หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
จากจังหวัด ปัตตานี

กลยุทธ์และการวิเคราะห์สวอท ( SWOT)
โพสต์เมื่อวันที่ : 11 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7044 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(61.11%-18 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

กลยุทธ์และการวิเคราะห์สวอท ( SWOT)

กลยุทธ์ (Strategy)                        

                คำว่า กลยุทธ์มาจากภาษากรีกว่า Strategia หมายความถึงศิลปะและศาสตร์ของการบังคับบัญชากองทัพ จากการสำรวจของนักวางแผนในบริษัท ซึ่งได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า กลยุทธ์คือวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุภารกิจหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์การ กลยุทธ์ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารวางแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างไร ภายในสถานการณ์ส่วนใหญ่วิธีการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การนั้นมีอยู่หลายวิธี กลยุทธ์จะระบุขั้นตอนที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ กลยุทธ์คือผลผลิตของกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ เมื่อเราพูดถึงกลยุทธ์ขององค์การ เราต้องเข้าใจว่ากลยุทธ์ขององค์การจะมีอยู่หลายระดับภายในองค์การ เช่น หัวหน้างานอาจจะกำหนดกลยุทธ์งานประจำเดือนบรรลุเป้าหมาย

                เพื่อให้กระบวนการการวางแผนเป็นไปโดยสมบูรณ์ โดยสามารถมีหนทางหรือวิธีการที่จะเชื่อได้ว่า กิจกรรมทุกอย่างจะมีทางสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้  การเข้าใจเรื่องราวของกลยุทธ์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะควรที่จะเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

1.       กลยุทธ์มีส่วนช่วยอะไรบ้าง และความสำคัญของกลยุทธ์ที่มีความสำเร็จขององค์การ

2.       ความจำเป็นในการประเมินกลยุทธ์เป็นระยะๆและการต้องที่ต้องเปลี่ยนแปลงความจำเป็นและเหมาะสม

3.       ชนิดของคำถามหลักที่จำเป็นต้องพยายามตอบให้ได้ขณะที่ทำกลยุทธ์ต่างๆ

4.       วิธีคิดวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด

กลยุทธ์จะอธิบายถึงวิธีทางที่องค์การจะดำเนินตามเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้อุปสรรคและโอกาสภายในสภาพแวดล้อมภายนอก และทรัพยากรและความสามารถภายในองค์การ กลยุทธ์จะให้ความเข้าใจพื้นฐานว่าองค์การจะแข่งขันอย่างไร ตัวกำหนดกลยุทธ์ขององค์การมีอยู่ 3 อย่าง คือ สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมภายใน และวัตถุประสงค์ขององค์การ

ความหมายของกลยุทธ์ (Strategy)

        กลยุทธ์เป็นกระบวนการที่สำคัญ การบริหารจะสำเร็จหรือไม่ต้องมีกลยุทธ์ที่ดี กลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ดังนั้นการที่จะทำให้องค์การมีการพัฒนานั้นจะต้องรู้หลักในการวางแผนกลยุทธ์ และกลยุทธ์ก็มีผู้รู้ได้ให้ความหมายของกลยุทธ์เอาไว้ต่างๆกัน ดังนี้

                กลยุทธ์ คือ เปรียบเสมือนแนวคิดและหลักวิธีการของการวางแผนที่ครอบคลุมทั้งองค์การ และมีกลไกที่จะรับรู้เอาสถานการณ์แวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง มาประกอบในการวางแผนอย่างครบถ้วนมากที่สุด  (ธงชัย สันติวงษ์.2540:2)

        กลยุทธ์ คือ แผนแม่บทของการประกอบธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะมีการกำหนดทิศทาง การดำเนินการระยะยาวแล้ว ยังมีการกำหนดขั้นตอน และรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการวัดผลในเชิงปฏิบัติอีกด้วย แผนกลยุทธ์เป็นแผนครอบจักรวาล กล่าวคือ เป็นแผนทิศทางและแผนรายละเอียด โดยมีการกำหนดเงื่อนเวลา และสถานที่เด่นชัด จะช่วยเป็นเครื่องมือในการกำกับและการตรวจสอบเพื่อการปรับปรุงและปรับตัวเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย   (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ม.ป.ป.  : 1)

2

          กลยุทธ์ คือ วิธีที่การเฉพาะที่แยบยลที่ทำให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์   (สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์และคณะ 2542 : 3)

กลยุทธ์ คือ แผนระดับสูงขององค์การในแผนนี้จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ นโยบาย และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุผล กลยุทธ์จึงเป็นกรรอบและแนวทางกว้างที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับกลางลงมาทำการกำหนดแผนงานและโครงการในรายละเอียดว่า จะทำอะไรบ้างและทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นโยบายและหลักการต่างๆที่ปรากฏในกลยุทธ์  (อนันต์ เกตุวงษ์ , 2541:159-160)

กลยุทธ์  คือ วิธีการดำเนินงานที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

 (กรมสามัญศึกษา ,2545:3-4)

กลยุทธ์ คือ แผนของผู้บริหารระดังสูงที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์การ  (กรมสามัญศึกษา ,2545:3-4)

กลยุทธ์ คือ  ชุดของเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ สำหรับแต่ละระดับขององค์การโดยเฉพาะ

 (กรมสามัญศึกษา ,2545:3-4)

กลยุทธ์ คือ แนวทางในการเปรียบเทียบจุดแข็งขององค์การกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อคิดหาวิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ (กรมสามัญศึกษา ,2545:3-4)

กลยุทธ์ คือ วิธีหรือแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อให้เกิดผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบ และสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์อันใดอันหนึ่งหรือหลายวัตถุประสงค์พร้อมๆกัน โดยให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ณ ระดับที่ยอมรับได้  (กรมสามัญศึกษา ,2545:3-4)

กลยุทธ์ คือ แผนงานระยะยาวขององค์การที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อการบรรลุภารกิจ และเปาหมายขององค์การ กลยุทธ์จะต้องใช้ข้อได้เปรียบจากการแข่งขันให้มากที่สุด และข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันให้น้อยที่สุด  (สมยศ นาวีการ ,2539:27)

กลยุทธ์ คือ กระบวนการในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์เหล่านั้นขององค์การ (F.M Anthony)

กลยุทธ์ คือ ความคิดในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์พื้นฐานระยะยาวของหน่วยงาน รวมทั้งการยอมรับวิธีการในการปฏิบัติงานและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย (Alfred D.Chamdler)

กลยุทธ์ คือ แผนซึ่งได้ทำขึ้นอย่างเป็นมาตรฐาน มีความสมบูรณ์และง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นการผสมผสาน ความคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักประกันว่าวัตถุประสงค์ของกิจการจะต้องประสบกับความสำเร็จ (William F.Glueck)

สรุปได้ว่า กลยุทธ์คือขอบข่ายหรือกรอบของความคิดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้ทิศทางในการดำเนินงาน ซึ่งจะดูได้จากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้จัดทำโดยวิเคราะห์จากจุดอ่อนข้อจำกัด หรือจุดแข็งขององค์ประกอบต่างๆ ภายในองค์การอย่างละเอียด แล้วเลือกทางเลือกที่ดีมีเหตุและมีผลขึ้นเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

         

 

3

ความสำคัญของกลยุทธ์

                ความสำคัญของกลยุทธ์ที่มีอยู่ตลอดเวลาในกระบวนการวางแผนนั้น นับว่ามีความสำคัญอยู่มากทีเดียว กลยุทธ์จะช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องช่วยจำกัดขอบเขตของสิ่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำหรับเป็นพื้นฐานของขั้นตอนการวางแผนที่จะกระทำต่อไป ลักษณะของกลยุทธ์จึงคล้อยๆกับเป็นการออกแบบหรือกำหนดแบบสำหรับเรื่องทั้งหมด(Grand  Design) ก็คือ เป็นวิธีการเชิงรวมของเรื่องราวทั้งหมดที่แต่ละบุคคลหรือองค์การเลือกเอาไว้สำหรับช่วยให้สามารถเคลื่อนไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้  การพัฒนาให้ได้กลยุทธ์ที่เหมาะสมนี้นับว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่มุ่งพยายามจะให้มีการใช้กำลังความพยายามภายในและแรงผลักดันมหภาคภายนอกที่จะให้เกิดผลดีมากที่สุด เพื่อจะได้ผลผลักดันให้องค์การเดินไปสู่เป้าหมายของตนได้

กลยุทธ์เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้ การปฏิบัติการแสดงออกทางพฤติกรรม และเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม

 

กลยุทธ์

กระบวนการ

การเรียนรู้

การปฏิบัติ

พฤติกรรม

ต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                   

          จากแผนผังดังกล่าว อธิบายถึงความสำคัญของกลยุทธ์ได้ดังนี้

                กลยุทธ์เป็นกระบวนการเรียนรู้ (Learning process)ซึ่งไม่ได้เป็นกระบวนการปรับปรุงต่อเนื่อง แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการแสวงหาเพื่อท้าทาย ความคิด ความเชื่อ เพื่อเปลี่ยนกระบวนและสร้างสรรค์วิธีการ นวัตกรรมใหม่ๆสู่อนาคต

                กลยุทธ์เป็นกระบวนการปฏิบัติ (Action  process)คือไม่ใช่กระบวนการวางแผนปฏิบัติการในรูปโครงการที่เป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่องเป็นเส้นตรง แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติที่เคลื่อนไหวยืดหยุ่นตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุลและยั่งยืน

                กลยุทธ์เป็นกระบวนการทางพฤติกรรม(Behavioral process) คือกระบวนการเชิงพฤติกรรมไม่ใช่ชุดพฤติกรรมที่กำหนดตามบทบาทหน้าที่ที่ปรากฏในงาน และไม่ใช่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งอำนาจในองค์การหรือสถานภาพทางการเมืองแต่หมายถึงสิ่งที่เราเรียกว่า ภาวะผู้นำ ความเปิดใจกว้างยอมรับสิ่งท้าทายใหม่ๆ การรับฟัง การมีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนบุคคล

                กลยุทธ์เป็นกระบวนการต่อเนื่องเป็นองค์รวม(Continuous holistic process) เรากำหนดกลยุทธ์และทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและการปฏิบัติ โดยแยกแยะและหยิบยกมาจากรูปแบบ กรอบความคิดที่สลับ

4

ซับ ซ้อน  แต่สิ่งสำคัญที่พึงสังวร คือ ต้องพยายามค้นหาชุดของกลยุทธ์ที่เป็นเอกภาพ เหมาะสมกับสถานภาพขององค์การ และสามารถแสดงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงานโดยรวมความสำคัญของกลยุทธ์

          นอกจากนี้ ความสำคัญขององค์การในเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญมีอยู่ 5 ข้อ ดังนี้

                1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ

                2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการวางแผนยุทธ์

เป็นการวางแผนขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เป็นการวางแผนที่ต้องกระทำตามที่หน่วยเหนือสั่งการ

                3.การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ซึ่งสำนักงานงบประมาณให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดจัดทำก่อนที่จะกระจายอำนาจด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน

                4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกระแสหลักในการบริหารภาครัฐในปัจจุบันและสอดคล้องกับที่สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้เตรียมออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทำแผน

                5. . การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนด กลยุทธ์ ที่ได้มาจากคิดวิเคราะห์แบบใหม่ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีต ไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรและงบประมาณเป็นข้ออ้างอิง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ให้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

                ดังนั้น กลยุทธ์ จึงมีความสำคัญต่อหน่วยงานเพราะเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาในภาพรวม มีการจัดทำแผนอย่างเป็นรูปแบบแต่ละระดับ เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และให้สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและป้องกันการสูญเสียทรัพยากร ส่งเสริมความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบแนวทางวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย               

ระดับของกลยุทธ์

                กลยุทธ์โดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ แต่อาจมีนักวิชาการบางท่านแบ่งเป็น 3-5 ระดับ โดยรวมเอากลยุทธ์ระดับสังคมและระดับงานเข้ามาเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญด้วย แต่ในที่นี้จะจำแนกกลยุทธ์เป็น 5 ระดับ ตามหัวข้อที่นำเสนอ ดังนี้

                1. กลยุทธ์ระดับบริษัท(Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับระดับบริษัท (Corporate Level) ซึ่งจะต้องกำหนดเป็นแนวทางเพื่อการเจริญเติบโตของแต่ละหน่วยธุรกิจกลยุทธ์และ/หรือกลุ่มธุรกิจและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดสถานภาพของการมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

5

                2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-Level Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันของแต่ละหน่วยธุรกิจกลยุทธ์(Strstegic Business Unit - SBU) ว่าควรจะใช้แนวทางในการแข่งขันเป็นเช่นใดระหว่างแนวทางของการสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุนและการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน จุดเน้นของกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะมุ่งไปที่การสร้างคุณค่า (Value creation)และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)

          3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกัลป์การสร้างความสามารถการแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างคุณค่ากับลูกค้า องค์ประกอบของความสามารถในการแข่งขันจะประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ด้านคุณภาพ(Quality) ด้านประสิทธิภาพ (Efficientcy)ด้านนวัตกรรม(Innovation) และด้านความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer responsiveness)ซึ่งธุรกิจจะต้องสร้างความเหนือกว่า (Superior)ในองค์ประกอบของความสามารถในการแข่งขันที่นำกล่าวมานี้โดยผ่านหน่วยงานตามหน้าที่ ของธุรกิจ/องค์การ

                4. กลยุทธ์ระดับงาน (Task Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การมีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ในภาวะปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจต่างก็ต้องแข่งขันกันในการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า กลยุทธ์ระดับงานซึ่งเป็นระดับที่เล็กที่สุดจึงได้รับการเพิ่มความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อพิจารณาในแต่ละหน้าที่ของธุรกิจในด้านทางการเงิน การผลิต การตลาด การวิจัย และพัฒนา และด้านทรัพยากรมนุษย์ จะพบว่าในหน้าที่แต่ละหน้าที่เหบ่านี้ยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นงานหรือเป็นการปฏิบัติการย่อยๆได้อีก เช่น หน้าที่ด้านการผลิต จะแบ่งย่อยได้เป็นงานด้านควบคุมคุณภาพด้านการผลิต ด้านการจัดเส้นทางลำเลียงวัตถุดิบ การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ขายวัตถุดิบ และด้านเทคโนโลยีการผลิต การปฏิบัติในงานต่างๆ ดังกล่าว มีความจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เข้าไปเสริมสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเช่นเดียวกัน

                5. กลยุทธ์ระดับสังคม (Soc etal Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพพจน์ของธุรกิจที่ต้องการจะมีบทบาทต่อสังคม พนักงาน ผู้ถือหุ้น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสียอื่นๆ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆ ในการดำเนินบทบาทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะใช้เป็นกลยุทธ์ของบริษัทที่มีลักษณะเป็นกลุ่มบริษัท (Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational)ขนาดใหญ่เท่ากัน

ส่วนประกอบของกลยุทธ์ (Component  of Strategy)                  

            การพิจารณาสถานการณ์เฉพาะอย่าง ทางเลือกทางปฏิบัติ การตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนประกอบกลยุทธ์ โดยการกำหนดกลยุทธ์โดยรวม กำหนดไว้ 4 ส่วน เพื่อใช้วางแผนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายและภารกิจขององค์การ ดังนี้

                1. ขอบเขต (Scope) เป็นอาณาเขตที่ผลิตภัณฑ์มีการเสนอขาย มีการปฏิบัติการให้บริการตลาดหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต เป็นขอบเขตภายในกลยุทธ์

                2. ความสามารถที่แตกต่าง (Distinctive Competence) หมายถึงการเหนือกว่าทางการแข่งขันหรือความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ในทักษะเฉพาะอย่าง เช่น การให้บริการลูกค้าหรือการผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับขอบเขตที่กำหนดเพื่อให้เกิดประสิทธิผล ความสามารถนี้จะมีช่วงเวลายาว

6

                3.การจัดสรรทรัพยากร (Resource Deployment) เป็นวิธีที่องค์การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเงินและทรัพยากรข้อมูล การกระจายทรัพยากรขึ้นอยู่กับของเขตของกลยุทธ์และความสามารถที่แตกต่างซึ่งใช้ในการแข่งขัน

                4. การร่วมมือ (Synergy) เป็นวิธีการซึ่งส่วนต่างๆ ขององค์การจัดให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น การมุ่งที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตร่วมกันจะให้ความสะดวก ผู้บริหารสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

 

กระบวนการพิจารณาจัดวางกลยุทธ์

            การจัดวางพิจารณาทางกลยุทธ์ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาที่ละเอียด แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ

                1.การพิจารณาโอกาสและข้อกำกัด   

                                การตรวจสอบพิจารณาให้ทราบถุงโอกาสและข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็คือ การต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมโยงไปถึงเรื่องทั้งหมดทุกอย่าง นับตั้งแต่นโยบายของบริษัทและสภาวะการแข่งขันต่างๆ จากนั้นจะต้องมีการประมาณการขนาดของความเสี่ยงของสิ่งของที่อาจจะเป็นโอกาสและสิ่งที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวด้วย ถ้าหากเหตุการณ์ใดคาดหมายไว้ได้แน่ชัดว่าจะมีทางเกิดขึ้นได้มาก แต่จะกระทบต่อองค์การเพียงเล็กน้อย ก็จะมีผลทำให้การเสี่ยงขององค์การมีไม่มากนัก ใจทางตรงข้าม ถ้าเหตุการณ์ใดมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากพอประมาณหรือขนาดปานกลาง แต่จะมีผลกระทบต่อองค์การได้มาก จะทำให้ระดับการเสี่ยงมีมากด้วย

                2.การประเมินทรัพยากรที่มีอยู่

                                สิ่งที่ควบคู่กันและต้องทำพร้อมกันอีกด้านหนึ่ง คือ การต้องประเมินถึงความเข้มแข็งและอ่อนแอของทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์การ โดยตรงดูว่าจุดแข็งขององค์การที่มีอยู่คืออะไร ทั้งในด้านการขายและการตลาด การผลติด บุคลากรที่มีอยู่และอื่นๆกลยุทธ์ที่ดีนั้นย่อมจะต้องสร้างขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากข้อดีขององค์การที่มีอยู่ และในเวลาเดียวกันก็จะต้องสามารถลดขนาดของปัญหาที่เป็นจุดอ่อนให้มีเหลือน้อยที่สุด

                3.การพัฒนาทางเลือกกลยุทธ์

                                การรวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับโอกาสและข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมมาพิจารณาร่วมกันกับข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ ก็โดยวิธีพยายามจับคู่เงื่อนไขระหว่างโอกาสและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ข้อดีหรือผลดีต่อการทำงานของกิจกรรมมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การทำงานสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ โดยมีระดับการเสี่ยงน้อยที่สุด ณ ระดับที่ยอมรับได้

                                สำหรับกิจการที่ดำเนินงานต่อเนื่องกันมากนั้น ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าทางเลือกที่ง่ายที่สุด คือ การดำเนินกิจการที่ทำอยู่ให้ต่อเนื่องไปเหมือนเช่นที่เคยทำ แต่ในความเป็นจริงแล้ววิธีนี้จะทำได้ก็เฉพาะสำหรับช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ในทุกวันนี้กิจการส่วนมากต่างต้องทำการปรับหรือเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นการจำเป็นยิ่งที่ทำให้ต้องมีการคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ที่ทันสมัยขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่ใช้เดิม เพื่อสำหรับการปรับเปลี่ยนแผนงานและการทำงานด้านต่างๆ ต่อไป

7

กระบวนการพิจารณาจัดวางกลยุทธ์

 

 

Advertisement

การพิจารณาโอกาส

และข้อจำกัดที่เกิดขึ้น

ในสภาพแวดล้อม


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง กลยุทธ์และการวิเคราะห์สวอท ( SWOT)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี..