หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ชุติชัย แก้วตา
จากจังหวัด NAN

แบบนี้ก็มีจริง ๆ ด้วย !! อาการหลงผิด
โพสต์เมื่อวันที่ : 7 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6404 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 
แบบนี้ก็มีจริง ๆ ด้วย !! อาการหลงผิด

ป่วยจิตชนิด  ไม่รู้ตัว

หลายวันก่อนหน้านี้ซึ่งเกิดกรณีขัดแย้งในครอบครัวของอดีตนักร้องดังบางคน โดยมีการดำเนินการทางกฎหมาย มีการท้าพิสูจน์กันและกัน โดยการ “ตรวจสุขภาพจิต” นั้น กับกรณีของครอบครัวดังกล่าวนี้ ณ ที่นี้จะไม่ขอก้าวล่วง อย่างไรก็ตาม กับบางแง่มุม กับมุมของสาธารณสุขด้านสุขภาพจิต ก็มีประเด็นที่น่าคิด...
   
“โรคจิต-โรคทางจิต” โรคนี้มีหลายกลุ่มอาการ
   
และบางกลุ่มอาการถ้าดูผิวเผินจะดูไม่ออก ?!?
   
ทั้งนี้ ว่ากันในเชิงวิชาการแพทย์ กับเรื่องของโรคจิตในภาพรวมทั่วไป มิใช่การเฉพาะเจาะจงไปที่กรณีใดกรณีหนึ่ง นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขให้ความรู้ความเข้าใจผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... เรื่องของ โรคจิต (Psychosis) นั้นถือเป็นโรคที่คนกลัวกันมาก ซึ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยสามารถ เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติทางร่างกาย ความผิดปกติของจิตใจ ความกดดันจากสิ่งแวดล้อม และโรคจิตก็เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองป่วย
   
“ผู้ป่วยมักจะมีอาการเสียการรับรู้ต่อสภาพความเป็นจริง ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ บางครั้งรุนแรงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติเหมือนคนธรรมดาได้”
   
นพ.ทวีศิลป์ บอกต่อไปว่า... สำหรับการตรวจหาอาการทางจิตนั้น โดยหลักการแพทย์ผู้ทำการตรวจและรักษาจะพิจารณาลักษณะอาการของผู้ป่วยจากหลักการ 3 ข้อเบื้องต้นคือ... 1.ผู้ป่วยมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ?, 2.ผู้ป่วยมีการรับรู้ที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ ? และ 3.ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้อาการป่วยของตนเองใช่หรือไม่ ? ซึ่งหลักการ 3 ข้อนี้จะบ่งบอกในเบื้องต้นได้
   
ข้อแรก ที่มักเห็นได้ชัดคือผู้ป่วยจะมีอาการผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม เช่น จากที่เคยเป็นคนคุยน้อยก็คุยมากขึ้น หรือจากคนที่เคยเป็นคนร่าเริงก็เปลี่ยนเป็นอยู่คนเดียวเงียบ ๆ, ข้อที่สอง ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงสามารถสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยมักบ่นว่าได้ยินเสียงในหูแว่ว ๆ เพียงคนเดียว เห็นภาพหลอน หรือมีอาการพูดคนเดียวเพียงลำพังเป็นเรื่องเป็นราว, ข้อที่สาม ส่วนใหญ่จะมีอาการในข้อแรกและข้อที่สองประกอบ โดยคนรอบข้างสามารถสัมผัสได้ ในขณะที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าเข้าข่ายหลักเกณฑ์ใน 3 ข้อนี้ ถ้ามีปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง จึงจะตรวจอย่างละเอียดต่อไป
   
กับรูปแบบของโรคจิตนั้น นพ.ทวีศิลป์ให้ข้อมูลว่า... จะมีการแสดงออกทางอาการแตกต่างกันไป อาทิ อาการคลุ้มคลั่ง อาการเรื่อยเปื่อย อาการประสาทหลอน อาการซึมเฉย อาการหลงผิด กลุ่มอาการรวม เป็นต้น
   
“กลุ่มอาการที่มีการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุด คือกลุ่มอาการจิตเภท ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด โดยเป็นกลุ่มที่ต้องมีการสังเกตอาการต่อเนื่อง และต้องได้รับการประเมินแบบทดสอบทางจิตวิทยาจากผู้ชำนาญการ เนื่องจากบางรายอาการอาจแสดงออกชัด แต่บางรายอาการอาจแสดงออกไม่ชัด” ...ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคมระบุ
   
พร้อมทั้งบอกอีกว่า... การประเมินผล หรือการใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อวิเคราะห์อาการ หรือเพื่อบ่งชี้ว่าบุคคลนั้น ๆ ปกติ หรือผิดปกติทางจิตหรือไม่ จะต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึงจะต้องใช้วิธีการที่หลากหลายในการทดสอบสภาพจิต อาทิ... การเขียน การพูด การอ่าน การดู จึงจะชี้ชัดได้
   
“เพราะในผู้ป่วยทางจิตบางรายนั้น หากไม่มีการทำการทดสอบดังที่ว่ามา ก็จะพบว่าแทบจะมีบุคลิกที่ไม่แตกต่างไปจากคนปกติธรรมดาทั่วไปเลย ยกเว้นเมื่อพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ไปกระทบกับบุคคลนั้น ๆ ถึงจะมีอาการแสดงออกมาให้คนภายนอกเห็น”
   
นพ.ทวีศิลป์อธิบายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตในภาพ รวมเพิ่มเติมด้วยว่า... กลุ่มอาการหนึ่งที่ก็มีการพบบ่อยคือ... กลุ่มอาการที่เรียกว่า “อาการหลงผิด” หรือ “ดิลยูชันแนล ดิสออร์เดอร์ (Delusional Disorder)” ซึ่งกลุ่มอาการนี้โดยปกติก็จะไม่แสดงอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ   ให้เห็น
   
ผู้ป่วยกลุ่มอาการลักษณะนี้ “สามารถใช้ชีวิตปกติกับคนอื่น ๆ ได้โดยแยกไม่ออก สามารถพูดจารู้เรื่อง ทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนคน   ทั่วไป” เป็นเหตุให้การพยากรณ์โรคทำได้ยาก เนื่องจากไม่ได้คิดว่าตัวเองเจ็บป่วย แต่หากถูกกระทบจากเรื่องที่คิดคำนึงและหมกมุ่นอยู่ และเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ใช่ ตรงกับความคิดตัว จึงจะแสดงอาการออกมา ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ป่วยแล้วจะไม่ค่อยเข้ารับการรักษา
   
“เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมักไม่กระทบกับตัวคนป่วย แต่จะกระทบกับคนรอบข้างแทน” ...ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม ระบุ
   
ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ชี้ไว้ว่า... ปัจจุบันปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคมใกล้ตัวคนไทย ซึ่งควรยึดหลัก “ปรับ 4 เติม 3” คือ... ปรับอารมณ์ มีสติ, ปรับความคิด มองด้านดี, ปรับการกระทำ เลือกวิธีที่เหมาะสม, ปรับเป้าหมาย ไม่ยึดมั่นถือมั่น, เติมศรัทธา เชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะดีขึ้น, เติมมิตร มีคนที่ไว้ใจไว้ขอคำปรึกษา, เติมจิตใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างรอบด้าน “แล้วปัญหาก็จะไม่เกิด”
   
“ป่วยทางจิตแต่ดูเหมือนปกติ” อาการแบบนี้ก็มีด้วย...จริง ๆ
   
เป็นเรื่องจริงด้านสุขภาพจิตในภาพรวม...มิได้เฉพาะเจาะจง
   
ถ้าไม่รู้จัก “ปรับ 4 เติม 3” ไม่ว่าใครก็มีโอกาสเสี่ยง !?!?!.

ข้อมูลจาก   http://www.dailynews.co.th

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง แบบนี้ก็มีจริง ๆ ด้วย !! อาการหลงผิด
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ชุติชัย แก้วตา
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ชุติชัย แก้วตา..