คู่มือครูสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย(ชุดที่2)
.....
เสียงพยัญชนะ
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแปร หรือเสียงพยัญชนะ
๑. เป็นเสียงที่เกิดจากลมบริเวณเส้นเสียง ผ่านมาทางช่องระหว่างเส้นเสียง แล้วกระทบอวัยวะต่างๆ ในช่องปาก ที่เรียกว่าฐานกรณ์ เช่น ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟันกับปุ่มเหงือก
๒. พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วย จึงจะสามารถออกเสียงได้ เช่น ใช้ สระออ ออกเสียง กอ ขอ คอ งอ
๓. เสียงพยัญชนะสามารถปรากฏที่ต้นคำ โดยนำหน้าเสียงสระ เรียกว่า พยัญชนะต้น และปรากฏหลังคำ โดยอยู่หลังเสียงสระ เรียกว่าพยัญชนะสะกด
เสียงพยัญชนะต้น
พยัญชนะต้นแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. พยัญชนะเดี่ยวมี ๔๔ รูป แบ่งตามฐานกำเนิดเสียง ดังนี้
เกิดฐานคอ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
เกิดฐานเพดาน จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย
เกิดฐานปุ่มเหงือก ด ต ถ ท ธ น ล ส
เกิดฐานริมฝีปาก บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
พยัญชนะต้นเดี่ยว ของไทยมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง ดังนี้
เสียง รูป
๑. / ก / ………………………………………………
๒. / ข / ……………………………………………..
๓. / ง / .................................................................
๔. / จ / .................................................................
๕. / ช / .................................................................
๖. / ซ / ................................................................
๗. / ย / .................................................................
๘. / ด / .................................................................
๙. / ต / ……………………………………………......
๑๐. / ท / .................................................................
๑๑. / น / .................................................................
๑๒. / ป / .................................................................
๑๓. / พ / .................................................................
๑๔. / ฟ / .................................................................
๑๕. / ม / ..................................................................
๑๖. / ย / ..................................................................
๑๗. / ร / ...................................................................
๑๘. / ล / .................................................................
๑๙. / ว / .................................................................
๒๐. / อ / ………………………………………………
๒๑. / ฮ / ………………………………………………
๒. พยัญชนะประสม คือพยัญชนะ ๒ ตัวที่ประสมกับสระตัวเดียวกันแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๒.๑ อักษรควบ คือพยัญชนะซึ่งควบกับ ร ล ว และประสมสระเดียวกันแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
๒.๑.๑ อักษรควบแท้ คือ อักษรควบซึ่งออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากับพยัญชนะตัวหลัง ควบ
กล้ำพร้อมกันสนิทจนเกืบเป็นสียงเดียวกัน มีทั้งสิ้น ๑๕ รูป ได้แก่ กร กล กว คร ขร คล ขล คว ขว ตร ปร ปล พร พล ผล
หมายเหตุ ทร ที่ใช้เป็นตัวควบ ในภาษาไทยแท้ จะเป็นอักษรควบไม่แท้ ส่วนคำที่ออกเสียงควบแท้มักมาจากภาษาสันสกฤต เช่น อินทรา จันทรา จันทรุปราคา จันทรคราส
อนึ่ง ตัวอักษรควบแท้ที่ไทยไม่มีใช้ แต่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษ และนำมาใช้มี ๖ เสียง คือ
บร เช่น เบรก บรั่นดี บรอนซ์
บล เช่น เบลม บลู บล็อก
ดร เช่น ดรัมเมเยอร์ ดรีม ดราฟต์
ฟร เช่น ฟรายด์ ฟรี ฟรักโทส
ฟล เช่น ฟลูออรีน แฟลต ฟลุก ฟลุต
ทร เช่น แทร็กเตอร์ ทรัมเป็ต
๒.๑.๒ อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร ๒ ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
๒.๒ อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมด้วยสระเดียวกัน ซึ่งมีวิธีการออกเสียงดังนี้
๒.๒.๑ ไม่ออกเสียงตัวนำ ออกเสียงกลืนกับเสียงตัวนำ ได้แก่
อ นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ ง ญ น ม ย ร ล ว จะออกเสียงเพียงพยางค์เดียวสูงตามเสียง ห เช่น หงาย หงอน หญ้า ใหญ่ หน้า หนู หมา หย่า แหย่ หรูหรา หรอก ไหล หลาน หวาน แหวน
๒.๒.๒ ออกเสียงตัวนำ ได้แก่
ก. อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงพยางค์ต้นเป็น สระอะ ครึ่งเสียง ออกเสียงพยางค์หลังตามที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า เช่น ขนม ขนง เขนย ขนำ สมอง สมาน สนอง สยาย ขยับ ขยัน ฝรั่ง ถลอก เถลิง ผวา ผยอง ถนน สนน สนิท
* ยกเว้น ขมา ขโมย ขมำ สมา สมาคม สมิทธิ สโมสร สลัม ไม่ออกเสียงตามตัวนำ
ข. อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ออกเสียงเช่นเดียวกับข้อ ก เช่น ตนุ โตนด จมูก ตลาด ตลก ตลอด จรวด ปรอท
ค. อักษรสูงนำอักษรต่ำคู่ หรือ อักษรสูงนำอักษรกลาง ออกเสียงตามข้อ ก แต่ไม่ต้องผันวรรณยุกต์ตามอักษรนำ เช่น ไผท ผดุง เผด็จ ผกา เถกิง ผกา เผอิญ เผอิญ เผชิญ
ข้อสังเกต
๑. ๑ เสียง มีหลายรูป ได้แก่
เสียง /ค/ แทน ข ฃ ค ฅ ฆ
เสียง /ช/ แทน ช ฉ
เสียง /ซ/ แทน ซ ส ศ ษ
เสียง /ด/ แทน ด ฎ
เสียง /ต/ แทน ต ฏ
เสียง /ท/ แทน ท ธ
เสียง /น/ แทน น ณ
เสียง /พ/ แทน พ ภ
เสียง /ฟ/ แทน ฝ ฟ
เสียง /ย/ แทน ย ญ
เสียง /ฮ/ แทน ห ฮ
|
๒. เสียง/ฤ/ ออกเสียง/ร/ ผสม สระ อึ
๓. ฑ ออกเสียงได้ ๒ เสียง คือ /ด/ /ท/
เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)
|
ภาษาไทยมีตัวสะกด ๙ มาตรา คือ
แม่กก เช่น.................................................................................................
แม่กด เช่น.................................................................................................
แม่กบ เช่น.................................................................................................
แม่กม เช่น.................................................................................................
แม่กน เช่น.................................................................................................
แม่เกย เช่น.................................................................................................
แม่เกอว เช่น.................................................................................................
แม่ ก. กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่น.................................................................................................
เมื่อเขียนเสียงแทนแม่ตัวสะกดแต่ละมาตรา ได้ดังนี้
กก = /ก/ กม = /ม/ เกย = /ย/ กบ = /บ/
กด = /ด/ กน = /น/ กง = /ง/ เกอว = /ว/
ข้อสังเกต อำ ไอ ใอ เอา มีเสียงตัวสะกดด้วย
|
ลักษณะที่ควรสังเกตอีกอย่างคือ รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง เช่น
๑. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ )กำกับ เช่น สงฆ์ วิทย์
๒. ร หรือ ห ซึ่งนำหน้าพยัญชนะสะกดในบางคำ เช่น สามารถ พรหม
๓. พยัญชนะซึ่งตามหลังพยัญชนะสะกดในบางคำ เช่น พุทธ สุภัทร จักร
๔. ร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้ เช่น จริง โทรม
๕. ห หรือ อ ซึ่งนำอักษรต่ำเดี่ยว เช่น หลาย อยาก
๖. คำบางคำมีเสียงพยัญชนะ แต่ไม่ปรากฏรูปพยัญชนะ เช่น ดำ มีเสียง ม สะกด แต่ไม่ปรากฏรูป
******************************