หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ทองใบ ปัดทำ
จากจังหวัด ขอนแก่น

นิเทศการศึกษา/การสังเกตการสอนในชั้นเรียน
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 10023 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(72.00%-20 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

นิเทศคลีนิก

.....

 

รายงานผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้
โดย  นายทองใบ  ปัดทำ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมาและความสำคัญของการสังเกตการสอน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2545  มีแนวการจัดการศึกษาตาม  มาตรา 22   การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  และมาตรา 24 (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน  และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ : 2544)

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดคุณภาพนั้น ควรต้องประกอบด้วย  3  กระบวนการด้วยกัน คือ กระบวนการบริหาร  กระบวนการเรียนการสอน  และกระบวนการนิเทศการศึกษาการนิเทศการศึกษา เป็นการชี้แจง การแสดง หรือการแนะนำเกี่ยวกับการสอนและการอบรม  การนิเทศการศึกษาเป็นภารกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ดังจะเห็นได้จากเหตุผลความจำเป็นในหลายประการ เช่น ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว บุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือและพัฒนางาน ให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับมีเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกันคือ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศ เพื่อจะได้ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน การนิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้กระบวนการบริหาร และการบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพถึงระดับที่พึงประสงค์   (ชัด  บุญญา : 2538)

การนิเทศการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในสถานศึกษา ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปัญหาอื่นๆ   ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการสังเกตการจัดการเรียนรู้ขึ้น

 เป้าหมายของการสังเกตการสอน คือ  นายอิทธิพล  บุญเดช  ตำแหน่งครูผู้ช่วย

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/3  จำนวน  28  คน  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2552  โรงเรียนซำสูงพิทยาคม  ตำบลกระนวน  อำเภอซำสูง  จังหวัดขอนแก่น 

 ระยะเวลาการสังเกตการสอน    วันที่  8  กันยายน  2552   ห้องคอมพิวเตอร์ 

                                                      อาคาร 3  เวลา  09.40 น.-10.40 น.

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล      แบบสังเกตการสอน

การวิเคราะห์ข้อมูล

     วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย 

                น้ำหนักคะแนนระดับคุณภาพและแปลความหมาย

                ระดับคะแนน       4.51 5.00                            หมายถึง                 ปฏิบัติได้ระดับดีมาก

                ระดับคะแนน       3.51 4.50                            หมายถึง                 ปฏิบัติได้ระดับดี

                ระดับคะแนน       2.51 2.50                            หมายถึง                 ปฏิบัติได้ระดับปานกลาง

                ระดับคะแนน       1.51– 2.50                             หมายถึง                 ปฏิบัติได้ระดับพอใช้

                ระดับคะแนน       1.00– 1.50                             หมายถึง                 ควรปรับปรุงแก้ไข

              (บุญชม  ศรีสะอาด :  2538)

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    

1.  ผู้สังเกตการสอนและผู้รับการสังเกตการสอนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิควิธีการ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอน   การนำองค์ความรู้ ข้อเสนอแนะไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2.  ผู้สังเกตการสอนและผู้รับการสังเกตการสอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างกัลยาณมิตร

3.  ผู้รับการสังเกตการณ์สอนสามารถพัฒนาตนเองในวิชาชีพและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.       เพื่อสร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการสังเกตการสอนให้แก่เพื่อนครู ให้เกิดความมั่นใจว่า

การสังเกตการสอนสามารถช่วยครูแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียน การสอนได้

5.       เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ และมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเป็นครูมืออาชีพ

อย่างมาตรฐาน และรักษาระดับคุณภาพไว้อย่างต่อเนื่อง

ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้

                ข้าพเจ้านายทองใบ  ปัดทำ  นักศึกษาปริญญาโทสาขาหลักสูตรและการสอน  วิชาเฉพาะการพัฒนาหลักสูตร รหัสนักศึกษา 515050273-6 ศึกษารายวิชา  224 707  การจัดการชั้นเรียน (Classroom management)   ได้รับมอบหมายให้สังเกตการสอนของครู 1  คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  เสนอปัญหา  แนวทางแก้ไข การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้  ขอเสนอเป็นลำดับดังนี้

 หัวข้อที่ทำการสังเกต

  1. การเตรียมการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้

ครูผู้สอน ได้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามตามรูปแบบที่กำหนด  มีหัวข้อสำคัญในแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ครบองค์ประกอบ  ซึ่งประกอบด้วย  สาระสำคัญ  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สาระการเรียนรู้  กระบวนการเรียนรู้   สื่อ/แหล่งเรียนรู้  และการวัดผลประเมินผลชัดเจน 

  1. การดำเนินการสอน

การนำเข้าสู่บทเรียน

ในการนำเข้าสู่บทเรียน  ครูผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้แล้วนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนากับนักเรียน  ใช้คำถามถามนำเกี่ยวกับส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์  ซึ่งนักเรียนให้ความร่วมมือตอบคำถามตามประสบการณ์ของตน  โดยครูถามนักเรียน จำนวน  1  คน  เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากการสังเกตพบว่า  นักเรียนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง  กล้าที่จะแสดงออก มีความเชื่อมั่น   สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง  ซึ่งเป็นจุดเร้าความสนใจเพื่อนร่วมชั้นให้ มีความกระตือรือร้นในการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  หลังจากนั้นครูผู้สอนจึงเริ่มสอนในเนื้อหาที่เตรียม

การสอน

ครูผู้สอนเตรียมความพร้อมของผู้นักเรียนและสื่อให้พร้อมที่จะสอน  โดยใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยายหน้าชั้นเรียน ครูแนะนำเครื่องมือสำรองข้อมูลให้นักเรียนทราบ เช่น แผ่น CD และแผ่นDVD  ตลอดจนอุปกรณ์สำรองข้อมูลอื่น ๆ แต่ไม่ได้นำมาแสดงให้นักเรียนเห็น จากนั้นครูอธิบายข้อแตกต่างโดยการเขียนบนกระดาน พร้อมให้นักเรียนสัมผัสถึงความแตกต่างนั้น โดยส่งให้นักเรียนในห้องดู เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ  โดยภาพรวมนักเรียนทุกคนให้ความสนใจ ตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้เป็นอย่างดี  ครูผู้สอนเดินตรวจสอบการร่วมกิจกรรมของนักเรียน และสุ่มถามนักเรียนบ่อย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดตามเนื้อหาที่ครูสอน

ซึ่งนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  มีความกระตือรือร้น สามารถทำใบงานที่ครูมอบหมายได้ดี จากการสังเกตในชั้นเรียนนี้พบว่ามีนักเรียนจำนวน 2 คน ที่ไม่ค่อยสนใจเรียน มี 1 คน ที่เหม่อลอย ไม่แสดงอาการรับรู้กับเรื่องราวที่ครูสอน ตามประวัติของนักเรียนคนนี้ชอบโดดเรียน ไปเล่นเกมบ่อย ๆ

ขั้นสรุปบทเรียน

ครูผู้สอนได้ใช้วิธีการสรุปบทเรียนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม โดยการช่วยกันตอบคำถามครูอธิบายเนื้อหาสาระเพิ่มเติม  แล้วให้นักเรียนจาดบันทึกสาระความรู้ลงในสมุดงาน  แล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  บันทึกข้อมูลคะแนนที่ได้ลงแบบบันทึก เป็นการเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี และสร้างองค์ความรู้ที่คงคน

        3. การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พอสมควร  นักเรียนส่วนใหญ่

มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม   แต่ก็ยังมีบางคนไม่ยอมให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ไม่กล้าแสดงออก 

4.       บุคลิกภาพ

ครูผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเป็นกันเองกับนักเรียนอย่างกัลยาณมิตรใช้น้ำเสียงใช้ภาษาถูกต้องในการอธิบาย  การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย กิริยาท่าทางเหมาะสม สามารถควบคุมอารมณ์และปรับตัวได้ดี 

5.       การใช้สื่อการสอน

สื่อการเรียนการสอนครั้งนี้   ครูผู้สอนเลือกใช้สื่อที่เป็นของจริง  เช่น แผ่น CD และแผ่นDVD  ตลอดจนอุปกรณ์สำรองข้อมูลอื่น ๆ  ซึ่งเป็นสื่อที่นักเรียนคุ้นเคยอยู่แล้ว มีความน่าสนใจทันสมัย  การเตรียมบทเรียนมีความพร้อมครบเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี  แต่ปัญหาที่พบก็คือ สื่อที่ครูนำมาใช้มีน้อยนักเรียนสัมผัสไม่ทั่วถึง ถ้ามีการจัดการเรียนการสอนที่ห้องคอมพิวเตอร์นักเรียนน่าจะมีการเรียนรู้ที่ดีกว่านี้ แต่เนื่องจากห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนมีน้อยจึงมีการหมุนเวียนการใช้ห้องร่วมกับชั้นเรียนอื่น 

 6.       การวัดผลและประเมินผลการเรียน

การวัดผลประเมินผล  ใช้วิธีวัดผลได้เหมาะสมกับเนื้อหา  มีการตรวจสอบ และปรับปรุง ผู้เรียนได้บ้างระหว่างสอน  แต่ยังไม่ทั่วถึง 

 การสะท้อนผล

                จากการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้นายอิทธิพล บุญเดช ในครั้งนี้ 

ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับ  ดี  แต่พบข้อบกพร่องบางประการ  ข้าพเจ้าได้ชี้แนะ  ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนครั้งต่อไป  ดังนี้

1.       การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  มีการเตรียมการได้ดี  แต่ควรเพิ่มมาตรฐานการเรียนรู้

และตัวชี้วัด  จุดประสงค์การเรียนรู้ให้ถูกต้อง การลำดับขั้นตอนของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการตรวจสอบมาตรฐานการเรียนรู้ไปในตัวด้วย

2.       การนำเข้าสู่บทเรียน  ควรเร้าความสนใจนักเรียนด้วยเพลงหรือเกมต่าง ๆ หรือภาพ

ขั้นสอนครูผู้สอน ควรนำส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์อื่น ๆ มาใช้ประกอบการสอน

3.       ขณะให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน  และนักเรียนที่เรียนได้ช้า  ครูผู้สอนควรเดิน

ตรวจสอบการปฏิบัติทักษะของนักเรียนอย่างจริงจัง  และเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ การจัดการ

ชั้นเรียนครูผู้สอนควบคุมพฤติกรรมนักเรียนได้ดี นักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน   

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง นิเทศการศึกษา/การสังเกตการสอนในชั้นเรียน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ทองใบ ปัดทำ
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ทองใบ ปัดทำ..