หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

ขอโทษ .....ที่ฉัน(เกือบ)ลืม คุณ.
โพสต์เมื่อวันที่ : 10 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6898 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(88.24%-17 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ถึงคุณ vvv ขอโทษที่ลืมคิดถีงคุณ ไม่ใช่เพราะฉันมีคนอื่นที่ดีกว่าหรอกเป็นเพราะ งานที่ไม่รู้จักคำว่าหมดของฉันมากกว่า สัญญานะว่า จะไม่มีวันลืมเธอ ฉันรักเธอ ไปรษณีย์....การสื่อสารที่ไม่เคยลัาสมัยสำหรับฉัน ครูติ๋ว

.....

- วันไปรษณีย์โลก (9 ตุลาคม)



 


วันไปรษณีย์โลก
เป็นวันที่ก่อตั้งสหภาพสากลไปรษณีย์ และเป็นวันที่ประเทศสมาชิกทั้งหลายได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาสากลฉบับแรก ณ กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อวางบทบัญญัติของไปรษณีย์ระหว่างประเทศ และส่งเสริมการเขียนจดหมายติดต่อถึงกันทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428




9 ตุลาคม

        ในวันที่ 9 ตุลาคม ของทุกๆ ปี จะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง วันไปรษณีย์โลก ซึ่งถือเป็นการครบรอบการก่อตั้งองค์การไปรษณีย์สากล (UPU) ขึ้นในปี 1874 ที่เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันไปรษณีย์โลก โดยมติที่ประชุมองค์การไปรษณีย์สากลของโตเกียวประเทศญี่ปุ่นในปี 1969


        นับแต่นั้นมาประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันนี้ของทุกปี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ในหลายๆ ประเทศใช้เป็นวันแนะนำสินค้าและบริการใหม่ๆ ของไปรษณีย์ และมีการจัดทำไปรษณีย์ยากรชุดพิเศษขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายโดยมีระยะสิ้นสุดในวันที่ 9 ตุลาคม และจะมีการส่งสารวันไปรษณีย์โลกจากผู้อำนวยการขององค์การไปรษณีย์สากลไปยังที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วโลก เพื่ออ่านคำเฉลิมฉลองผ่านสื่อไปทั่วโลก

        โดยการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบ "ม้าใช้" หรือ "คนเร็ว" เช่นเดียวกับที่ทั่วโลกได้นิยมใช้กัน กล่าวคือ ใช้คนเดินข่าวเดินทางนำข่าวไปด้วยเท้าหรือใช้ม้า, เรือแพเป็นพาหนะ


กำเนิดไปรษณีย์ในไทย
        ได้ว่าได้รับอิทธิพลจากการที่กงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์ กล่าวคือ ในราวปี พ.ศ. 2410 ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมากขึ้น มีสถานกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หลายแห่ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในเรื่องธุรกิจการค้า การศาสนามีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นกว่ากาลก่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น กงสุลอังกฤษเห็นความจำเป็นดังกล่าวนี้ จึงได้จัดการเปิดรับบรรดาจดหมายเพื่อส่งไปมาและติดต่อกับต่างประเทศขึ้น โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุลอังกฤษ เปิดทำการโดยใช้ตราไปรษณียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร "B" ประทับลงบนดวงตราไปรษณียากรนั้นๆ แทนคำว่า "Bangkok" จำหน่ายแก่ผู้ต้องการส่งจดหมายไปต่างประเทศ แล้วส่งจดหมายเหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ

        เพื่อให้ที่ทำการไปรษณีย์สิงคโปร์จัดส่งจดหมายนั้นไปปลายทาง (การรับ-ส่งจดหมายของกงสุลนี้ได้มีมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2425 จึงได้เลิกไป) การเริ่มงานไปรษณีย์ติดต่อต่างประเทศโดยกงสุลอังกฤษเป็นผู้จัดการนี้คงจะยังความสนใจให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนชาวไทยหาน้อยไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ดังจะเห็นได้จาก การสื่อสารในรูปการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2418 -2419 ภายในพระบรมมหาราชวังและเขตพระนครชั้นใน




หนังสือพิมพ์ข่าวราชการ

        ในปี พ.ศ. 2418 มีพระบรมวงศานุวงศ์ประกอบด้วยเจ้านายรวม 11 พระองค์ ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Court" และภาษาไทยว่า "ข่าวราชการ" เป็นหนังสือแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวด้วยข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก ซึ่งได้พิมพ์ออกเป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 ความมุ่งหมายใน การจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นแต่เดิมเพราะพระบรมวงศานุวงศ์กลุ่มนี้ได้ตั้งพระหฤทัยที่จะผลัดเวรกันทรงนิพนธ์เรื่องที่สำหรับจะทูลเกล้าฯ ถวาย และบอกกันในหมู่เจ้านาย


กำเนิดแสตมป์
        ครั้นเมื่อหนังสือพิมพ์ข่าวราชการปรากฎขึ้น ไม่ช้าก็มีผู้สนใจต้องการพากันมาทูลขอมากขึ้น ต้องพิมพ์เป็นจำนวนมากฉบับกว่าที่ทรงคาดหมายไว้แต่เดิมหลายเท่าจึงจำต้องคิดราคาพอคุ้มทุนที่ลงไป ส่วนการจำหน่ายนั้นเดิมผู้ต้องการต้องไปรับหนังสือที่สำนักงาน ณ หอนิเพทพิทยาคม ในพระบรมมหาราชวังทุกวัน ต่อมาการไปรับหนังสือไม่พร้อมกันต้องเก็บหนังสือรอค้างไว้จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นความจำเป็นอันหนึ่งที่ทำให้การไปรษณีย์เกิดขึ้น ผู้ทรงเป็นต้นคิดในการนี้คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการส่งให้แก่สมาชิกขึ้นเรียกว่า "โปสตแมน" และเนื่องในการส่งหนังสือนี้จึงทรงโปรดให้มีตั๋ว "แสตมป์" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสำหรับใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือ แล้วเลยทรงอนุญาตให้สมาชิกผู้รับหนังสือข่าวราชการซื้อตั๋วแสตมป์นั้นไปปิดจดหมายของตนในเมื่อต้องการให้บุรุษผู้เดินส่งหนังสือข่าวราชการนี้ช่วยเดินจดหมายให้ หนังสือข่าวราชการนี้ได้ออกมาชั่วระยะเวลาหนึ่งและได้หยุดเลิกไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2419 จึงเป็นเหตุให้การส่งหนังสือและจดหมายถึงกันโดยทางไปรษณีย์พิเศษที่ได้จัดทำขึ้นในครั้งนั้นต้องเลิกไปด้วย


จัดตั้งการไปรษณีย์
        มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุของหลวงว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชการสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย


        เรื่องการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามที่เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้นำความกราบบังคมทูลคงจะต้องด้วยพระราชดำริของพระองค์ท่าน แต่ทรงเห็นว่าเป็นงานใหญ่ต้องใช้ทุนรอนมาก หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ควรที่จะได้ศึกษาดูประเทศใกล้เคียงเพื่อเป็นประสบการณ์และแนวทางก่อน จึงโปรดฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีและทรงมีพระราชดำริให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ที่ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 (ตรงกับวันที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2424) โดยร่วมมือกับเจ้าหมื่นเสมอใจราช


        การดำเนินการเพื่อจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทยได้ดำเนินต่อมาโดยได้มีชาวต่างประเทศช่วยเหลือดำเนินการด้วย บุคคลที่สำคัญคือ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ จนกระทั่งในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2426 สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงมีหนังสือลงวันพฤหัสบดีแรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบว่าการเตรียมการต่างๆ เกือบจะเรียบร้อยแล้ว เห็นควรที่จะประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นในกรุงเทพฯ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426) และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีกฎหมายแผ่นดินสำหรับการไปรษณีย์ขึ้นไว้เป็นหลักฐานตามความเห็นชอบของนายอาลาบาสเตอร์ซึ่งเสนอหลักการไว้ และหลังจากทรงพระราชวินิจฉัยแล้วให้ใช้บังคับได้จึงนับว่าเป็นกฎหมายไปรษณีย์ฉบับแรกของไทย



        อย่างไรก็ตามในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สถานกงสุลอังกฤษซึ่งได้เปิดดำเนินการรับส่งจดหมายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์มาตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลที่ 4 ได้มีหนังสือถึงรัฐบาลไทยลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 อ้างว่าข้าหลวงใหญ่ที่สิงคโปร์ให้สอบถามรัฐบาลไทยเรื่องรัฐบาลสิงคโปร์ มลายู (Straits Settlement) ขอจัดตั้งไปรษณีย์สาขาของอังกฤษขึ้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งขอมีอำนาจสิทธิขาดในการจำหน่ายตราไปรษณียากร และรับฝากจดหมายติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมด โดยนายนิวแมน (Newman) รักษาการแทนกงสุลอังกฤษในขณะนั้นอ้างว่านายปัลเดรฟ กงสุลอังกฤษได้พูดกับรัฐบาลไทยหลายครั้งแล้ว แต่ทางรัฐบาลไทยได้มีหนังสือ ลงวันจันทร์แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม 2426) ตอบกงสุลอังกฤษไปว่าไม่เคยเจรจากับนายปัลเดรฟเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใดและไม่อนุญาตให้รัฐบาลสิงคโปร์ มลายู จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ เพราะรัฐบาลไทยกำลังจะเปิดการไปรษณีย์ขึ้นเร็วๆ นี้ เมื่อเปิดดำเนินการแล้วจะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ด้วย


        เมื่อการตระเตรียมวางระเบียบแบบแผนจนสำเร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะเปิดใช้การได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 เป็นปฐม มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง และในวันเดียวกันนี้เอง (ซึ่งตรงกับวันเสาร์เดือนเก้าขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะแม เบญจศก 1245) ก็ได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯ โดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ


ด้านเหนือ ถึง สามเสน
ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู



ผลตอบรับ
        การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฎว่าเมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษมีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชมสมพระราชหฤทัยมากดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกัน และท่านเอเยนต์กอมิสแซและกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2426 มีความตอนหนึ่งว่า


        "การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายและทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโ  ลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน"

 

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คลังปัญญาไทย และวิชาการดอทคอม

http://www.panyathai.or.th/

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ขอโทษ .....ที่ฉัน(เกือบ)ลืม คุณ.
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..