป็นจิ๊กซอว์ให้เห็นภาพได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้น  อะไรคั่งค้าง  ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตคือ  ความผิดปกติในการทำเอ็มโอยูปี 2544 นั้น ถามว่าเรื่องนี้จะต้องมีการผ่านสภาให้เห็นชอบหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องเขตแดน มีผลต่ออาณาเขต แต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้"


ม.ล.วัลย์วิภากล่าวด้วยว่า  ส่วนเรื่องผลกระทบด้านพลังงาน จากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเมื่อวันที่   5  ส.ค. 51 ที่ผ่านมา  นายปราสาท  มีแต้ม  อาจารย์  ม.สงขลานครินทร์  ได้นำเสนอบทความเรื่องปิโตรธิปไตย  ท่านบอกว่ารัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช  ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว มีการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปี  และบางบริษัทที่ได้รับสัมปทานก็ได้จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นเกาะที่คนไทยคุ้นเคยดีในการเป็นแหล่งฟอกเงิน   มิหนำซ้ำในแผนที่นี้เป็นแผนที่เดียวกัน เป็นตัวที่แนบมากับที่มีการลงนามเอ็มโอยู


เธอบอกอีกว่า  นอกจากนี้  ล่าสุดกัมพูชายังได้ลงนามร่วมกับทางคูเวต โดยกัมพูชาประกาศว่าจะเริ่มนำน้ำมันดิบขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้    ในปี  2554  หลังจากที่บริษัทเชฟรอนจากสหรัฐประกาศว่าการซื้อน้ำมันดิบในแปลงสำรวจอ่าวไทยในต้นปี 2548 ได้พบขึ้นแล้ว  โดยแปลงสำรวจครอบคลุมพื้นที่ 5,559 ตารางกิโลเมตร  ในเขตอ่าวไทยและเขตพื้นที่ที่เรียกว่าแอ่งปัตตานี


"คำถามคือ เมื่อวันที่  7 ส.ค.ที่ผ่านมา ท่านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐเดินทางมาเมืองไทย   มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอะไรหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ  ก็เอาไทยมาเป็นจุดศูนย์กลางที่จะแสดงสุนทรพจน์  ท่านคงไม่คิดว่าจะเลยไปดูโอลิมปิกที่จีนเท่านั้น  เพราะมันคงมีอะไรมากกว่านี้ นอกจากนี้การที่ยังไม่สามารถขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นมาได้   เพราะยังติดปัญหาเรื่องแผนที่ทับซ้อนทางทะเล ที่ยังเป็นข้อพิพาทของทั้ง  2 ประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการดำเนินการของรัฐบาลไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนไทยหรือไม่" ม.ล.วัลย์วิภากล่าว

นายสมปองกล่าวว่า   เป็นเรื่องตลกที่กัมพูชาต้องการได้ดินแดนของคนอื่นด้วยการสร้างแผนที่ซึ่งเป็นไปไม่ได้    และประหลาดที่เราจะเอาดินแดนของเราไปแลกกับดินแดนของเราเอง  เพราะหากรัฐบาลไทยจะยกให้คนอื่น  ก็ขอให้คนไทยได้รู้ว่าเราได้ยกให้เขา  แต่ไม่ใช่ให้เขาเอาไป  โดยที่ให้เขาอ้างว่าเป็นของเขา  อย่างไรก็ตาม ตนเพิ่งพบว่ารัฐบาลไทยในสมัย  พ.ต.ท.ทักษิณได้ไปทำเอ็มโอยูร่วมกับกัมพูชาในเรื่องข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล   ซึ่งตนเห็นว่าการลากเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลจะต้องลากเส้นโดยเริ่มที่ชายทะเลตามหลักเขตแดน  ที่   63 ไม่ใช่เริ่มลากจากเกาะกูด ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนรับไม่ได้  และเราก็มีตัวอย่างที่รัฐบาลปัจจุบันน่าจะทำตาม  จากการที่รัฐบาลในอดีตได้ตกลงเรื่องเขตแดนทางทะเลกับมาเลเซีย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงได้ทำ JDA เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน.

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ผงะ! MOUไทย-เขมร แม้วฮั้วขุมทรัพย์ทะเล
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ชุติชัย แก้วตา
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ชุติชัย แก้วตา..