หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

[บ้านไทย...ใต้ถุนสูง...ภุมิใจ......ภูมิปัญญาไทย...
โพสต์เมื่อวันที่ : 5 พ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6557 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(62.00%-20 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

บ้านเรือนไทย

 

 



สถาปัตยกรรมไทย เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน" หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้ว ชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้าเท่านั้น แต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการ

บ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่ง บ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลาง ที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบๆ ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้



 

ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอย และแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัย เป็นแบบบ้านที่สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

บ้านไทย จึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจ คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุม จึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วม คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน ทำนา ทำไร่ ทำประมง แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิต ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม

คนไทยภาคกลางจึงนิยมปลูกบ้านอยู่ริมฝั่งน้ำสายเล็กสายน้อย เมื่อยามน้ำหลากน้ำก็จะไหลท่วมบ้านเรือน คนไทยแต่ก่อนไม่รู้จักการถมที่ดินหนีน้ำท่วม จึงปลูกบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งให้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งช่วยให้ลมผ่านสะดวก ทั้งเพื่อความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย หรือคนร้ายในยามค่ำคืน และยังเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้านอีกด้วย ใต้ถุนบ้านนี้ในยามปกติอาจใช้เป็นที่สันทนาการของครอบครัวคือ เป็นที่พักผ่อน หรือที่เล่นของเด็กๆ หรือใช้รวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทอผ้า ตั้งเตาหรือกระทะทำขนมกวนต่างๆ และไว้เก็บสิ่งของทั้งใหญ่และเล็ก ยามเมื่อน้ำหลากมาก็ย้ายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จากใต้ถุนขึ้นไว้บนตัวเรือน ใต้ถุนที่ยกสูงนี้ นิยมให้สูงกว่าระดับศีรษะคนยืน เพื่อให้เดินได้สะดวก

ดังที่กล่าวแล้วว่าประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน แสงแดดจัดจ้า อากาศโดยทั่วไปจึงร้อนถึงร้อนจัด โดยเฉพาะในหน้าร้อน บ้านจึงเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย ภูมิปัญญาของการปลูกบ้านไทยคือ การออกแบบให้เป็นหลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศภายในเบาลอยตัวอยู่ ขณะที่ความร้อนจะถ่ายเทสู่ตัวบ้านหรือภายในห้องได้อย่างช้าๆ เนื่องจากระยะความสูงของหลังคาทำให้ภายในตัวบ้านเย็นสบาย แม้จะมีห้องและฝากั้น แต่ก็มีพื้นที่เพียง 40% ที่เหลืออีก 60% เป็นชานเปิดโล่ง ทำให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ทั้งลมจากใต้ถุนสูงที่พัดขึ้นมาข้างบนก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สายลมเย็นจะพัดผ่านในบ้านตลอดเวลา



 

ลักษณะอีกอย่างหนึ่งของบ้านไทยที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาอากาศร้อนคือ การสร้างชายคาหรือไขรา ให้ยื่นยาวออกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เป็นการป้องกันแดดไม่ให้เผาฝาบ้านให้ร้อน ป้องกันฝนสาด แดดส่อง ห้องจะได้เย็นตลอดทั้งวัน

องค์ประกอบอื่นๆ ที่ทำให้บ้านไทยเป็นบ้านที่ร่มเย็นคือ "ความโปร่ง" ซึ่งเกิดจากการออกแบบฝาบ้านให้มีอากาศผ่านได้ เช่น ใช้ฝาสำหรวด หรือฝาขัดแตะ หน้าจั่วของบ้านทำเป็นช่องโปร่งให้ลมผ่านได้

ลักษณะเด่นชัดอีกประการของบ้านไทยคือ รูปทรงบ้านที่มีระเบียบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน จะแลเห็นได้ตั้งแต่ชานหน้าเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งรับลม คนนั่งจากชานเรือนจะมองเห็นมุมกว้าง ทำให้รู้สึกโล่งโปร่งใจโปร่งตา ถัดจากชานเข้ามาเป็นระเบียงที่ใช้รับรองแขก จัดงานตามประเพณีนิยม หรือคติทางศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ โกนจุก แต่งงาน ตากอาหารแห้ง และที่นอนชานมักใช้ปลูกไม้กระถาง วางอ่างน้ำ ปลูกตะโกดัดและบอนไซ ซึ่งคนแต่ก่อนนิยมปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้เชยชม และอาจจัดมุมใดมุมหนึ่งของนอกชานในที่ลับตาคนเป็นที่อาบน้ำก็ได้

ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อไปลักพาตัวนางวันทองเมียรักกลับคืนมานั้น บรรยายบรรยากาศบนชานเรือนของขุนช้าง ซึ่งเป็นคหบดีเมืองสุพรรณไว้น่าดูนัก อ่านแล้วรู้สึกรื่นรมย์ บอกไม่ถูกทีเดียว


โจนลงกลางชานร้านดอกไม้  ของขุนช้างสร้างไว้อยู่ดาษดื่น 
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน ชื่นชื่นลมชายสบายใจ 
กระถางแถวแก้วเกตพิกุลแกม  ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว 
สมอรัดตัดทรงสมละไม  ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน 
ตะโกนาทั้งกิ่งประกับยอด  แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์ 
บ้างผลิดอกออกช่ออยู่ชูชัน แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา 
ยี่สุ่นกุหลาบมะลิซ้อน  ซ้อนชู้ชูกลิ่นถวิลหา 
ลำดวนยวนใจให้ไคลคลา  สายหยุดหยุดช้าแล้วยืนชม 
ถัดถึงกระถางอ่างน้ำ  ปลาทองว่ายคล่ำเคล้าคลึงสม 
พ่นน้ำดำลอยถอยจม น่าชมชักคู่อยู่เคียงกัน




หากมีพื้นที่รอบๆ บ้าน ก็นิยมปลูกไม้ใหญ่หลายชนิดไว้ให้ร่มเงา เรือนบางหลังยังเปิดช่องตรงกลางชานไว้ปลูกไม้ยืนต้น เพื่อให้ร่มเงาบริเวณชานเรือนอีกด้วย

ฝีมือช่างไทยที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฎในเรือนไทยคือ การไม่ใช้ตะปู แต่จะตรึงติดด้วยลิ้นไม้เข้าเดือย ตั้งแต่การตรึงติดของจั่วและคาน จนถึงการทำบันไดบ้าน ในการปลูกบ้านไทยยังแฝงคติความเชื่อของเรื่องการวางทิศทาง การให้ความสำคัญของไม้แต่ละชิ้นที่ใช้ ซึ่งมีพิธีทำขวัญเสาสำหรับผีที่ปกปักรักษาต้นไม้ที่ถูกตัดมา

การเรียกชื่อไม้ที่เป็นโครงสร้างบ้านก็เรียกด้วยความเคารพ ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติและให้ความสำคัญต่อทุกสรรพสิ่งรอบๆ ตัว และทั้งหมดนี้เกิดจากลุ่มลึก และภูมิปัญญาของช่างโบราณของไทยอย่างแท้จริง 

ที่มาข้อมูล : www.ku.ac.th

 
 

ตามประวัติแล้ว สถาปัตยกรรมของวัดวาอารามและบ้านทรงไทยจะมีโครงสร้างและรายละเอียดที่มีความคล้ายกัน

 
     
 

วัดวาอารามและบ้านทรงไทยจะมีหลังคาลาดชันมีปลายงอนเชิดขึ้น สู่ท้องฟ้า ฝาเรือนทั้งสองด้านจะเอนเข้าหากันทำให้มีลักษณะสูงโปร่ง

การออกแบบและลักษณะโครงสร้างแบบนี้คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยอยู่ด้วย นั่นคือลมร้อนจะลอยขึ้นเบื้องบน การที่มีหลังคาสูงจึงทำให้อากาศในบ้านเย็นสบาย

วัดวาอารามและบ้านทรงไทยในระยะต้นๆ จะมีลักษณะร่วมกันบางประการ

 
 
     
 

นอกเหนือไปจากนั้น จะมีช่องหน้าต่างประตูอยู่หลายบานเพื่อเปิดทางลม และช่วยให้อากาศหมุนเวียนโดยทั่วไปเรือนไทย จะไม่มีการทาสีฝาผนังนอกจากอาจจะมีการลงน้ำมันไว้บนไม้อยู่บ้าง

 

บ้านทรงไทยปรับสภาพการอยู่อาศัย ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและ
สภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น
ลักษณะเด่นของข้านทรงไทยคือ ความเรียบง่ายและโปร่งสบาย

 
 

บันไดขึ้นเรือนมีตุ๊กตาหิน
รูปสิงห์แบบจีนสองตัว
ขนาบสองข้าง.

 
     
 

ในภูมิอากาศร้อนและชื้น บ้านทรงไทยที่โปร่งสบาย มีหลังคากว้างที่มีชายคายื่นคลุมลงมาช่วยให้ตัวเรือนร่มรื่นขึ้นและกันไม่ให้ฝนสาดและแดดส่องถึง

ตัวเรือนที่ยกพื้นเป็นใต้ถุนสูงช่วยให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทและมีพื้นที่อยู่อาศัยหรือใช้งานเพิ่มขึ้นภายในเรือนจะเย็นสบาย แถมใต้ถุนสูงยังป้องกันตัวเรือนจากน้ำหลากในฤดูฝน นอกจากนั้นยังกันสัตว์ร้ายไม่ให้มากร้ำกราย

ใต้ถุนโล่งใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาจใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นนอนเล่นในหน้าร้อน เป็นที่เก็บพืชผลในฤดูเก็บเกี่ยวหรือเป็นคอกสัตว์ก็ได้

 
     
 
ลักษณะการตกแต่ง

วัดและวังแบบไทยมักนิยมตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรบรรจง แต่บ้านไทยแทบจะไม่มี การตกแต่งประดับนอกเหนือจากการแกะสลักลายแบบจีนที่ปรากฏอยู่ใต้บานหน้าต่างบานประตูและปลายสันหลังคาที่งอนเชิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมรก็ได้

ฝาแกะลายใต้บานหน้าต่าง
มีแต่บ้านของคหบดีไทยเท่านั้น
ที่ใช้การตกแต่ง
ฝีมือประณีตแบบนี้

 
     
 
 
 

คันทวยแกะลาย คล้ายกับคันทวย แบบที่ใช้ค้ำเชิง กลอนของวัด และวังของไทย

   

ยอดหลังคาโค้งงอนทำให้ปลายกันสาดของเรือนไทยดูแปลกตาและงามระเหิดระหง ศิลปกรรมแบบนี้ได้มาจากรูปพญานาคที่ใช้ประดับประดาวัดของเขมร รูปทรงที่สร้างตามขนบนิยมแทบไม่มีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปทรงดั้งเดิมแล้ว


การปลูกเรือนไทยไม่ได้ใช้ตะปูเลย

ลักษณะที่ง่ายต่อการสร้างอย่างหนึ่งของเรือนไทยคือตัวเรือนจะประกอบและรื้อถอนได้อย่างง่ายดายเรือนทั้งหลังสร้างด้วยฝาปะกนทำด้วยกระดานน้ำหนักเบาเป็นฝาเรือน แต่ละด้านที่นำมาประกอบกันขึ้นฝาที่เข้ามาประกอบเป็นตัวเรือนจะยึดเข้าไว้กับโครงตัวเรือนที่เป็นเสาไม้โดยไม่ใช้ตะปูตอก ในอดีตการ ที่บ้านทั้งหลังสามารถรื้อถอนลงและนำไปประกอบขึ้นใหม่อย่างง่ายดายเช่นนี้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านตัดสินใจจะย้ายถิ่นตามปกติวิสัย พวกเขาก็จะรื้อบ้านลงนำไปวางซ้อนเรียงไว้บนแพขนล่องไปตามลำคลองที่อยู่ใกล้ๆไปสู่ทำเลแห่งใหม่

 
     
 

ธรณีประตู

 
 

ซุ้มประตูทรงโค้งประดิษฐาน
พระพุทธรูปหินทรายจาก
คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓
ขณะที่สองข้างขนาบอยู่ด้วย
เทวรูปปูนปั้นรูปพระศิวะ
และพระอุมาซึ่งเป็น
ประติมากรรมแบบเขมร
ที่พบในประเทศไทย

กันผีและกั้นเด็ก

คนไทยเชื่อถือโชคลางและมีความเชื่อดั้งเดิมว่าธรณีประตูที่ยกสูงในเรือนไทย นั้นจะป้องกันวิญญาณร้ายไม่ให้ลอบคลานเข้ามายามดึกมารบกวนคนที่นอนหลับอยู่ในบ้าน ธรณีประตูยังมีประโยชน์ใช้สอยอีกอย่างหนึ่งด้วย

ธรณีประตูที่ยกสูงจากพื้นเป็นเหมือนกรอบที่ช่วยยึดตรึงฝาปะกนไว้กับกรอบประตู

ยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่ครั้งโบราณส่วนใหญ่มักเป็น ชุมชนกสิกรรมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ดังนั้นเพื่อกั้นไม่ให้ทารกและเด็กเล็กๆคลานเล่นจนพลัดตกน้ำไป จึงยกธรณีประตูไว้ สูงด้วย

 
     
 

คนในครอบครัวทุกคนจะนอนรวมกันอยู่ในห้องห้องเดียว บางบ้านจะใช้ฉากกั้นพื้นที่ที่เปิดโล่งไว้เป็นส่วนๆสำหรับให้สมาชิกในครอบครัวรุ่นต่างๆอยู่อาศัยเป็นสัดส่วนขึ้น

ในเรือนไทยแบบดั้งเดิมห้องต่างๆจะแยกกันเป็นหลังๆโดยมีชานเรือนเชื่อมถึงกัน และมีบันไดอยู่นอกตัวเรือน

โถงหน้าบ้านและบันได
กระเบื้องหินอ่อนตาหมากรุก
ขาวสลับดำอาจจะเป็นของ
ที่สั่งมาจาก อิตาลีก็ได้
กระเบื้องนี้ได้มาจากพระตำหนัก
สมัย คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ในกรุงเทพฯ

     

อย่างไรก็ตาม สำหรับเรือนหมู่แห่งนี้ตัวเรือนหลังใหญ่จะไม่ได้สร้างตามขนบเดิมของสถาปัตยกรรมไทย เพื่อให้พักอาศัยได้สะดวกสบายและเพื่อความสวยงามดังนั้นลักษณะของระเบียงที่เชื่อมถึงกันและในบ้านหลังนี้จะมีหลังคาปิด

 
     
 

 
 

จิม ทอมป์สันสังเกตเห็นว่าบ้านไทยโบราณที่สวยงามหลายหลังยังคงอยู่ในสภาพดีเยี่ยม แม้จะเก่าแก่นับร้อยปีหรือเก่ากว่านั้นอีก เขาจึงตัดสินใจซื้อเรือนเก่าหลายหลังและนำมาประกอบเป็นเรือนหมู่หลังใหญ่

เรือนไทยจิม ทอมป์สันแต่ดั้งเดิมรวมทั้งเรือนนอกบ้านที่สร้างขึ้นใหม่จากเรือนเก่าที่ได้มาจากที่ต่างๆกันหกหลัง บางหลังก็ใช้ชิ้นส่วนทุกชิ้น และ บางหลังก็เลือกมาใช้เฉพาะบางชิ้น เรือนเก่าเหล่านี้ซื้อมาจากที่ต่างๆทั่ว ประเทศและขนย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน

ภาพถ่ายระหว่างการก่อสร้างเรือนไทยจิม ทอมป์สัน
ในช่วงต้นปี ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒)
และแปลนบ้านที่เขาส่งไปให้พี่สาวดู 

 
     
 

ห้องนั่งเล่น

ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของเรือนใหญ่เป็นเรือนสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งได้มาจากหมู่บ้านช่างทอผ้าไหมบ้านครัว ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองฟากตรงข้าม ส่วนนี้นำมาใช้ทำเป็นห้องนั่งเล่น

 
     
 
ห้องนั่งเล่น
ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านซึ่งสร้างตั้งแต่ราวปี ค.ศ. ๑๘๐๐ (พ.ศ. ๒๓๔๓) และยังเป็นเรือนเดี่ยวหลังใหญ่ ที่สุดอีก เรือนหลังนี้ได้มาจากชุมชนช่างทอผ้าบ้านครัว ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลอง
 
 
โคมระย้าอัจกลับส่งแสงแวววับได้มาจากพระตำหนักเก่าแห่งหนึ่ง แขวนห้อยจากเพดานสูง ตุ๊กตาพม่ารูป "นัต" ซึ่งเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์จากอมรปุระตั้งประดับช่องบานหน้าต่างแต่เดิม
 
 

ครัว

 
ภาพที่มองจากลานบ้าน เห็นทางเข้าหน้าบ้านไป จนถึงบันไดและ ทางด้านขวาเป็นส่วนที่ เคยใช้เป็นห้องครัว
 


ส่วนที่เก่าแก่รองลงมาคือครัวซึ่งได้มาจากหมู่บ้านช่างทอผ้าอีกเหมือนกันส่วนนี้ มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แต่เดิมอยู่ในพระตำหนักเก่า และขนย้ายมาอยู่ที่บ้านครัวเมื่อห้าสิบปีก่อนหน้า

สำหรับบ้านส่วนอื่นๆจิม ทอมป์สันได้ตระเวนเสาะหาไปจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในที่สุดเขาก็ได้เจอสิ่งที่ต้องการที่หมู่บ้านผักไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวงเก่าแห่งนี้ เรือนหลายหลังถูกรื้อถอนเป็นชิ้นๆและลำเลียงมาทางเรือล่องมาตามแม่น้ำลำคลองตรงมายังสถานที่ก่อสร้างในกรุงเทพฯ

 
     
  ฤกษ์งามยามดี

คนไทยมักจะต้องไปหาพระเพื่อหาวันเวลาที่เป็นศุภฤกษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล พระจะดูฤกษ์ดูยามตามโหราศาสตร์โดยใช้วันเดือนปีเกิดของเจ้าของบ้านโยงเข้ากับลัคนาราศี

วันที่ ๑๕ กันยายน ค.ศ. ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๐๑)
เวลา ๐๙.๐๐ น.
เป็นวันและเวลาที่เป็นมงคลฤกษ์ในการก่อสร้างบ้านของ
จิม ทอมป์สันตามโหราศาสตร์

วันที่ ๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒)
การก่อสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ

 

 
     
 

ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิเป็นบ้านหลังจิ๋วที่จำลองจากบ้านทรงไทยหรือโบสถ์ ตามความเชื่อของคนไทยโบราณศาลพระภูมิสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อาศัยของวิญญาณ เจ้าที่ที่สิงสถิตอยู่ในบริเวณบ้านพระภูมิเจ้าที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์และบทบาท สำคัญที่จะอำนวยโชคหรือบันดาลเคราะห์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้น หากไปทำอะไรให้พระภูมิเจ้าที่โกรธเคือง ไม่ว่าจะโดยการละเลยไม่เคารพบูชา หรือหยาบหยามลบหลู่ก็ตาม เคราะห์ร้ายก็จะตกแก่เจ้าของและผู้อยู่อาศัยในบ้าน จะต้องมีการไหว้บูชาพระภูมิเจ้าที่เป็นประจำทุกวันด้วยธูปเทียนดอกไม้และเครื่องเซ่นไหว้
   
สถานที่ประดิษฐานศาลพระภูมิเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากตั้งไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสมก็จะพาให้เป็นอัปมงคลทำให้เกิดเคราะห์หามยามร้ายแก่ผู้อยู่อาศัย จึงต้องระวังไม่ตั้งศาลพระภูมิไว้ในบริเวณที่เงาของเรือนหลังใหญ่ ทอดลงบังศาล ดังนั้นศาลพระภูมิจึงมักตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือในบริเวณบ้าน
  บันทึกการเข้า

พบกับแบบบ้านไทย

 

 

 


 
 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง [บ้านไทย...ใต้ถุนสูง...ภุมิใจ......ภูมิปัญญาไทย...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..