แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach)
ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์นั้นเป็นแนวคิดการบริหารจัดการที่ผู้บริหารจะปฏิบัติซึ่ง
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือเป็นแนวคิดซึ่งเป็นทางเลือกของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างและระบบควบคุมองค์การ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ หรือเป็นวิธีการที่กล่าวถึงองค์การที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์เป็นการประสมประสานแนวคิดในการบริหารจัดการที่สำคัญ 4 ประการคือ (1) แนวคิดแบบดั้งเดิม (2) แนวคิดเชิงพฤติกรรม (3) แนวคิดเชิงปริมาณ (4) แนวคิดเชิงระบบ
.....
แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach)
ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์นั้นเป็นแนวคิดการบริหารจัดการที่ผู้บริหารจะปฏิบัติซึ่ง
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือเป็นแนวคิดซึ่งเป็นทางเลือกของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างและระบบควบคุมองค์การ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ หรือเป็นวิธีการที่กล่าวถึงองค์การที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์เป็นการประสมประสานแนวคิดในการบริหารจัดการที่สำคัญ 4 ประการคือ (1) แนวคิดแบบดั้งเดิม (2) แนวคิดเชิงพฤติกรรม (3) แนวคิดเชิงปริมาณ (4) แนวคิดเชิงระบบ
ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณี (Contingency Theory) เริ่มมีบทบาทประมาณปลายปี ค.ศ.1960 เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากความคิดอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้างและระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงขององค์การ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมนุษย์ (Humanistic Environment) ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณีนี้มีอิสระมาก โดยมีธรรมชาติ (Natural) เป็นตัวแปรและเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ และระเบียบแบบแผน มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สภาพแวดล้อม เป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวมและเป้าหมายของสมาชิกทุกคนในองค์การ โดยมีข้อสมมติฐานว่า องค์การที่เหมาะสมที่สุดคือ องค์การที่มีโครงสร้างและรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ การสนับสนุน และความต้องการของสมาชิกในองค์การนั้นด้วย
บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้
การบริหารตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่มีรูปแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาวแวดล้อมแต่ละอย่าง การเลือกแบบใดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัว การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้การจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดกับปัญหาแต่ละปัญหา มีความเชี่ยวชาญที่จะจำแนกวิเคราะห์ และแก้ไขแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นความจริงว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีสถานการณ์แตกต่างกัน ทำให้การบริหารเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อตายตัว แนวความคิดของการบริหารตามสถานการณ์จึงถือเอาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนอกองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ การจัดการวิธีนี้มีใช้กันในหลายองค์การ โดยพิจารณาว่า “IF-THEN” ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น แล้วจึงเลือกกลวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น
การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน
หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
สรุปหลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระะบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
§ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
§ ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
§ ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
§ ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถนำทฤษฎีของ Fiedler มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้กล่าวไว้ มี 2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)
การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์ เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้นำท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกัน ทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้นำแต่ละท่านจะเลือกใช้ ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์
ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ ( Contingency Approach ) องค์การไม่ได้เหมือนกันทุกองค์การ ปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อองค์การมีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันในกรณีของการบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์และหลักการบริหารจัดการที่พยายามออกแบบองค์การทั้งหมดให้มีความเหมือนกัน อย่างไรก็ตามโครงสร้างและระบบของการทำงานในแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตได้ทั้งหมด จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ เช่นในปัจจุบันผู้บริหารจำนวนมากออกแบบองค์การใหม่เรียกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ ที่จะคอยสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารและความร่วมมือกัน ดังนั้นทุกคนจะกำหนดและร่วมกันแก้ปัญหา ทำให้องค์การสามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงและมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
แนวคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่เน้นผู้บริหารให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ ขององค์การ ตัวแปรต่าง ๆ ในแต่ละสถานการณ์ทางการบริหารมีความแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การและความพึงพอใจของพนักงาน กล่าวคือแนวคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ย่อมมีวิถีทางที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมทางการบริหารที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้ดีที่สุดวิธีเดียว หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันหากแต่มีหลากหลายวิธีในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory)
Hersey & Blanchard เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้น ในระยะแรกเรียกว่า ทฤษฎีวงจรชีวิตของภาวะผู้นำ (life-cycle theory of leadership) โดยได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองมิติ เช่นเดียวกับผลการศึกษาวิจัยที่รัฐโอไฮโอ คือ พฤติกรรมมุ่งงาน (task behavior) ซึ่งผู้นำจะให้บุคคลหรือกลุ่ม ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และทำที่ไหน เป็นต้น และ พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์ (relationship behavior) ซึ่งผู้นำจะใช้การติดต่อสื่อสารแบบสองทางหรือมากกว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับสถานการณ์ใดพิจารณาจากความพร้อม (readiness) ของผู้ใต้บังคับบัญชา (Hersey & Blanchard 1988 อ้างใน Bartol & others 1998) ใน 2 ด้านคือ ด้านความสามารถ (ability) ดูจากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับงาน และ ด้านความเต็มใจ (willingness) ที่จะทำให้งานสำเร็จ ดูจากความเชื่อมั่น ความมีพันธะผูกพัน และแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ความพร้อมเหล่านี้จะแบ่งได้ 4 ระดับที่ต่อเนื่องกัน คือ
ระดับต่ำ (R1)
ระดับต่ำถึงปานกลาง (R2)
ระดับปานกลางถึงสูง (R3) และ
ระดับสูง (R4)
ในแต่ละระดับมีเส้นโค้งตัดผ่านซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับความพร้อมระดับใด เป็นภาวะผู้นำ 4 รูปแบบดังนี้ แบบกำกับ(telling) ต้องกำหนดสิ่งที่จะทำและวิธีการดำเนินงานให้ กำกับและควบคุมอย่างใกล้ชิด ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความพร้อมต่ำ ไม่มีความสามารถและไม่เต็มใจ หรือจะมีความเสี่ยงเกินไปถ้าให้รับผิดชอบงานนั้น แบบขายความคิด (selling) อธิบายถึงสิ่งที่จะทำและให้โอกาสในการทำความเข้าใจในงานที่จะทำนั้น ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจที่จะทำงานนั้น แบบมีส่วนร่วม (participating) เน้นการติดต่อสื่อสารสองทางและความร่วมมือ ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานแต่ไม่มีความเต็มใจหรือมีความเสี่ยงเกินไปที่จะให้ทำงานนั้น แบบมอบอำนาจ (delegating) ให้ความเป็นอิสระในการทำงานมาก ใช้กับสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถ และมีความเต็มใจหรือความมั่นใจที่จะทำงานนั้น
การบริหารตามสถานการณ์เป็นทฤษฎีการบริหารที่ผู้บริหารนำมาใช้จัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ การที่จะนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้นั้น เราควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของทฤษฎีนั้น ๆ เสียก่อนจะทำให้การบริหารจัดการของเราประสบกับความสำเร็จได้
การบริหารเชิงสถานการณ์: บทพิสูจน์ภาวะผู้นำ
มรรควิถีแห่งการทำสงครามหลักประกันแห่งชัยชนะล้วนอยู่ที่การวิเคราะห์วางแผนอย่างเยี่ยมยุทธ์ สิ่งนี้คงไม่อาจมีใครปฎิเสธได้ แต่การวิเคราะห์วางแผนนั้นต้องอยู่บนพึ้นฐานของการบูรณาการแนวความคิดอย่างเป็นระบบ การจำแนก (Identifying) ตัวแปรสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ การวิเคราะห์ (Analyzing) โอกาสของสภาพการณ์ที่กำลังประสบ (Environment Opportunity) การตรวจสอบศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ (Competence and Resource) โดยคำนึงถึงเป้าประสงค์และความต้องการขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางที่สามารถปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม บางสถานการณ์อาจเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับองค์การแต่ในบางสถานการณ์อาจสร้างวิกฤติให้กับองค์การได้ในพริบตาความสามารถของผู้นำองค์การในการตระหนักรู้และเตรียมพร้อมอยู่เสมอ การสั่งการ และการตัดสินใจที่เท่าทันสถานการณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อกล่าวถึงความสำเร็จและความก้าวหน้าขององค์การแต่ละแห่งจะพบว่าปัจจัยหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จคือบทบาทภาวะผู้นำและความสามารถในการจัดการของผู้บริหารระดับสูงขององค์การนั้นที่สามารถบริหารองค์การ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางสถานการณ์อาจต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์อาจต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางกรณีก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ บางกรณีก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์การเป็นหลัก การบริหารต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ การบริหารเชิงสถานการณ์จึงน่าสนใจศึกษาในด้านแนวคิดทฤษฎี การวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนองค์การให้พร้อมรับทุกรูปแบบของสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและทำให้ผู้นำองค์การเลือกแบบความเป็นผู้นำที่เหมาะสมและเป็นผู้นำที่อยู่ในสภาพที่พร้อมรบตลอดเวลา คำว่า เชิงสถานการณ์ หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความหมายดังกล่าวนี้ให้ทัศนะต่อการบริหารเชิงสถานการณ์ว่าเป็นวิธีการบริหารที่มีแนวคิดว่าไม่มีแนวทางใดที่ดีที่สุด ‘There is no one best way’ ความสำคัญขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของตัวแปรผันสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องและแนวคิด เทคนิคการบริหารที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เป้าหมายขององค์การประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ (สมยศ นาวีการ, 2539, หน้า 51)
ภาวะผู้นำ (Leadership) คือความสามารถที่จะใช้อิทธิพลนำกลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์ อิทธิพลนั้นอาจได้รับมาแบบเป็นทางการนั่นคือผู้นำอย่างเป็นทางการ หรือผู้นำที่ไม่เป็นทางการซึ่งคือผู้นำที่ไม่ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการแต่สามารถนำกลุ่มและเป็นที่ยอมรับ (กรองแก้ว อยู่สุข, 2534: 132) ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องรู้ทั้งการนำควบคู่ไปกับการบริหารเพราะต่างมีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับองค์การ โดยเฉพาะการบริหารองค์การภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตลอดเวลาทำให้เกิดความต้องการผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำที่ดีสามารถนำพาองค์การสู่ความสำเร็จ หลักการบริหารเชิงสถานการณ์ ถือว่าการบริหารขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม ไม่มีวิธีการใดที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรือกับทุกองค์กร การบริหารแนวนี้เป็นการผสมผสานแนวคิดและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ และยอมรับว่าทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกันและ การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์โดยเน้นให้ผู้บริหารพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรและความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การเป็นต้น รวมถึงการพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์การที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่กำลังประสบ ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุดโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ ทฤษฏีผู้นำเชิงสถานการณ์ที่สำคัญๆได้แก่ ทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler’s Contingency Model) ภาวะผู้นำรูปแบบเส้นทางและจุดหมาย (Path-Goal Model of Leadership) ของเฮาส์ ทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ของวรูม-เยตัน (Vroom - Yet ton) รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของเฮอร์ซีและแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard’s Situational Leadership Model) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการปฎิบัติการจะขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของผู้บริหารในแต่ละระดับที่ต้องเลือกแบบของผู้นำที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชา โครงสร้างของงาน และการใช้อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง มาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ที่ประสบอยู่ ผู้นำจึงต้องรู้จังหวะในแต่ละสถานการณ์ การนำพาองค์การสู่ความสำเร็จท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันแปรจึงเป็นการแสดงยุทธานุภาพที่เป็นบทพิสูจน์ภาวะของผู้นำ
ข้อดีของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64)ได้สรุปข้อดีของการบริหารเชิงสถานการณ์ไว้ดังนี้
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือ แนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าว สามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไป เช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะ แม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตาม ผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อน การจะหาคำตอบใด ๆ แบบให้ง่าย ๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอ และให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุด ทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ
ข้อเสียของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64) ได้สรุปข้อเสียของการบริหารเชิงสถานการณ์ ไว้ดังนี้
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆ ตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือ ในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมาก ๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่ แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ ๆ หลัก ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อม ภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรอง ๆ ลงมาทั้งหลาย
2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่น ๆ นับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหาร คอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
วิกฤติปัญหาภาวะโลกร้อน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญปัญหาท้าทายด้านราคาพลังงานที่ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อวิถีชีวิตและเกี่ยวพันต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในเชิงมหาภาค จนกระตุ้นให้เกิดแนวคิดการสรรหาพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานชีวภาพที่ผลิตจากพืช เช่น ปาล์ม อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอื่นๆ จนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงปัญหาด้านราคาพลังงานจะไม่ทุเลาแล้ว ประชากรทั่วโลกกลับยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาราคาธัญพืช อาหารที่พุ่งสูงตามมา และมีแนวโน้มว่าปัญหาจะรุนแรงยิ่งกว่าเพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปากท้องประชาชน จากราคาอาหารที่ขยับขึ้นนี้เอง มีบางฝ่ายเริ่มหันมองหาทางเลือกหนึ่งในนั้นคือ พืชตัดแต่งพันธุกรรมที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตี ขณะที่ยุโรปซึ่งเคยเป็นผู้ต่อต้านอย่างแข็งขัน เนื่องจากกังวลผลกระทบที่จะเกิดกับผู้บริโภค ยังมีแรงกดดันจากฟากผู้ทำปศุสัตว์ที่เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารเลี้ยงสัตว์ต้องการให้รัฐบาลทบทวนการนำเข้าพืชจีเอ็มโอโดยเร็ว
ฟากเอเชียนั้น เห็นจะมีแต่ประเทศฟิลิปปินส์ที่เปิดรับพืชจีเอ็มโออย่างจริงจังและเด่นชัดที่สุด ด้วยการสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอเพื่อการพาณิชย์เป็นประเทศแรกในภูมิภาค ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านรายอื่นดูจะมีความกระตือรือร้นน้อยกว่า ต่อเรื่องดังกล่าว นายเดเนียล โอคัมโป ผู้รณรงค์ต่อสู้เรื่องพืชตัดแต่งพันธุกรรมจากกลุ่มสนับสนุนสิ่งแวดล้อมกรีนพีซให้ความเห็นว่า ปัจจุบันมีการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงและทนทานต่อภาวะโลกร้อนโดยใช้เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ แต่สำหรับเอเชีย ถ้าไม่นับฟิลิปปินส์แล้ว เทคโนโลยีดังกล่าวดูเหมือนจะยังห่างไกลจากการนำมาใช้อย่างจริงจังนัก
กรณีญี่ปุ่น ก็ไม่ได้ปลูกพืชจีเอ็มโอเองเพราะยังหวั่นเกรงเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงมีแต่การนำเข้าธัญพืชจีเอ็มโอเพื่อใช้ผลิตสินค้าอย่างน้ำมันปรุงอาหาร อาหารสัตว์ และสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูป ส่วนในภาคธุรกิจของญี่ปุ่นเอง ก็ยังลังเลที่จะทดลองทำตลาด ประการหนึ่งจากข้อกำหนดเรื่องการติดฉลาก และยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพ และแม้ประเทศจะไม่มีกฎสั่งห้ามการเพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ แต่กฎเกณฑ์ควบคุมที่เคร่งครัดก็มากพอที่จะทำให้ความต้องการลงทุนของภาคธุรกิจหดหายไป
ด้านเกาหลีใต้เอง เพิ่งออกกฎคุมเข้มการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า แต่ส่วนที่มีโครงการพัฒนาอยู่ในประเทศก็เป็นเพียงเพื่อการทดลองแต่ยังไม่มีแผนทำตลาดเชิงพาณิชย์ เช่นเดียวกับจีนซึ่งทางการได้ออกกฎเมื่อปี 2544 ครอบคลุมเรื่องความปลอดภัย การติดฉลาก การให้ไลเซนส์สำหรับผลิตและขาย และนโยบายการนำเข้าอย่างปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งจีนห้ามการนำพืช หรือเมล็ดพันธุ์ตกแต่งพันธุกรรมมาใช้กับผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคโดยตรงในประเทศ แต่ยังอนุญาตสำหรับการใช้ทางอ้อม เช่น ทำน้ำมันปรุงอาหาร แต่ก็ต้องติดฉลากระบุไว้ให้ชัดเจน ส่วนงานทางด้านวิจัยแม้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่จีนก็ยังไม่อนุญาตให้นำปลูกพืชจีเอ็มโอเพื่อการพาณิชย์อยู่ดี นายฮี ชางชุย ตัวแทนองค์การอาหารและการเกษตร (เอฟเอโอ) ขององค์การสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชีย แสดงทรรศนะว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณจากรัฐบาลใดในเอเชียที่ต้องการผลักดันการใช้เมล็ดพืชจีเอ็มโออย่างจริงจัง "เพราะเพียงแค่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรที่ทันสมัย และเพียงแค่ใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะ น้ำท่ามีให้พอดี ประเทศต่างๆ ก็น่าจะสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งจีเอ็มโอ"
ส่วนกรณีของฟิลิปปินส์ที่น่าจะเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีการส่งเสริมพืชจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ ตามทรรศนะของนายโอคัมโปของกรีนพีซเห็นว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์คงจะมองว่าไม่ต้องการตกขบวนเทคโนโลยีที่มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและให้ผลผลิตที่สูงขึ้น แต่ความเป็นจริงข้อหนึ่งคือ ฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาอย่างมาก นโยบายใดที่สหรัฐฯ มีเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอ ฟิลิปปินส์ก็ย่อมดำเนินรอยตาม ปรากฏการณ์ราคาพืช และอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ในด้านหนึ่งนำมาสู่การตระหนักถึงประเด็นความมั่นคงด้านอาหารในหลายประเทศ เช่น กรณีในเวียดนามที่มีการร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารแผนใหม่ที่คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคมนี้ ในตอนหนึ่งระบุถึงความจำเป็นที่ประเทศต้องสงวนที่สำหรับปลูกข้าวไว้อย่างน้อย 4 ล้านเฮกเตอร์ หรือไม่ต่ำกว่า 24.7 ล้านไร่ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต พร้อมกันนี้กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทยังร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนามดำเนินมาตรการเอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบการใช้ประโยชน์พื้นที่เพาะปลูกในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่อุดมสมบูรณ์ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเขตเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม โดยได้เรียกร้องให้ทางจังหวัดและเมืองทบทวนแผนโครงการที่ยังไม่ออกมาเพื่อลดการนำพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกไปทำโครงการ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต
ด้านประเทศในตะวันออกกลางซึ่งขาดแคลนพื้นที่อุดมสมบูรณ์ หันใช้วิธีออกไปซื้อพื้นที่ ในประเทศอื่นเพื่อเป็นหลักประกันด้านอาหารให้กับคนในประเทศตนแทน เช่น ซาอุดีอาระเบียซึ่งเสนอให้บริษัทด้านเกษตรในประเทศออกไปลงทุนทำพื้นที่เพาะปลูกในประเทศต่างๆ เช่น บราซิล ไทย และอินเดีย
ภาคธุรกิจในสหรัฐ อาหรับ เอมิเรตส์ (ยูเออี) ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศมีแผนเข้าไปลงทุนธุรกิจการเกษตรในปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลปากีสถานเองได้ออกมาเผยว่าได้ตกลงในหลักการที่จะขายพื้นที่ทำเกษตรในชนบทให้กับนักลงทุนจากยูเออีแล้วมากถึง 800,000 เอเคอร์หรือเกือบ 5 ล้านไร่ โดยไม่ได้คำนึงถึงความกังวลในประเทศเกี่ยวกับภาวะข้าวยากหมากแพงที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่อ้างเหตุผลแบบข้างๆ คูๆ ว่าการขายพื้นที่เพาะปลูกออกไปก็เพื่อเพิ่มผลผลิตของพื้นที่และพลิกพื้นที่แห้งแล้งให้กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ ทำนองเดียวกับซูดานและโซมาเลียในแอฟริกาที่เสนอพื้นที่ให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปพลิกฟื้นให้กับประเทศตนเช่นกัน
ตรงข้ามกับฝ่ายจีนแม้ภาคธุรกิจจะส่งสัญญาณต้องการออกไปลงทุนด้านเกษตรในต่างประเทศ แต่ก็ต้องถูกเบรกจากภาครัฐที่ยังไม่ต้องการให้เข้าใจว่าเป็นนโยบายระดับชาติ แม้ว่าจีนจะเคยมีการลงนามความตกลงในปี 2549 กับหลายประเทศในแอฟริกา รวมถึงคิวบา และเวเนซุเอลาในลาติน อเมริกา เพื่อแนะนำการปลูกพืชโดยใช้พันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีจากจีนแล้วก็ตาม โดยกระทรวงเกษตรของจีนมองว่าที่สุดแล้วจีนควรจะพึ่งพื้นที่เพาะปลูกของตนเองเพื่อเลี้ยงประชาชนในประเทศก่อน
อีกประการหนึ่งเพราะยังเห็นว่าการส่งเสริมเพาะปลูกในต่างประเทศโดยเฉพาะแอฟริกา และลาติน อเมริกาใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความหิวโหยอยู่มาก การส่งอาหารกลับมายังจีนแทบจะเป็นไปไม่ได้อีกทั้งต้นทุนด้านขนส่งก็สูงเกินไป และการเข้าไปจับจองพื้นที่ในประเทศที่อ่อนไหวเรื่องการให้คนต่างชาติเป็นเจ้าของพื้นที่ อาจทำให้เกษตรกรจีนที่อยู่ในต่างประเทศตกอยู่สถานการณ์เสี่ยงต่อแนวคิดชาตินิยมและการต่อต้านด้านแรงงานได้ด้วย
ข่าวเศรษฐกิจ 5 เมษายน 2551
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการประชุมหารือยุทธศาสตร์การตลาดข้าวไทย ว่า ที่ประชุมที่ประกอบด้วย 13 สมาคมที่เกี่ยวข้อง กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร ได้มาร่วมสะท้อนสถานการณ์ข้าวไทย จากชาวนาปลูกข้าวไปถึงโรงสี และพ่อค้านำมาขายปลีกให้ประชาชนบริโภค รวมทั้งส่งออกต่างประเทศ โดยไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก คือ กว่า 9 ล้านตันในปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 31.40 ของปริมาณข้าวส่งออกทั่วโลก ขณะที่อินเดีย และเวียดนาม กำลังประสบปัญหาสภาพอากาศ ทำให้ผลิตข้าวได้ลดลง ไทยจึงต้องสงวนข้าว 6.6 ล้านตันต่อปี เพื่อการบริโภคเพียงพอในประเทศ จากที่ผลิตข้าวเปลือกได้ 31 ล้านตัน และเมื่อสีข้าวแล้วจะเป็นข้าวสาร 20 ล้านตัน โดยจะรักษาระดับส่งออกข้าวที่ 9 ล้านตัน ทั้งนี้จะเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ขอเก็บสต็อคข้าว 2.1 ล้านตัน โดยไม่ให้จำหน่ายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ กล่าวด้วยว่า ปีนี้เป็นปีทองของการส่งออกข้าว ที่ทุกประเทศมุ่งความสนใจมาที่ประเทศไทย ดังนั้น ยืนยันไทยจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนข้าวบริโภคในประเทศ ขณะที่ข้าวส่งออกราคาดี รวมทั้งจะหารือผู้ประกอบการข้าวถุงให้จำหน่ายในราคาที่ยุติธรรม ตามข้อมูลสถิติที่คนไทยสามารถบริโภคข้าวในราคา 2.10 - 2.90 บาทต่อมื้อ ซึ่งยังถือเป็นราคาข้าวที่ไม่แพง
ข่าวด่วน 14 พฤษภาคม 2551
ชาวนาในพื้นที่ของ อ.พาน และ อ.ป่าแดด จ.เชียงราย กว่า 2,000 คน ได้รวมตัวกันโดยใช้รถบรรทุก 6 ล้อ และรถอีแต๋น ทำการปิดถนนพหลโยธินสายหลักทั้งขาขึ้นและขาล่อง บริเวณบ้านแม่คาวโตน ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย พร้อมเปิดเวทีปราศรัยในการเรียกร้องเรื่องของราคาข้าว นอกจากนี้ ยังมีการเผาหุ่นฟางซึ่งเป็นหุ่นฟางของรัฐบาลที่ไม่มาแก้ไขเรื่องของปัญหาราคาข้าวในขณะนี้ ทำให้การจราจรทั้งขาขึ้นและขาล่องติดขัดอย่างมาก ทางเจ้าหน้าที่ต้องให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ชาวนายังไม่ยอมสลายการชุมนุมประท้วงบริเวณจุดดังกล่าว พร้อมเปิดเวทีปราศรัยเพื่อเรียกร้องข้อปัญหาต่างๆ เรื่องของราคาข้าว
จากการนำเสนอข่าวข้างต้นเป็นการบ่งบอกถึงสถานการณ์การการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นปัจจัยภายนอก และสถานการณ์ของประเทศไทยที่เป็นปัจจัยภายในของประเทศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เราต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งแนวคิดของทฤษฏีเชิงสถานการณ์ ที่ทางกลุ่ม 3 จะเสนอนั้นมีแนวคิดหลัก ดังนี้คือ
1. สถานการณ์ต่างๆมีอิทธิพลต่อกลยุทธ โครงสร้าง และกระบวนการ ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงาน
ที่สูง
2. มีวิธีการมากกว่า 1 วิธี ที่จะทำให้ถึงเป้าหมายได้
3. ผู้บริหารควรปรับตัวขององค์การให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์
การบริหารเชิงสถานการณ์
มุมมองของการบริหารเชิงสถานการณ์ จึงเป็นการศึกษาเชิงสถานการณ์ที่จะมุ่งการปรับปรุงพฤติกรรมทางการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันออกไป และในช่วงวิกฤตของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับกันว่า ได้มีองค์การภาครัฐและเอกชนที่ได้รับอิทธิพลผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมเป็นอันมาก ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเหล่านี้มีผลกระทบทำให้องค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะ ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ลำบากที่จำต้องมีการปรับตนเองให้กลับขึ้นมามีประสิทธิผลอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นมาเท่ากับทำให้เงื่อนไขสภาพแวดล้อมของปัจจัยต่าง ๆ ที่องค์การผูกพันทำงานและพึ่งพิงอยู่ต้องเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ความมีประสิทธิผลขององค์การที่เคยมีมาก่อนก็พลอยต้องตกต่ำลงไป อันเป็นผลมาจากระบบงานและวิธีทำงานที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ปัจจัยสาเหตุที่เปลี่ยนแปลงภายในสภาพแวดล้อมนั้นในอดีตที่ยาวนานจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมา การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไปและเป็นแนวโน้มที่ขยายตัวเติบโตเรื่อยมาอย่างช้า ๆ แต่ในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงมีลักษณะผกผัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นๆ ลงๆ และมีการไหวตัวอยู่ตลอดเวลา เศรษฐกิจโลกในช่วงหลังนี้ส่วนมากได้กลายเป็นสภาวะที่มีข้อจำกัดองค์การธุรกิจต่างต้องเผชิญกับปัญหาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่มีปรากฏการณ์ของทรัพยากรแพง เกิดการขาดแคลนในปัจจัยการผลิต จนกระทั่งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และแม้แต่อัตราดอกเบี้ยต่างเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ สภาวะการแข่งขันระหว่างองค์การธุรกิจด้วยกันเองก็เพิ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากการต้องแข่งขันกันในรูปแบบของสินค้าและบริการแล้ว การต้องแข่งขันในคุณภาพ การให้บริการ และการประหยัดในการดำเนินงาน ก็ได้กลายเป็นภาระต่อการบริหารที่จะต้องกระทำมากด้านยิ่งกว่าแต่ก่อน ในทางกลับกัน บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เปิดช่องสภาวะด้านโอกาสที่ซึ่งจะให้องค์การธุรกิจที่มีความพร้อมมากกว่าเข้ามาช่วงชิงโอกาสได้ก่อน ความรวดเร็วในการรุกเข้าหาโอกาสจึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมไว้เช่นกัน
องค์การธุรกิจหรือหน่วยงานประเภทใด ๆ ก็ตาม หากจะต้องการมีประสิทธิผลสามารถดำรงฐานะอยู่รอดได้และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตให้สูงขึ้นได้นั้น ย่อมต้องทราบถึงวิธีการบริหารที่ดีพร้อมอยู่ในตัวตลอดเวลา เช่น การต้องรู้จักวิธีการจัดองค์การหรือระบบงานที่ดี รวมทั้งรู้จักวิธีการจัดทีมงานที่คล่องตัว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้ ผู้บริหารองค์การจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างให้มีความคล่องตัวตลอดเวลา โดยที่ขณะเดียวกันสภาพโครงสร้างองค์การก็จะต้องสมดุลกับสภาพเงื่อนไขในปัจจุบันเสมอด้วย
กล่าวโดยสรุปองค์การที่มีประสิทธิภาพผลในปัจจุบันและที่ซึ่งจะยังคงมีประสิทธิผลในวันข้างหน้าด้วยนั้น จะตกอยู่กับเฉพาะองค์การที่ซึ่งมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปกลไกสำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีประสิทธิผลจึงมิใช่อยู่ที่ความเข็มแข็งคงทนหรือปักหลักไว้แน่น หากแต่จะต้องสามารถโอนอ่อนให้สอดคล้องเข้ากับสภาพเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปด้วย สภาพการยืนหยัดอยู่รอดและเติบโตขององค์การจึงไม่ต่างกับ “ต้นไผ่ที่ลู่ลม” ซึ่งจะโอนอ่อนตามกระแสลมพัดแรงและจะกลับมาตั้งตรงอีกเมื่อลมผ่านไปซึ่งจะต่างกับไม้ใหญ่ที่ตั้งตรงต้านลมซึ่งโอกาสหักหรือโคล่นจะมีได้เพราะแรงลมดังกล่าว
การรู้จักปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จึงเป็นเรื่องที่นักบริหารทุกคนต้องตระหนักอยู่เสมอ สิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต เมื่อเวลาผ่านไปจึงถึงปัจจุบันทุกอย่างอาจเปลี่ยนสภาพไป หลักปฏิบัติที่เคยใช้ได้ดีในอดีต เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันอาจล้าสมัยไปแล้วก็ได้ ภายใต้ส
Advertisement