ไตรภูมิพระร่วง แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”
ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ได้แก่
กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
กามภูมิ คือ โลกของผู้ที่ยังติดอยู่ในกามกิเลส แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่
๑.สุคติภูมิ ๒. อบายภูมิ
๑.สุคติภูมิ ได้แก่
๑.๑ มนุสสภูมิ ( โลกมนุษย์ )
๑.๒ สวรรคภูมิ (ฉกามาพจรภูมิ)
๑.๒.๑ จาตุมหาราชิกา
๑.๒.๒ ดาวดึงส์
๑.๒.๓ ยามา
๑.๒.๔ ดุสิต
๑.๒.๕ นิมมานรดี
๑.๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตดี
๒. อบายภูมิ ได้แก่
๒.๑ นรกภูมิ ( มี ๘ ขุม )
๒.๒ ดิรัจฉานภูมิ
๒.๓ เปรตภูมิ
๒.๔ อสูรกายภูมิ
รูปภูมิ
เป็นดินแดนของพรหมที่มีรูป มี ๑๖ ชั้น (โสฬสพรหม )
อรูปภูมิ
เป็นดินแดนของพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่จิตหรือวิญญาณ
ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่มี ๔ ทวีป ได้แก่
๑. อุตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ มีอายุ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ อาศัยอยู่ตามโพรงไม้ ไม่ต้องทำงานใด ๆ แต่งตัวสวยงาม มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา
๒. บูรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร มีอายุ ประมาณ ๗๐๐ ปี
๓. อมรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุ ประมาณ ๕๐๐ ปี
๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ ของภูเขาพระสุเมรุ คือ มนุษย์โลกนี้เอง อายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการทำบุญหรือทำกรรม แต่ทวีปนี้ก็พิเศษกว่า ๓ ทวีปคือ เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช และพระอรหันต์
การเกิดเป็นพรหมชั้นต่าง ๆ
๑. ปฐมฌานภูมิ ๓
๑.๑ ผู้เจริญปฐมฌานได้เพียงขั้นเล็กน้อย (ปริตฺตํ) จะเกิดเป็น พรหม ปาริสัชชา พรหมบริวาร
๑.๒ ผู้เจริญปฐมฌานได้ปานกลาง (มชฺฌิมํ) จะเกิดเป็นพรหมชั้นปุโรหิต
๑.๓ ผู้เจริญปฐมฌานได้ขั้นประณีต (ปณีตํ) จะเกิดเป็นพรหมชั้น ท้าวมหาพรหม หรือ มหาพรหมา
๒. ทุติยฌานภูมิ ๓
๒.๑ ผู้เจริญทุติยฌานได้เล็กน้อย จะเกิดเป็นพรหมชั้นปริตตาภา แปลว่า ผู้มีรัศมีน้อย
๒.๒ ผู้เจริญทุติยฌานได้ปานกลาง จะเกิดเป็นพรหมชั้น อัปปมาณาภา แปลว่า ผู้มีรัศมีมีประมาณไม่ได้
๒.๓ ผู้เจริญทุติยฌานได้ขั้นประณีต จะเกิดเป็นพรหมชั้น อาภัสสรา แปลว่า ผู้มี รัศมีเปล่งซ่านไป
๓. ตติยฌานภูมิ
๓.๑ ผู้เจริญตติยฌานภูมิได้เล็กน้อย จะเกิดเป็นพรหมชั้น ปริตตสุภา แปลว่า ผู้มีรัศมีความงามน้อย
๓.๒ ผู้เจริญตติยฌานได้ปานกลาง จะเกิดเป็นพรหม ชั้น อัปปมาณสุภา แปลว่า ผู้มีรัศมีความงามหาประมาณมิได้
๓.๓ ผู้เจริญตติยฌานได้ขั้นประณีต จะเกิดเป็นพรหมชั้น สุภกิณหา แปลว่า ผู้มีรัศมีงามกระจ่าง
การแบ่งฌานเป็นขั้นเล็กน้อย ปานกลางและประณีตนั้น อาศัยขั้นตอนการบรรลุถ้าบรรลุด้วยอิทธิบาทน้อยก็เป็นฌานเล็กน้อย ใช้ความเพียรขั้นกลางก็เป็นมัชฌิมฌาน ใช้ความเพียรขั้นอุกฤษฏ์ก็เป็นปณีตฌาน
๔. จตุตถฌานภูมิ ๓ อย่างย่อ และ ๗ อย่างพิสดาร ดังนี้
๔.๑ เวหัปผลา ผู้มีผลอันไพบูลย์
๔.๒ อสัญญีสัตว์ ผู้ไม่มีสัญญา
๔.๓ สุทธาวาส ๕ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ พระอนาคามี
๑. อวิหา ผู้ไม่เสื่อมฐานะของตน โดยกาลเล็กน้อย อยู่นาน (เจริญสัทธินทรีย์)
๒. อตัปปา ผู้ไม่เดือดร้อน (เจริญวิริยินทรีย์)
๓. สุทัสสา ผู้งดงามน่าทัศนา (เจริญสตินทรีย์ )
๔. สุทัสสี ผู้น่าทัศนาเพราะบริสุทธิ์ (สมาธินทรีย์)
๕. อกนิฏฐา ผู้ไม่เล็กน้อยด้อยกว่าใคร (ปัญญินทรีย์)
*~ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ~*
การเกิดมนุษย์
ปฏิสนธิ -> กัลละ (ขนาด เศษ 1 ส่วน256 ของเส้นผม)
7 วัน -> อัมพุทะ (น้ำล้างเนื้อ)
14 วัน -> เปสิ (ชิ้นเนื้อ)
21 วัน -> ฆนะ (ก้อนเนื้อ, แท่งเนื้อ ขนาดเท่าไข่ไก่)
28 วัน -> เบญจสาขาหูด (มีหัว แขน2 ขา2) ครบ 1 เดือน
35 วัน -> มีฝ่ามือ นิ้วมือ ลายนิ้วมือ
42 วัน -> มีขน เล็บมือ เล็บเท้า (เป็นมนุษย์ครบสมบูรณ์)
50 วัน -> ท่อนล่างสมบูรณ์
84 วัน -> ท่อนบนสมบูรณ์
184 วัน -> เป็นเด็กสมบูรณ์ นั่งกลางท้องแม่ (6เดือน)
การคลอด
ท้อง 6 เดือนคลอด - >ไม่รอด (บ่ห่อนได้สักคาบ)
ท้อง 7 เดือนคลอด ->ไม่แข็งแรง (บ่มิได้กล้าแข็ง)
การเกิด
มาจากสวรรค์ -> ตัวเย็น ออกมาแล้วหัวเราะ
มาจากนรก -> ตัวร้อน ออกมาแล้วร้องไห้
กาลทั้ง 3 ได้แก่
กาล 1 -> แรกเกิดในท้องแม่
กาล 2 -> อยู่ในท้องแม่
กาล 3 -> ออกจากในท้องแม่
* คนธรรมดา -> ไม่รู้ตัว จำไม่ได้ทั้ง 3 กาล
* พระปัจเจกโพธิเจ้า/ พระอรหันตาขีณาสพเจ้า / พระอัครสาวกเจ้า -> 2 กาลแรกรู้ตัว จำได้ แต่ลืมกาลที่ 3
ขอบคุณข้อมูลจาก http://thai135.multiply.com/journal/item/3 และ piromwasee.exteen.com/20080325/entry-1