หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

มาทำความรู้จักกับ...หัวกลอยกันเถอะ..!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 12 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(70.91%-11 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

 คิดถึงพี่หน่อย..นะกลอยใจพี่ ห่างกันอย่างนี้  น้องคิดถึงพี่..บ้างไหม?

ก่อนอยู่บ้านนาเขาเรียกเธอว่า อ กลอย
พออยู่กรุงเทพมีผ นายร้อยเปลี่ยนจากกลอยมาเป็นแรมจันทร์...

 

                  รู้สึกว่าพอเอ่ยชื่อ"กลอย" คงจะคุ้นๆหูกันแทบทุกคนใช่ไหมคะ? อย่างน้อยก็อยู่ในเนื้อเพลงหลายคนเคยร้องติดปาก .........มาหลายสมัยเหมือนกัน...

                           คลิ๊กที่ภาพ

                  กลอย ...เป็น...
พืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน มีคนนิยมบริโภคกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านแบ่งประเภทของกลอยตามลักษณะของลำต้นและ
ตามสีในเนื้อหัวกลอยคือ กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว
ส่วนกลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อนำหัวกลอยมาปอก
เปลือกและหั่นเป็นแว่นบาง ๆ พบว่ากลอยข้าวเจ้ามีเนื้อสีขาวนวลและ
เนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว ซึ่งมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว
และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าว
เหนียวมากกว่า.........................................................

กลอยทั้งสองมีพิษพอๆกันใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้แต่ต้องระวังในการใช้

ชาวบ้านนิยมทาน หันฝอยบางๆ แล้วหมัก ไม่รู้เขาหมักไว้กี่วัน
จากนั้นก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เอามานึ่ง เวลาจะทานก็ขูดมะพร้าวโรยหน้าแล้วเอาน้ำตาลกับเกลือโรยลงไปเล็กน้อย อร่อยดีเหมือนกัน
แต่ถ้านึ่งไม่สุก ก็เป็นอันตรายเหมือนกันทำให้เวียนศรีษะได้

 
คลิ๊กที่ภาพ

ในหัวกลอยจะมีแป้งมากและมีสารพิษที่ชื่อว่าไดออสคอรีน (Dioscorine) สามารถละลายน้ำได้ดี พิษชนิดนี้จะมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้เกิดอัมพาตหรือหยุดหายใจได้
ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความ ต้านทานของแต่ละคน
อาการที่ที่พบได้บ่อยได้แก่ คันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด และเป็นลม ทั้งนี้ปริมาณสารพิษในหัวกลอยแต่ละฤดูกาลจะแตกต่างกัน จากการทดลองเปรียบเทียบพิษของกลอยที่ขุดมาแต่ละฤดูพบว่า ในเดือนสิงหาคมจะมีปริมาณสารพิษสูงที่สุด
ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเชื่อกันว่ากลอยจะมีพิษสูงสุดตอนที่มีดอก กลิ่นดอกกลอยจะหอมไปทั้งป่า ส่วนในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายนกลอยจะพิษน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามหากประชาชนนำกลอยมาบริโภคดิบๆ หรือนำมาบริโภคโดยที่ยังเอาสารพิษออกไม่หมดอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้


"ในการนำกลอยมาประกอบอาหารจะต้องทำอย่างถูกวิธี โดยต้องใช้ผู้
ชำนาญกำจัดสารพิษออกให้หมด
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าการหักเมา นิยมทำ 2 วิธี คือปอกเปลือกทิ้งแล้ว
หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่ในภาชนะโปร่ง
เช่น ถุงตาข่ายแล้วนำไปแช่ในน้ำไหลประมาณ 3-7 วัน เพื่อให้พิษละ
ลายออกไปแล้วจึงนำมาประกอบอาหาร
ส่วนวิธีที่ 2 อาจใช้หมักกับน้ำเกลือประมาณ 3 วัน ระหว่างนี้ให้เปลี่ยน
น้ำเกลือหลายๆครั้งจึงจะนำมาบริโภคได้


(ควรแช่ 4วันเปลี่ยนน้ำทุกวัน
ตอนเปลี่ยนน้ำเกลือให้บีบคั้นน้ำขาวๆออกด้วย)

                             คลิกฟังเพลงคิดถึงพี่หน่อย  http://charyen.com/jukebox/play.php?id=4273

                              คลิกฟังเพลงคิดถึงพี่ไหม    http://charyen.com/jukebox/play.php?id=20305

                                                                                                 

ขอบคุณที่มาข้อมูลpcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/article1-51.asp -

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง มาทำความรู้จักกับ...หัวกลอยกันเถอะ..!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..