หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
ณัฐชญา หอมกลิ่น
จากจังหวัด ยโสธร

ขิง......กับประโยชน์ที่ยังไม่รู้
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 ต.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6898 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ขิง GINGER ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc. วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ขิงแกลง ขิงแดง(จันทบุรี) ขิง (เชียงใหม่) สะเอ ( กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน )

ขิงมีรสเผ็ดตามความแก่อ่อนของอายุขิง ขิงอ่อนมีรสเผ็ดน้อย ขิงแก่จะมีรสเผ็ดมากขึ้นตามลำดับ
 
สรรพคุณ ช่วยดับกลิ่นคาวในอาหาร ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะในเหง้าขิงแก่ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำนม แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้บิด บำรุงธาตุ ช่วยในด้านการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดความดัน ช่วยลดคลอเลสเตอ รอล ช่วยลดการอักเสบ ช่วยแก้ปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักมีอาการเมายาสลบให้จิบน้ำขิงเข้มข้นสักครึ่งช้อนชา จะช่วยแก้อาการเมายาได้:

จีนเป็นชนชาติเก่าแก่ ที่มีการใช้ประโยชน์ จากขิงมายาวนาน แพทย์จีนโบราณ จัดขิงเป็นพืชรส เผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดคลอเลสเตอรอล ที่สะสมในตับและเส้นเลือด ชาวบ้านทั่วไปจะรู้ดีว่า ถ้าต้มขิงกับน้ำตาลอ้อย จะช่วยแก้หวัด ถ้าใช้ขิงสดปิดที่ขมับทั้งสองข้าง จะช่วยแก้ปวดหัว และถ้าเอาขิงสอดไว้ใต้ลิ้น จะช่วยแก้อาการกระวนกระวาย แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ดี

แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้ง ในแง่มุมที่ต่างกัน

ขิงแห้ง ในภาวะที่ขาดหยาง ภาวะขาดหยาง คือ ภาวะที่ร่างกายอาการเย็น หนาวง่ายทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้ขิงแก่ ในคนไข้ปวดข้อรูมาติกส์ม

ขิงสดจะใช้กำจัดพิษที่เกิดจากการติดเชื้อภายในร่างกาย โดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ ขิงสดช่วยทำให้ร่างกาย ปรับสภาพในภาวะที่ร่างกาย มีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง

ลดการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขิงสด 30 กรัม ( 3 ขีด) สับให้ระเอียดต้มทานน้ำในขณะท้องว่าง

 ช่วยขับเสมหะ โดยใช้ขิงสดคั้นเอาแต่น้ำ ประมาณครึ่งถ้วยผสมน้ำผึ้ง 30 กรัม ( 6 ช้อน) อุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน

 แก้หวัดหน้าหนาว โดยการใช้ขิงสดทุบหรือขูดให้เป็นฝอย หรือขิงแห้งก็ได้ ใส่ในกะละมังน้ำอุ่น เติมน้ำผึ้งลงไปด้วยเล็กน้อย แช่เท้า กลิ่นของขิงที่หอมกลุ่นจะกระตุ้นให้จมูกโล่ง ศรีษะโล่ง ร่างกายสามารถต่อสู้กับหวัดได้ และผิวหนังที่แช่เท้าอยู่ก็จะรู้สึกนิ่มนวลขึ้น ไม่แห้งกร้าน

แก้อาการปวดข้อ ปวดศรีษะ ด้วยการใช้น้ำขิงอุ่นๆ จุ่มผ้า แล้วนำมาประคบตามข้อที่ปวดหรือศรีษะ อาการจะทุเลาลง

ด้านความงาม  ใช้ถูหนังศีรษะเพื่อกันผมร่วง นอกจากนี้ยังคั้นเอาแต่น้ำผสมน้ำมันมะกอก หมักผม      แล้วนวดให้ทั่วศีรษะ เอาหมวกพลาสติกคลุมไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นทั้งผืนในอุณหภูมิที่อุ่นจัด บิดให้หมาด แล้วคลุมศีรษะไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วจึงล้างออก จะทำให้ผมสวย นิ่ม และแข็งแรง ไม่ขาดง่าย

++ ในญี่ปุ่นพบว่าขิงมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต ลดคลอเลสเตอรอล ในด้านความงาม ใช้ขิงสดขูดเป็นฝอย แล้วใช้นวดละเลงลงบนต้นขา ก้น หรือส่วนที่เป็นไขมันผิวส้ม หรือมีเซลล์ลูไลท์ ขิงจะช่วยทำให้ผิวส้มนั้นกระจายตัว ไม่เกิดให้เกิดผิวขุรขระ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเรียบเนียนขึ้น

++ ในอินเดีย  ใช้ขิงในการทาถูนวด เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ใช้ลดการอักเสบของตับ แก้ปวด ลดอาการบวมน้ำ ใช้เป็นยากระตุ้นการอยากอาหาร เป็นยาช่วยย่อย ช่วยขับลมในลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยทำความสะอาดปากและคอ ช่วยระงับการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยกระตุ้นกำหนัด ใช้ขิงผงแห้งละลายน้ำอุ่น ทาที่หน้าผากรักษาอาการปวดหัว

++ กรีก จะใช้ขิงช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้พิษ ใช้ขิงในการรักษาอัมพาต โรคปวดปลายประสาท และโรคเก๊าท์ ชาวอาหรับโบราณใช้ในการกระตุ้นความกำหนัด ส่วนคนยุโรบใช้ขิงในการช่วยย่อย ช่วยรักษาอาการท้องอืดจากการดื่มเหล้า ช่วยขับลม ทั้งยังใช้ในการรักษาโรคเก๊าท์ และกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

++ นักสมุนไพรรุ่นใหม่ของตะวันตก ใช้ขิงในการช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต และลดการคลื่นไส้อาเจียน จากการเคลื่อนไหวที่ไม่สมดุล (motion sickness) รวมทั้งให้ใช้ลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง แต่คนท้องไม่ควรรับประทานเป็นประจำ:

นายแพทย์โบน อังกฤษ ใช้รักษาอาการปวดศีรษะทั้งชนิดสองข้าง และข้างเดียว (ไมเกรน) ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ แนะนำให้ดื่มน้ำขิงเข้มข้นเป็นประจำ หรือไม่ก็รับประทานขิงสดบ่อยๆ เชื่อว่าสารเคมีที่อยู่ในขิงจะสามารถปรับระดับสารกึ่งฮอร์โมนที่เรียกกันว่าสารไอโคซานอยด์ (eicosanoid) ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง

นายแพทย์กฤษณะ ศรีวัสทวา เดนมาร์ก แก้อาการแน่นหน้าอก รักษาอาการท้องร่วง โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคอหิวาห์ระบาด ใช้รักษาหวัด ไอน้ำมันหอมระเหยจากน้ำขิงจะช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจ ลดอาการเจ็บข้อ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรครูมาติซึ่ม ให้ผู้ป่วยหมั่นรับประทานขิงสด ลองเพิ่มขิงเข้าไปในอาหารทุกมื้อ อาการปวดข้อจะทุเลาลง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและรักษาโรคกระเพาะ การรับประทานขิงปริมาณมากๆ จะทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง เชื่อว่า สารจินเจอรอลจะแสดงฤทธิ์ต้านการเกิดลิ่มเลือดได้เช่นเดียวกับแอสไพริน (ไม่มีผลต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย)



น้ำขิงพาสเจอร์ไรท์
ขิงที่นำมาทำน้ำขิงพาสเจอร์ไรส์เป็นขิงอ่อนรสเผ็ดน้อย ไม่ต้องปอกเปลือกจะทำให้น้ำหอมดีขึ้น
นำขิงอ่อนมาล้างน้ำให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกแล้วนำมาทุบให้แตก นำไปแช่น้ำซึ่งผสม *กรดซิตริก (กรดมะนาว) เพื่อไม่ให้ยางขิงออกมา ทำให้น้ำขิงดำ นำไปต้มในน้ำร้อน ที่เดือดพล่าน ในอัตราส่วน น้ำ ๘ ลิตร/ขิง ๑ ก.ก ต้มอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำเชื่อม นำมาพาสเจอร์ไรส์ และบรรจุขวด เก็บเข้าห้องเย็น

*กรดซิตริก    หมายถึง  กรดผลไม้ ซึ่งมีอยู่ในผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว ในการทำน้ำผลไม้ มักนิยมใช้ กรดซิตริกผสมแทนน้ำตาลทราย เพราะ กรดซิตริกจะทำให้ได้รส กลิ่น ในความเป็นธรรมชาติมากกว่า แทนที่จะเป็นรส กลิ่นที่ออกเป็นน้ำเชื่อมหรือน้ำหวาน 

ที่มา  http://ns.horapa.com/content.php?Category=Herb&No=881%3E%3Cspan%20class=

 

 

 

 

 

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ขิง......กับประโยชน์ที่ยังไม่รู้
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

ณัฐชญา หอมกลิ่น
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
ณัฐชญา หอมกลิ่น..